อุเทน อินทโร
เนื่องจากมีผู้เรียนหลายคนมีความเข้าใจผิดๆกับการเรียนดนตรี บางคนทุ่มเทและเสียเวลากับสิ่งที่ไม่ใช่เป้าหมายของตน แต่หลงกับการสอบเข้าเรียนดนตรีในระบบ ถ้าหากมีเป้าหมายในการประกอบอาชีพดนตรีแบบใด ก็ควรจะเลือกเรียนดนตรีที่ส่งเสริมอาชีพที่ตนใฝ่ฝัน ซึ่งมีทางเลือกต่าง ๆ มากมาย
1. การเรียนดนตรี จะต้องเรียนอย่างมีเป้าหมายและเหมาะสมกับพื้นฐานความรู้ของเรา ลองดูว่าการเรียนดนตรีมีกี่แบบและแบบไหนจะเหมาะสมกับผู้เรียนมากที่สุด
1.1 การเรียนดนตรีในระบบ คือการเรียนดนตรีเพื่อประกอบอาชีพดนตรีแบบมืออาชีพ เปรียบเสมือนลู่วิ่งสำหรับนักแข่งที่มีเส้นชัยรออยู่ ต้องเป็นผู้ที่ตัดสินใจวิ่งสู่จุดหมาย หลายคนเข้าใจผิดว่าแค่ชอบดนตรีแล้วไม่สามารถเรียนต่อได้ จึงหันมาเรียนดนตรีหรือต้องการประกอบอาชีพดนตรีในระดับทั่วไป แต่จริง ๆ แล้วการเรียนแบบนี้ต้องเป็นผู้ที่รักที่จะเล่นดนตรี
- ระดับเตรียมอุดมศึกษา (ม.4 - ม.6) เป็นการเรียนเพื่อผลิตนักเรียนที่มีคุณภาพให้กับมหาวิทยาลัยดนตรี โดยที่ผู้เรียนจะต้องมีเป้าหมายที่จะเข้ามหาวิทยาลัยดนตรีอย่างแท้จริง เนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนสายการศึกษาได้
ดังนั้นผู้ที่สอบเข้าเตรียมอุดมดนตรีจะต้องเตรียมความพร้อมทางดนตรีก่อนสอบเข้าอย่างน้อยในระดับ ม.1- ม.3 โดยมีพื้นฐานทางดนตรีที่สามารถเล่นดนตรีได้ มีทักษะการอ่านโน้ต มีความรู้เรื่องบันไดเสียง ส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนที่เรียนดนตรีนอกระบบควบคู่กับการเรียนสามัญ หากสนใจที่จะสอบเข้าระดับอุดมศึกษาทางดนตรี จะต้องแจ้งความจำนงกับอาจารย์ผู้สอนวิชาดนตรีของโรงเรียนหรือเรียนดนตรีนอกระบบเสริม โดยบอกจุดประสงค์ให้อาจารย์ทราบ เพื่อให้อาจารย์ให้ช่วย เสริมความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบเข้า
- ระดับปริญญาตรี เป็นการเรียนเพื่อประกอบอาชีพดนตรี
- มหาวิทยาลัย (ดนตรี) เป็นสถาบันที่มีอาจารย์ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน บางสถาบัน มีอาจารย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากต่างประเทศ จะต้องศึกษาว่าแต่ละสถาบันมีความโดดเด่นทางด้านใด เหมาะสมกับเป้าหมายของตนรึเปล่า เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีผู้ต้องการเรียนเป็นจำนวนมาก ทางสถาบันจึงต้องคัดสรรผู้เรียนที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง ดังนั้นผู้ที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยจะต้องเตรียมความพร้อมทางดนตรีก่อนสอบเข้าอย่างน้อยในระดับมัธยมศึกษาปีที่4 - 6
- มหาวิทยาลัยราชภัฏ (ดนตรี) เป็นสถาบันอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้เรียนที่ต้องการประกอบอาชีพดนตรี แต่มีพื้นความรู้และทักษะทางดนตรีพอสมควร ดังนั้นผู้เรียนควรจะต้องขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะความรู้ทางด้านการปฏิบัติดนตรี เนื่องจากค่าเรียนไม่สูงนัก ดังนั้นควรต้องลงทุนเพิ่มในเรื่องการเรียนเสริมประสิทธิภาพทางด้านดนตรีในภาคปฏิบัติจากโรงเรียนดนตรีนอกระบบ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติดนตรีให้ดียิ่งขึ้น
1.2 การเรียนดนตรีนอกระบบ / โรงเรียนเอกชนนอกระบบหรือโรงเรียนประเภท 15 คือการเรียนดนตรีแบบทางเลือก ผู้เรียนสามารถเลือกที่จะประกอบอาชีพดนตรี หรือต้องการเป็นผู้เล่นดนตรีแต่ประกอบอาชีพอื่น ๆ ได้
- ตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางด้านดนตรี ตอบสนองความต้องการในการเล่นดนตรี การร้องเพลง การแต่งเพลง จุดสังเกตุ คือ เป็นโรงเรียนดนตรีที่เปิดตามแหล่งชุมชนหรือศูนย์การค้าต่างๆ
- เตรียมความพร้อมสำหรับเรียนในระบบ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่ต้องการเข้าเรียนในระบบการศึกษาทางดนตรี จุดสังเกตุ คือ เป็นโรงเรียนดนตรีที่เปิดสอนการเรียนกวดวิชาทางด้านดนตรี มีหลักสูตรที่มีจุดประสงค์ในการพัฒนาผู้เรียนเข้าสู่การเรียนในระบบการศึกษาทางดนตรี
- สร้างความพร้อมสำหรับมืออาชีพ ตอบสนองความต้องการสำหรับผู้เล่นที่ต้องการพัฒนาฝีมือในระดับมืออาชีพ จุดสังเกตุ คือ เป็นโรงเรียนดนตรีที่มีศักยภาพในการจัดหาครูเก่ง ๆ ระดับสากล ที่เรียกว่า Professional ในระดับประเทศและต่างประเทศ หรือโรงเรียนที่เจาะลึกเฉพาะด้านโดยผู้ที่มีฝีมือทางดนตรีในระดับสูงเป็นผู้เปิดสอน
2. การประกอบอาชีพดนตรี เมื่อเราได้รู้ว่าจะเรียนอะไรแล้ว เราจะต้องรู้เป้าหมายว่าจะเรียนเพื่ออะไร ลองตรวจสอบดูว่า ผู้เรียนมีเป้าหมายที่จะประกอบอาชีพอะไร เพื่อใช้ประกอบการเลือกรูปแบบการเรียนให้เหมาะสมกับเป้าหมายของตนมากขึ้น
2.1 อาชีพดนตรี
2.1 อาชีพดนตรี
- ใช้วุฒิการศึกษาเป็นหลัก (เหมาะสำหรับผู้ที่เรียนดนตรีในระบบ) ส่วนใหญ่จะเป็นอาชีพทางด้านการศึกษา ได้แก่ อาชีพครูดนตรีในระบบการศึกษา นักวิชาการทางด้านดนตรี
- ใช้ฝีมือเป็นหลัก (เหมาะสำหรับผู้ที่เรียนดนตรีทั้งในและนอกระบบ) ส่วนใหญ่จะเป็นอาชีพทางด้านการปฏิบัติ อาศัยทักษะทางด้านดนตรี ได้แก่อาชีพ ครูดนตรีนอกระบบ นักดนตรีทั่วไป ผู้อำนวยเพลง ผู้ประพันธ์เพลง นักเรียบเรียงเสียงประสาน นักดนตรีบรรเลงดนตรีประกอบการร้องเพลง นักดนตรีบรรเลงดนตรีประกอบการบรรเลง นักดนตรีในห้องบันทึกเสียง Sound Engineer นักดนตรีที่ผลิตอัลบั้มของตนเอง
2.2 อาชีพดนตรีแบบประยุกต์ เป็นการผมผสานระหว่างทักษะทางดนตรีและทักษะอาชีพอื่น (เหมาะสำหรับผู้ที่เรียนดนตรีนอกระบบ) เช่น
- ทักษะทางดนตรี + วิชาสามัญทั่วไป = นักดนตรี ครูสอนดนตรีนอกระบบ ผลิตอัลบั้ม นักดนตรีที่ผลิตอัลบั้มของตนเอง ผู้จัดการร้านที่เกี่ยวกับดนตรี พนักงานขายเครื่องดนตรี
- ทักษะทางดนตรี + ธุรกิจ / นักลงทุน = ธุรกิจโรงเรียนดนตรี ธุรกิจค่ายเพลง ธุรกิจร้านขายเครื่องดนตรี ธุรกิจห้องบันทึกเสียงธุรกิจสถานที่แสดงดนตรี ธุรกิจจัดหานักดนตรีแสดงในงานต่าง ๆ ( เช่น งานแต่งงาน งานเลี้ยงบริษัท ) ธุรกิจให้เช่าชุดแสงสี เสียง สำหรับการแสดงดนตรี ธุรกิจของที่ระลึกทางดนตรี
- ทักษะทางดนตรี + การขาย / การตลาด = พนักงานขายเครื่องดนตรี พนักงานขายเครื่องเสียง และผู้ทำการตลาดดนตรี ผู้ทำการตลาดเครื่องเสียงในระดับสูง
- ทักษะทางดนตรี + สถาปนิก = ออกแบบสถานที่แสดงดนตรี (แบบ Acoustic แบบ Electric)
- ทักษะทางดนตรี + ทักษะการฟังเพลง = ดีเจ ร้านขาย ซีดี ผู้ปรับเสียง
- ทักษะทางดนตรี + ศิลปะ = ออกแบบปก ซีดี โปสเตอร์ ออกแบบแสงในการแสดงดนตรี ถ่ายภาพการแสดงดนตรี (สถานที่จัดคอนเสิร์ต ใช้แสงน้อย ถ่ายโดยไม่ใช้แฟล็ต ต้องใช้ความรู้และความชำนาญและอุปกรณ์เป็นพิเศษ)
- ทักษะทางดนตรี + ผู้กำกับ = ผลิตมิวสิกวิดีโอ ผลิตการถ่ายทำคอนเสิร์ต
- ทักษะทางดนตรี + งานฝีมือ / วิศวกร = ซ่อมเครื่องดนตรี สร้างเครื่องดนตรี ออกแบบหรือประดิษฐ์เครื่องดนตรี ประดิษฐ์ของที่ระลึกทางดนตรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น