วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ผู้คน ดนตรี ชีวิต / ศิลปวัฒนธรรม





ผู้คน ดนตรี ชีวิต

     ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ นัก มานุษยวิทยา ให้ทัศนะดนตรีเป็นการแสดงออกประเภทหนึ่งซึ่งมีรูปแบบแตกต่างกันออกไปในแต่ละ วัฒนธรรม ทั้งในด้านของท่วงทำนอง ลีลาในการร้องและเนื้อหา ขณะที่ผู้คนในสังคมและวัฒนธรรมเดียวกันได้รังสรรค์และรับฟังดนตรีอย่างหลาก หลาย เพื่อหยั่งถึงโลกแห่งสุนทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นดนตรีชาติพันธุ์ ดนตรีศาสนา ดนตรีสำหรับผู้หญิง เพศที่สาม และดนตรีเพื่อการเยียวยา เป็นต้น

     นัก มานุษยวิทยา ศึกษาดนตรีในมิติที่สัมพันธ์กับบริบทการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม อาทิ ความเปลี่ยนแปลงของความหมายของดนตรีและเสียงต่างๆ ซึ่งรายล้อมและเกี่ยวสัมพันธ์กับมิติในด้านต่างๆ ในชีวิตของผู้คน นอกจากนี้ยังกะเทาะให้เห็นถึงมิติอันละเอียดอ่อนแยบคายของอำนาจไม่ว่าจะอยู่ ในฐานะการครอบงำและการต่อต้าน ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันหรือภายใต้บริบทสำคัญทางการเมือง

     สุด ท้ายแสดงให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์ ในฐานะที่เป็นผู้กระทำการที่สร้างสรรค์ คิดค้น หยิบยืม และร้อยเรียงเสียง จังหวะ และเนื้อร้องเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการปรับตัว ต่อรอง หรือนำมาเป็นส่วนหนึ่งในความเป็นตัวตนของเขาให้เหมาะสมกับห้วงสถานการณ์ ต่างๆ

“ดนตรีในมิติวัฒนธรรม” มิได้มีเพียงนักดนตรี เครื่องดนตรี ตัวโน๊ตและผู้ชมเท่านั้นหากยังมี “เสียง” ที่ สามารถบอกเล่าเรื่องราว ความหมาย ความทรงจำ และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของผู้คนซึ่งมีชีวิตโลดแล่นอยู่ในบทเพลงได้อย่างเต็มอรรถรส นอกจากนี้ Soundscape หรือ “ภูมิทัศน์ที่สร้างโดยเสียง” นับเป็นพรมแดนความรู้ใหม่ของนักมานุษยวิทยา ที่เชื่อมโยงมนุษย์ไปสู่สภาวะต่างๆ ตั้งแต่ภาวะเจ็บป่วย บำบัดเยียวยา การฟื้นความทรงจำ และการก่อร่างตัวตน เป็นต้น

     มุมมองนักมานุษยวิทยา นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ มองว่า การสร้างสรรค์ “เสียง” ที่ มีแบบแผนและทำซ้ำ ๆ กัน โดยเครื่องมือหรือสิ่งที่ทำให้เกิดเสียงเป็นกิจกรรมที่พบได้ทั่วไปในสังคม มนุษย์ทุกแห่ง ท่วงทำนองต่างๆ อาจมีตั้งแต่จังหวะง่ายๆ ไปจนถึงจังหวะที่ซับซ้อน คุณภาพของเสียงอาจมีทั้งหยาบฟังแล้วไม่ลื่นหูไปจนถึงละเอียดฟังแล้วเคลิบ เคลิ้ม ผู้สร้างเสียงดนตรีอาจมีทั้งคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม เครื่องมือทางดนตรีและเสียงก็อาจมีการประดิษฐ์ใหม่และมีการถ่ายทอดเทคนิค ผ่านคนรุ่นต่างๆ กัน

     หน้าที่ทางสังคมของดนตรี ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของเสียงที่ปรากฏขึ้น ดนตรีอาจเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ ขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมและสถานการณ์ เช่น ดนตรีกับการเกษตรกรรม การรักษาพยาบาล พิธีกรรมทางศาสนา หรือการเมือง นอกจากนั้นดนตรีอาจเป็นจินตนาการส่วนตัวของผู้สร้างสรรค์หรือสร้างขึ้นเพื่อ มวลชน อาจเป็นกิจกรรมของเครือข่ายระหว่างประเทศ

     กิจกรรมของ มนุษย์ส่วนใหญ่ มักจะใช้ดนตรีเพื่อปลดปล่อยบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมหรือการทำงาน การเต้นรำและเทคนิคการเคลื่อนไหวร่างกายทั้งหลายมักจะใช้ดนตรีเป็นสื่อในการ แสดงเพื่อทำให้นักเด่นตระหนักถึงตัวตน การศึกษามานุษยวิทยาการดนตรีเป็นการศึกษาดนตรีในวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับ ความคิด พฤติกรรม และเสียงที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน

การศึกษาดนตรี แบบมานุษยวิทยา มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง และการศึกษาดนตรีนอกสังคมตะวันตกต้องอธิบายจากบริบททางวัฒนธรรมการศึกษา ดนตรีทางชาติพันธุ์ (ethnomusicology) เริ่มปรากฏเป็นสาขาย่อยชัดเจน ในช่วงทศวรรษที่ 1950 เป็นการศึกษาที่เน้นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเสียงที่ถูกสร้างโดยมนุษย์ เช่น เสียงดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งศึกษาบริบททางวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดเสียงเหล่านั้น

     การ จัดแบ่งประเภทดนตรีตามสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง ประวัติศาสตร์ และจิตวิทยา ทำให้เห็นว่ามีดนตรีประเภทไหนที่กำลังสูญหายและสมควรได้รับการปกป้องคุ้ม ครอง โดยเฉพาะดนตรีพื้นบ้าน ทั้งนี้สถาบันสมิธโซเนียนได้จัดตั้งโครงการ The Folklife Program เพื่อเก็บรวบรวมดนตรีพื้นบ้านที่กำลังเลื่อนหายไป และกระตุ้นให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาตระหนักถึงปัญหานี้

นอก จากการจัดแบ่งประเภทดนตรีตามสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมแล้ว ทฤษฎีเกี่ยวกับดนตรีอื่นๆ ยังมองมิติของการเป็นเครื่องมือต่อต้านขัดขืนจากการถูกกดขี่ข่มเหง แนวคิดนี้มีการนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวคิดเรื่อง “ความเท่าเทียม” โดยอาศัยดนตรีและการเต้นรำเป็นสื่อในการแสดงออก

     ดนตรีพื้นเมือง มิให้สูญหายไปจากมนุษยชาติ “อำนาจ” ของ ดนตรีนี้มีผลต่อจิตวิญญาณ มนุษย์จะสร้างพลังออกจากตัวเอง แต่พลังนี้เป็นสิ่งที่ลี้ลับมองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ ช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย หรือความอึดอัดได้ ดนตรีประเภทนี้อาจพบในพิธีรักษาโรคภัยไข้เจ็บ อิทธิพลของภาษาศาสตร์ก็ถูกนำมาอธิบายเรื่องดนตรี

สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม กำลังมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ภาพยนตร์ ดนตรี และโฆษณาซึ่งขับเคลื่อนด้วยการบริโภคสินค้า ตัวอย่าง “ดนตรีโลก” (world music) ชี้ ให้เห็นว่าความหลากหลายของดนตรีกำลังหายไป เพราะดนตรีกำลังกลายเป็นสินค้าที่เหมือนๆ กัน นักมานุษวิทยาเองตั้งข้อสังเกตว่า การพัฒนาดนตรีสมัยใหม่ เป็นการผสมผสานระหว่างดนตรีพื้นเมืองกับดนตรีสากล

ยังมีประเด็นรายละเอียดอีกมากมายใน “ผู้คน ดนตรี ชีวิต” การเปิดพรมแดน “ดนตรีในโลกมุสลิม” การ แสดงพื้นบ้านแถบคาบสมุทรมลายู อาทิ ระบำชวา ระบำจากสุมาตรา สิละ และรำกริช ด้านดนตรีกับการ เมือง ดนตรีเป็นสุนทรียภาพอย่างหนึ่งที่มีมิติทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องตลอด เวลา ด้านดนตรีชาติพันธุ์หรือเครื่องดนตรีท้องถิ่นชนิดต่างๆ ปรากฏอยู่ทั่วโลก

     เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของงานประชุมวิชาการ ทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 8 ในวันที่ 25-27มีนาคม ศกนี้ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จะเปิดพรมแดนความรู้ใหม่เกี่ยวกับดนตรี เพื่อเป็นสะพานเชื่อมโยงสาขาวิชามานุษยวิทยาไปสู่การทำความเข้าใจปรากฏการณ์ ทางสังคมและวัฒนธรรมผ่านการศึกษา


หมายเหตุ 

รียบเรียงจากจดหมายข่าว ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)
สุวิมล เชื้อชาญวงศ์

 


*

 สยามรัฐ 24 มกราคม 2552

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น