วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ประชาสัมพันธ์ "ร่วมสมัย บิ๊กแบนด์"
รับสมัครเยาวชนเข้าร่วมโครงการรพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางดนตรี วง "ร่วมสมัย บิ๊กแบนด์"
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เปิดรับสมัครเยาวชน อายุระหว่าง ๑๒ - ๑๘ ปี สามารถเล่นเครื่องดนตรีได้ดังนี้
ไวโอลิน,วิโอล่า,เชลโล่,กลอง,เบสไฟฟ้า,กีตาร์ไฟฟ้า,คีย์บอร์ด,แซกโซโฟน,ทรอมโบน,ทรัมเปต,และนักร้อง ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้ร่วมแสดงคอนเสิร์ตและเป็นตัวแทนเยาวชนไทยไปร่วมแสดงคอนเสิร์ตกับเยาวชนในประเทศอาเซียน
สนใจสมัครดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่
http://www.ruamsmai-bigband.com/
www.facebook.com/Ruamsmai.bigband
โทรฝ่ายโครงการ ๐๘๕-๓๒๑๗๐๓๒
หมดเขตรับสมัครถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕
รับสมัครเยาวชนเข้าร่วมโครงการรพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางดนตรี วง "ร่วมสมัย บิ๊กแบนด์"
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เปิดรับสมัครเยาวชน อายุระหว่าง ๑๒ - ๑๘ ปี สามารถเล่นเครื่องดนตรีได้ดังนี้
ไวโอลิน,วิโอล่า,เชลโล่,กลอง,เบสไฟฟ้า,กีตาร์ไฟฟ้า,คีย์บอร์ด,แซกโซโฟน,ทรอมโบน,ทรัมเปต,และนักร้อง ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้ร่วมแสดงคอนเสิร์ตและเป็นตัวแทนเยาวชนไทยไปร่วมแสดงคอนเสิร์ตกับเยาวชนในประเทศอาเซียน
สนใจสมัครดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่
http://www.ruamsmai-bigband.com/
www.facebook.com/Ruamsmai.bigband
โทรฝ่ายโครงการ ๐๘๕-๓๒๑๗๐๓๒
หมดเขตรับสมัครถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕
วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
The viola lovers concert (Chulalongkorn University Viola Ensemble)
วันที่ 7 ก.พ. 2555 เวลา 19.00 น
หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Date: 7 Feb 2012 Time: 19.00
Venue: Music Hall, Building of Arts and Culture, Chulalongkorn Universiy
Date: 9 Feb 2012 Time: 18.00
Venue: Luang Anupas Auditorium, Prince of Songkla University, Phuket
วันที่ 9 ก.พ. 2555 เวลา 18.00 น
สถานที่ หอประชุมภาษภูเก็ต ม.สงขลารครินทร์
Works by Bach, Mozart, Ravel, Piazzolla
Free Admission
ขอเชิญชมการแสดงดนตรี The Viola Lovers
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญทุกท่านชมการแสดงดนตรี The Viola Lovers Chulalongkorn University Viola Ensemble) วงซิมโฟนีออร์เคสตาร์แห่งจุ ฬาลงกรณ์หมาวิทยาลัย ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้า พี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ในวันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 19.00น. ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งการแสดงดังกล่าว ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้า ชมแต่อย่างใด
The Viola Lovers (วงวิโอลาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มนั กวิโอลาจำนวน 24 คน ประกอบด้วย นักดนตรีอาชีพ นักเรียน นิสิต และนักศึกษา จากหลายสถาบันมารวมตัวกัน ร่วมด้วยกลุ่มเครื่องดนตรีส มทบ ดับเบิลเบส และกลุ่มเครื่องเคาะจังหวะ ภายใต้การควบคุมการฝึกซ้อมแ ละอำนวยเพลงโดย ผศ.ชูชาติ พิทักษาการ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2553 และศิลปินแห่งจุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย ผ่านบทเพลงที่มีความหลากหลา ยรูปแบบ ทั้งคลาสสิก ป๊อป แจ๊ส ฯลฯ จากผลงานของนักประพันธ์ที่ม ีชื่อเสียงของโลก และนักประพันธ์เพลงชาวไทย รวมถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุยเดช ทุกๆ บทเพลงได้รับการเรียบเรียงใ หม่สำหรับการแสดงของวงนี้โด ยเฉพาะ
สำรองที่นั่งและสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักบริหารงานศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ โทร. 02-218-0585 และ 02-218-3635
วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554
สุขเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ ของนักกีตาร์ไทย ระดับนานาชาติ
ชื่อของ "อาจารย์โน้ต" ณัฐวุฒิ รัตนกาญจน์ อาจเป็นแค่ "ใครสักคนที่ไม่รู้จัก" สำหรับคนทั่วไป หากในวงการกีตาร์คลาสสิกทั้งในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อของเขาถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในฐานะนักกีตาร์คลาสสิกฝีมือเยี่ยมที่ เปิดการแสดงมาแล้วกว่า 15 ประเทศ และยังเป็นผู้จัดงานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล กีตาร์ เฟสติวัล ที่จัดขึ้นในบ้านเราติดต่อกันมาแล้วถึง 11 ปีณัฐวุฒิ ซึ่งปัจจุบันอายุ 30 ปี บอกว่า ก่อนหน้านี้เขาก็เริ่มต้นเหมือนวัยรุ่นทั่วไป ที่พอเริ่มจับกีตาร์ตอนอายุได้ราว 15-16 ปี ก็สนใจในกีตาร์ไฟฟ้า จากนั้นก็ฟอร์มวงเล่นดนตรีกับเพื่อนๆ กระทั่งปีเศษๆ ให้หลัง ระหว่างไปเดินหาซื้อซีดี และได้ยินเสียงกีตาร์คลาสสิกเป็นครั้งแรก ความคิดก็เปลี่ยนแปลงไป
"ผมเห็นลุงคนหนึ่ง ท่านั่งเล่นกีตาร์เขาแปลกๆ เลยซื้อซีดีเขามาฟัง ฟังแล้วก็ตกใจ เฮ้ย! กีตาร์ตัวเดียวเล่นได้ขนาดนี้เลยเหรอ" ณัฐวุฒิเล่าประกอบท่าทางตื่นเต้นอย่างออกรส
ภาพ ที่เห็นและเสียงที่ได้ยินในครั้งนั้นแหละที่ณัฐวุฒิบอกว่าเป็นจุดเปลี่ยนของ ชีวิต เพราะเขาตัดสินใจทันทีที่ฟังจบว่า อยากเล่นได้อย่างนั้นบ้าง คิดแล้วก็หยุดเล่นกีตาร์ไฟฟ้า และเริ่มต้นใหม่ด้วยการไปเรียนกีตาร์คลาสสิกตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น
เริ่มโดยแม้จะมี "ความฝัน" ซุกซ่อนไว้บ้าง แต่ก็ไม่มั่นใจหรอกว่าจะทำได้สำเร็จ
"เป็นความฝันของเด็กๆ ที่อยากเอากีตาร์ไปเล่นรอบโลก ไม่รู้หรอกว่าจะไปด้วยวิธีไหน แต่ฝันไว้ก่อน" เขาบอกพลางหัวเราะ
จาก นั้นก็เริ่มสานฝันด้วยการพยายามแสดงฝีมือเท่าที่โอกาสจะให้ จากพื้นที่เหนือสุดจรดใต้สุดของประเทศไทย เขาไปหมด ไปแม้กระทั่งแคมป์นักกีตาร์ที่สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งตอนนั้นเองที่เส้นทางเริ่มเปิดให้ได้เดินทางไปแสดงในหลายประเทศ
ฟังดูเหมือนไม่ยาก
แต่ไม่ใช่
เพราะ กว่าจะไปถึงจุดนั้นได้ เขาต้องใช้เวลาซ้อมถึงวันละ 10 ชั่วโมง เนื่องจากรู้ตัวดีว่าเริ่มช้ากว่าคนอื่น และการซ้อมหนักคือหนทางเดียวที่จะไปสู้กับใครๆ ได้
"ถามว่าท้อไหม ก็ไม่นะ เหมือนเราตั้งใจ เราเล่นแล้วเรามีความสุขไง ก็เลยไม่ท้อ"
ไม่ ท้อเหมือนตอนเข้าร่วมการแข่งขันกีตาร์หลายครั้ง แล้วแพ้บ้าง ชนะบ้าง เพราะมองว่าผลลัพธ์คือ "เรื่องธรรมดา" สำคัญที่สุดอยู่ที่ระหว่างทางของการไปสู่เป้าหมายต่างหาก
"การแข่งไม่ใช่สิ่งสุดท้ายในชีวิต เพราะท้ายที่สุดพอเรียนจบแล้วต่างหากคือชีวิตจริง"
เขา เองตอนเรียนจบจากสาขาดนตรีตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ ก็มีสภาพไม่ต่างจากนักกีตาร์คนอื่นๆ ที่ต้องขวนขวายหางานทำ
"แต่ใน เมืองไทยมันยังไม่สามารถเล่นเป็นอาชีพได้นะ อย่างมากก็ได้เล่นตามโรงแรม ร้านอาหาร ซึ่งผมไม่ชอบเลย จึงพยายามหาตลาดของตัวเองที่ต่างประเทศ"
เริ่ม ด้วยการเดินทางไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ประเทศเยอรมนี ด้วยความหวังอย่างเต็มเปี่ยมว่าจะมีงานแสดงให้ทำด้วยในระหว่างนั้น แต่ก็ต้องผิดหวัง ทั้งจากระบบการเรียนการสอนที่เขาคิดว่าตัวเองถูกตีกรอบการเล่นให้เป็นไปตาม ที่คนสอนต้องการมากเกินไป ขณะเดียวกันงานแสดงดนตรีที่คิดว่าจะมี การหาไม่ได้
"ผมไม่แฮปปี้ก็เลยหนีกลับมาเลย" เขาบอกตรงๆ
ถึงกระนั้นใจเขายังสู้เต็ม 100
"คือเราแขวนเป้าของตัวเองไว้ว่าอยากไปตรงนี้ให้ได้ แล้ววันไหนท้อ ก็กลับไปนั่งดูเป้าหมาย แล้วตะกายใหม่"
เขา เองตะเกียกตะกายเอางานของตัวเองไปเสนอหลายครั้ง ได้ผลตอบรับให้ไปเล่นหลายหน ทั้งในรูปของการเป็น 1 ในศิลปินที่ร่วมแสดงในเทศกาลดนตรี หรือการแสดงเดี่ยว
ปัจจุบันณัฐวุฒิเป็นอาจารย์สอนกีตาร์ที่ รับ ทั้งคลาสส่วนตัว, สอนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และกำลังจะไปเป็นอาจารย์พิเศษให้มหาวิทยาลัยดนตรีในประเทศมาเลเซีย
ขณะเดียวกันก็ยังมีคอนเสิร์ตแสดงในต่างประเทศทุกปี
ดูจะเป็นชีวิตที่ประสบความสำเร็จและมีความสุข-ทักไปอย่างนั้น แล้วเขาเองก็ตอบรับ
"แต่จริงๆ แค่ได้เล่นดนตรีผมก็มีความสุขแล้วนะตอนนี้
"เล่นเก่ง ไม่เก่ง ไม่สำคัญ เราเล่นแล้วมีความสุข มันก็จบแล้ว
"นักดนตรีมันก็แค่นี้ละ
"เพราะความหมายของดนตรีจริงๆ คือเล่นให้ตัวเองมีความสุข แล้วความสุขมันก็ถ่ายทอดให้คนฟังได้"
"กับคำว่า "นักกีตาร์คลาสสิกระดับโลก"
"อย่าเรียกเลย" ณัฐวุฒิรีบห้าม
"เรียกทีไรถูกด่าทุกที" เป็นเหตุผลที่มาพร้อมเสียงหัวเราะดังก้อง
"บางคนก็บอกผมซื้อตั๋วไปเล่นเอง ซึ่งเป็นไปไม่ได้หรอกครับ ถ้างานไหนไม่ออกค่าตั๋วให้ ผมก็ไม่ไปนะ"
งั้นตอนนี้อยู่ในระดับไหนล่ะ?
"เรียกว่านานาชาติคงจะดีกว่านะครับ"
ณ ขณะนี้ นานาชาติที่เขาตั้งใจไปเปิดการแสดงคือ 20 ประเทศ ซึ่งคาดว่าจะทำได้ครบในปีหน้า
"หลังจากนั้นเดี๋ยวว่ากันอีกที
"ถ้าโลกไม่แตกซะก่อนนะ" บอกพลางหัวเราะส่งท้ายมาอย่างดัง
หน้า 24,มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2554
*
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323920441&grpid=no&catid=08&subcatid=0800
วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554
น้ำตาแสงไต้ บรรเลงขลุ่ย By ThePC
Uploaded by
pichitchon
on Jun 6, 2010
*
*
แต่งโดยครูสง่า อารัมภีร์ เล่นด้วยคีย์ G
ลองเล่นเต็มวงดูครับ กลองใช้ไมค์ Shure SM58s สองตัว เก็บกระเดื่องตัวนึง
อีกตัวเก็บด้านบน โดยใช้ตู้คีย์บอร์ดแทนพรีแอมป์ คีย์บอร์ดใช้ WK-1800 ของ
Casio เสียง WarmPad กีต้าโปร่ง Landwin ใช้ไมค์หูฟังอัด
ขลุ่ยซีเลาเดียวกับเดือนเพ็ญครับ ใช้ไมค์หูฟังเช่นกัน
ส่วนเสียงเบสใช้คีย์บอร์ดทำ ไม่ได้ถ่ายไว้ครับ
ครั้งนี้บันทึกกำกับวิดีโอด้วย Adobe Audition 1.5 และซ้อนภาพด้วย Sony
Vegas เหมือนเดิมครับ เล่นผิดๆ ถูกๆ และจังหวะก็ไม่คงที่ก็ขออภัยด้วยนะครับ
ช่วยคอมเม้นท์แนะนำกันด้วยนะครับ
สำหรับใครที่ต้องการโน้ตเชิญที่นี่ครับ
http://www.facebook.com/Tle.Kluithai
สำหรับใครที่ต้องการโน้ตเชิญที่นี่ครับ
http://www.facebook.com/Tle.Kluithai
/
http://www.youtube.com/watch?v=YC3cTpjJIqk
http://www.youtube.com/watch?v=YC3cTpjJIqk
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)