วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554



 

สุขเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ ของนักกีตาร์ไทย ระดับนานาชาติ

ชื่อของ "อาจารย์โน้ต" ณัฐวุฒิ รัตนกาญจน์ อาจเป็นแค่ "ใครสักคนที่ไม่รู้จัก" สำหรับคนทั่วไป หากในวงการกีตาร์คลาสสิกทั้งในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อของเขาถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในฐานะนักกีตาร์คลาสสิกฝีมือเยี่ยมที่ เปิดการแสดงมาแล้วกว่า 15 ประเทศ และยังเป็นผู้จัดงานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล กีตาร์ เฟสติวัล ที่จัดขึ้นในบ้านเราติดต่อกันมาแล้วถึง 11 ปี

ณัฐวุฒิ ซึ่งปัจจุบันอายุ 30 ปี บอกว่า ก่อนหน้านี้เขาก็เริ่มต้นเหมือนวัยรุ่นทั่วไป ที่พอเริ่มจับกีตาร์ตอนอายุได้ราว 15-16 ปี ก็สนใจในกีตาร์ไฟฟ้า จากนั้นก็ฟอร์มวงเล่นดนตรีกับเพื่อนๆ กระทั่งปีเศษๆ ให้หลัง ระหว่างไปเดินหาซื้อซีดี และได้ยินเสียงกีตาร์คลาสสิกเป็นครั้งแรก ความคิดก็เปลี่ยนแปลงไป

"ผมเห็นลุงคนหนึ่ง ท่านั่งเล่นกีตาร์เขาแปลกๆ เลยซื้อซีดีเขามาฟัง ฟังแล้วก็ตกใจ เฮ้ย! กีตาร์ตัวเดียวเล่นได้ขนาดนี้เลยเหรอ" ณัฐวุฒิเล่าประกอบท่าทางตื่นเต้นอย่างออกรส

ภาพ ที่เห็นและเสียงที่ได้ยินในครั้งนั้นแหละที่ณัฐวุฒิบอกว่าเป็นจุดเปลี่ยนของ ชีวิต เพราะเขาตัดสินใจทันทีที่ฟังจบว่า อยากเล่นได้อย่างนั้นบ้าง คิดแล้วก็หยุดเล่นกีตาร์ไฟฟ้า และเริ่มต้นใหม่ด้วยการไปเรียนกีตาร์คลาสสิกตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น

เริ่มโดยแม้จะมี "ความฝัน" ซุกซ่อนไว้บ้าง แต่ก็ไม่มั่นใจหรอกว่าจะทำได้สำเร็จ

"เป็นความฝันของเด็กๆ ที่อยากเอากีตาร์ไปเล่นรอบโลก ไม่รู้หรอกว่าจะไปด้วยวิธีไหน แต่ฝันไว้ก่อน" เขาบอกพลางหัวเราะ

จาก นั้นก็เริ่มสานฝันด้วยการพยายามแสดงฝีมือเท่าที่โอกาสจะให้ จากพื้นที่เหนือสุดจรดใต้สุดของประเทศไทย เขาไปหมด ไปแม้กระทั่งแคมป์นักกีตาร์ที่สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งตอนนั้นเองที่เส้นทางเริ่มเปิดให้ได้เดินทางไปแสดงในหลายประเทศ

ฟังดูเหมือนไม่ยาก

แต่ไม่ใช่

เพราะ กว่าจะไปถึงจุดนั้นได้ เขาต้องใช้เวลาซ้อมถึงวันละ 10 ชั่วโมง เนื่องจากรู้ตัวดีว่าเริ่มช้ากว่าคนอื่น และการซ้อมหนักคือหนทางเดียวที่จะไปสู้กับใครๆ ได้

"ถามว่าท้อไหม ก็ไม่นะ เหมือนเราตั้งใจ เราเล่นแล้วเรามีความสุขไง ก็เลยไม่ท้อ"
ไม่ ท้อเหมือนตอนเข้าร่วมการแข่งขันกีตาร์หลายครั้ง แล้วแพ้บ้าง ชนะบ้าง เพราะมองว่าผลลัพธ์คือ "เรื่องธรรมดา" สำคัญที่สุดอยู่ที่ระหว่างทางของการไปสู่เป้าหมายต่างหาก

"การแข่งไม่ใช่สิ่งสุดท้ายในชีวิต เพราะท้ายที่สุดพอเรียนจบแล้วต่างหากคือชีวิตจริง"
เขา เองตอนเรียนจบจากสาขาดนตรีตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ ก็มีสภาพไม่ต่างจากนักกีตาร์คนอื่นๆ ที่ต้องขวนขวายหางานทำ

"แต่ใน เมืองไทยมันยังไม่สามารถเล่นเป็นอาชีพได้นะ อย่างมากก็ได้เล่นตามโรงแรม ร้านอาหาร ซึ่งผมไม่ชอบเลย จึงพยายามหาตลาดของตัวเองที่ต่างประเทศ"

เริ่ม ด้วยการเดินทางไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ประเทศเยอรมนี ด้วยความหวังอย่างเต็มเปี่ยมว่าจะมีงานแสดงให้ทำด้วยในระหว่างนั้น แต่ก็ต้องผิดหวัง ทั้งจากระบบการเรียนการสอนที่เขาคิดว่าตัวเองถูกตีกรอบการเล่นให้เป็นไปตาม ที่คนสอนต้องการมากเกินไป ขณะเดียวกันงานแสดงดนตรีที่คิดว่าจะมี การหาไม่ได้

"ผมไม่แฮปปี้ก็เลยหนีกลับมาเลย" เขาบอกตรงๆ

ถึงกระนั้นใจเขายังสู้เต็ม 100

"คือเราแขวนเป้าของตัวเองไว้ว่าอยากไปตรงนี้ให้ได้ แล้ววันไหนท้อ ก็กลับไปนั่งดูเป้าหมาย แล้วตะกายใหม่"

เขา เองตะเกียกตะกายเอางานของตัวเองไปเสนอหลายครั้ง ได้ผลตอบรับให้ไปเล่นหลายหน ทั้งในรูปของการเป็น 1 ในศิลปินที่ร่วมแสดงในเทศกาลดนตรี หรือการแสดงเดี่ยว

ปัจจุบันณัฐวุฒิเป็นอาจารย์สอนกีตาร์ที่ รับ ทั้งคลาสส่วนตัว, สอนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และกำลังจะไปเป็นอาจารย์พิเศษให้มหาวิทยาลัยดนตรีในประเทศมาเลเซีย
ขณะเดียวกันก็ยังมีคอนเสิร์ตแสดงในต่างประเทศทุกปี

ดูจะเป็นชีวิตที่ประสบความสำเร็จและมีความสุข-ทักไปอย่างนั้น แล้วเขาเองก็ตอบรับ

"แต่จริงๆ แค่ได้เล่นดนตรีผมก็มีความสุขแล้วนะตอนนี้

"เล่นเก่ง ไม่เก่ง ไม่สำคัญ เราเล่นแล้วมีความสุข มันก็จบแล้ว

"นักดนตรีมันก็แค่นี้ละ

"เพราะความหมายของดนตรีจริงๆ คือเล่นให้ตัวเองมีความสุข แล้วความสุขมันก็ถ่ายทอดให้คนฟังได้"



"กับคำว่า "นักกีตาร์คลาสสิกระดับโลก"
"อย่าเรียกเลย" ณัฐวุฒิรีบห้าม

"เรียกทีไรถูกด่าทุกที" เป็นเหตุผลที่มาพร้อมเสียงหัวเราะดังก้อง

"บางคนก็บอกผมซื้อตั๋วไปเล่นเอง ซึ่งเป็นไปไม่ได้หรอกครับ ถ้างานไหนไม่ออกค่าตั๋วให้ ผมก็ไม่ไปนะ"
งั้นตอนนี้อยู่ในระดับไหนล่ะ?

"เรียกว่านานาชาติคงจะดีกว่านะครับ"

ณ ขณะนี้ นานาชาติที่เขาตั้งใจไปเปิดการแสดงคือ 20 ประเทศ ซึ่งคาดว่าจะทำได้ครบในปีหน้า

"หลังจากนั้นเดี๋ยวว่ากันอีกที

"ถ้าโลกไม่แตกซะก่อนนะ" บอกพลางหัวเราะส่งท้ายมาอย่างดัง



หน้า 24,มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่  15 ธันวาคม 2554 

*
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323920441&grpid=no&catid=08&subcatid=0800
Amazing ! Kids playing guitar

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

น้ำตาแสงไต้ บรรเลงขลุ่ย By ThePC 





Uploaded by on Jun 6, 2010

*
แต่งโดยครูสง่า อารัมภีร์ เล่นด้วยคีย์ G ลองเล่นเต็มวงดูครับ กลองใช้ไมค์ Shure SM58s สองตัว เก็บกระเดื่องตัวนึง อีกตัวเก็บด้านบน โดยใช้ตู้คีย์บอร์ดแทนพรีแอมป์ คีย์บอร์ดใช้ WK-1800 ของ Casio เสียง WarmPad กีต้าโปร่ง Landwin ใช้ไมค์หูฟังอัด ขลุ่ยซีเลาเดียวกับเดือนเพ็ญครับ ใช้ไมค์หูฟังเช่นกัน ส่วนเสียงเบสใช้คีย์บอร์ดทำ ไม่ได้ถ่ายไว้ครับ ครั้งนี้บันทึกกำกับวิดีโอด้วย Adobe Audition 1.5 และซ้อนภาพด้วย Sony Vegas เหมือนเดิมครับ เล่นผิดๆ ถูกๆ และจังหวะก็ไม่คงที่ก็ขออภัยด้วยนะครับ ช่วยคอมเม้นท์แนะนำกันด้วยนะครับ
สำหรับใครที่ต้องการโน้ตเชิญที่นี่ครับ
http://www.facebook.com/Tle.Kluithai

/
http://www.youtube.com/watch?v=YC3cTpjJIqk


Trevor Moss & Hannah-Lou feat. George Harrison  " Your Love Is Forever 




Recorded exclusively for MOJO magazine's November 2011
covermount CD Harrison Covered - out on September 27.

"ซิลเวอร์เลค มิวสิค เฟสติวัล" เทศกาลดนตรีของไทย

 





"ซิลเวอร์เลค มิวสิค เฟสติวัล" เทศกาลดนตรีระดับโลกในประเทศไทยที่กำลังจะมีขึ้นในช่วงปลายเดือนมกราคมปี หน้า จะมีศิลปินชื่อดังระดับโลกอย่าง Incubus, Owl city และ Seether มาร่วมแสดงในงาน บ๊อบได้เล่าให้เราฟังถึงงานในครั้งนี้ว่า

"งานนี้ มันเริ่มต้นมาจากพี่แจ๊ค (เจษฎา พัฒนถาบุตร) และพี่สุรชัย (ตั้งใจตรง) ทั้ง 2 คนเป็นคนดนตรีเหมือนกัน แล้วเมื่อ 2-3 ปีก่อนหลังจากทั้ง 2 คนคุยกันว่า ตรงวินด์ยาร์ดที่แกมีสถานที่อยู่เนี่ย แกอยากทำให้เป็นมิวสิกคอมมิวนิตี้ แล้วก็อยากให้มีดนตรีดี ๆ ในไร่องุ่น เราก็เลยได้มีโอกาสไปดูสถานที่กัน ทางเราเองก็พร้อมในส่วนของโปรดักชั่นอยู่แล้ว พี่แจ๊คก็ไปดูกับพี่สุรชัย ผมก็ไปดูด้วย เราก็ไปดูแล้วก็เห็นว่าสถานที่มันสวยมาก

จึงเห็นว่า มันมีโอกาสที่จะได้สร้างมิวสิกเฟสติวัลให้เป็นที่รู้จักได้ เริ่มรวมหัวกัน ต่างคนก็ต่างใช้ประสบการณ์ คอนเน็กชั่นในแต่ละสายของตัวเองที่มีดึงเพื่อน ๆ เราซึ่งเป็นรุ่นใหญ่ในการทำเฟสติวัลเป็น

ไซต์แมเนเจอร์ของทั่วโลกมาช่วยทำ"

โดย บ๊อบได้เล่าถึงความพร้อมของงานในครั้งนี้ว่า "ในส่วนของศิลปินเราคอนเฟิร์มหมดแล้ว เรื่องความพร้อมของศิลปินไม่ต้องห่วงเลย ในส่วนต่อไปก็คือ เรื่องสถานที่ สถานที่ตอนนี้เราปรับไปเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว

หลังจากที่ได้ทำ การโปรโมต "ซิลเวอร์เลค มิวสิค เฟสติวัล" ผ่านสื่อไปแล้ว ดูเหมือนว่าเสียงตอบรับจะดีมากกว่าที่บ๊อบคาดการณ์เอาไว้ ทั้งยอดการขายบัตร และที่สังเกตได้ชัดเจนที่สุดคือ ในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ที่ก่อนหน้าที่จะออกสื่อมีสมาชิกอยู่ราว ๆ 4,000 คน แต่หลังจากที่ออกสื่อไปได้เพียงแค่ 1 วัน ยอดสมาชิกก็พุ่งสูงขึ้นไปเป็นเท่าตัว คือ 9,000 กว่าคนเลยทีเดียว

ในเรื่องนี้บ๊อบได้อธิบายให้ฟังว่า น่าจะเป็นผลมาจากความชัดเจนในวิธีการทำงานของทีม

"เรารู้ว่าคอนเทนต์หลักของเราเป็น

คอน เทนต์หลักของธุรกิจคอนเสิร์ต เราไม่เอาดนตรีมาแล้วมีกิมมิกอย่างอื่น เทศกาลของเราที่เราพูดกันที่เราเสนอมันเป็นแบบนั้น ข้อดีของเราคือ เราไม่มีปัญหาในเรื่องของการจัดศิลปินซ้ำ ๆ กัน

อีกอย่างหนึ่งที่ เทศกาลดนตรีจะมอบให้กับเราทุกคนคือ ความตื่นตัวในธุรกิจดนตรี และวงการดนตรีในบ้านเรา เพราะการเกิดขึ้นของงานในลักษณะนี้จะทำให้เกิดแนวทางดนตรีใหม่ ๆ และยังกระตุ้นให้นักดนตรีทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่าพัฒนาฝีไม้ลายมือของตัวเอง ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง

"มันช่วยให้ความตื่นตัวของธุรกิจดนตรีมีมากขึ้น ให้โอกาสวงดนตรีในการเล่นไลฟ์ วงดนตรีเล็ก ๆ ที่เป็นอินดี้ได้มีโอกาสโชว์ฝีมือในเฟสติวัลใหญ่

ยิ่งเรามีเวทีให้ ได้แสดงออกเยอะ มันก็ยิ่งเป็นการสร้างการเรียนรู้ใหม่ ๆ ให้กับวงการเพลง แล้วกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตนเองขึ้นไปอีกขั้น"






*
"ประชาชาติธุรกิจออนไลน์"
วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554 
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1323578860&grpid=no&catid=no












วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554



ดร.อาบทิพย์ ธีรวงศ์กิจ "อังศุมาลิน" ในโลก "ดิจิทัล"







เพลงไทยเดิมนับวันยิ่งจะหาฟังอยากมากขึ้น เรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่สิ้นไปเสียทีเดียว เพราะยังมีกลุ่มที่อนุรักษ์เพลงเหล่านี้ไว้ ให้มีเสียงแว่วมากระทบหูบางเป็นครั้งคราว

แม้แต่ในสังคมไซเบอร์ของเครือข่ายโลกยุคดิจิทัล ก็ยังมีเพลงไทยเดิมให้สืบค้นมาฟังกันได้พอเสนาะหูอยู่บ้าง

โดยเฉพาะฝีมือตีขิมบรรเลงเพลงไทยเดิมของ "อาจารย์อ้อม" ที่ไพเราะจับใจ ทั้งท่วงทำนองและจังหวะความนุ่มนวล แม้จะผ่านการอัพโหลดขึ้นไว้บนอินเทอร์เน็ตแล้วก็ตาม เสียงที่ออกมาฟังใสแจ๋วชวนเคลิบเคลิ้ม อยากจะลุกขึ้นมาขยับแขนขาโยกไปตามทำนอง

เพลงที่อาจารย์อ้อมเลือก บรรเลงนั้นไม่ได้มีแค่เพลงไทยเดิม แต่ยังมีเพลงไทยสากลที่บรรเลงโดยขิม เครื่องดนตรีตัวเดียวที่สะกดผู้ชมผู้ฟังให้ตะลึงค้างอยู่หน้าจอ และคลิกเลือกฟังเพลงอื่นซึ่งขณะนี้มีอัพโหลดไว้บนอินเทอร์เน็ตเกือบ 200 เพลงแล้ว

ใครจะคิดว่าหญิงสาวผิวขาวร่างเล็กคำนวณอายุจากภาพที่เห็น ไม่น่าจะเกินเลข 3 ที่คนในโลกไซเบอร์เรียกว่า "อาจารย์อ้อม" ผู้สร้างเสียงดนตรีไทยประดับบนยูทูบให้ชาวไทยและชาว

ต่างชาติได้ชื่นชมด้วย มียอดคลิกชมนับหมื่นคน

มีดีกรีเป็นถึงอาจารย์จบปริญญาเอกจากประเทศสหรัฐอเมริกา แถมยังเป็นสาขาชื่อดัง จบในคณะที่ไม่ธรรมดาเสียด้วย

"ดร.อาบทิพย์ ธีรวงศ์กิจ" หรืออาจารย์อ้อม อายุ 32 ปี เป็นอาจารย์ประจำสอนนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) หรือที่รู้จักในชื่อ "บางมด" เป็นนักเรียนทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โท เอก สาขาวิชา Mechanical Engineering ที่มหาวิทยาลัยคาร์นีกี้ เมลลอน (Carnegie Mellon University : CMU) ที่รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

อาจารย์อ้อมใช้เวลาเรียนที่ สหรัฐ อเมริกาถึง 10 ปี และยังได้รับเหรียญทองตอนปริญญาตรี กระทั่งเรียนจบด็อกเตอร์และกลับมาเมืองไทยได้ 4 ปีแล้ว มาเป็นอาจารย์สอนในภาควิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์

ดังนั้น การใช้ชีวิตตัวคนเดียวที่เมืองนอกเป็นเวลานาน อาจารย์อ้อมจึงต้องหาอะไรทำเพื่อให้คลายความคิดถึงบ้าน เธอจึงเริ่มมองหาสิ่งที่ถนัดและชอบเป็นพิเศษนับตั้งแต่แม่พาไปเข้าคอร์สปรบ มือเข้าจังหวะตั้งแต่ 7 ขวบ ก่อนจะพาเธอไปทำความรู้จักกับเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งคือ ขิม ซึ่งมันได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเธอไปแล้ว

"ขิม" จึงเป็นทั้งเพื่อนและเครื่องดนตรีที่คลายความเหงา อีกทั้งสร้างความบันเทิงให้กับเธอในเวลาที่ต้องอยู่คนเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอรักและถนัดที่สุด

หากใคร ได้ลองฟังเสียงเพลงที่อาจารย์มหาวิทยาลัยบางมด ผู้นี้บรรเลงกับหู รับรองจะต้องหลงใหลในท้วงทำนองของเสียงขิมแบบไม่มีสะดุด เสมือนกับว่าขิมและผู้ตีกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน

เสียงขิม ที่ตีโดยอาจารย์อ้อมไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในยูทูบเท่านั้น ก่อนหน้านี้อาจารย์อ้อมได้นำเครื่องดนตรีไทยไปเผยแพร่ถึงสหรัฐอเมริกา โดยใช้ความสามารถที่ตัวเองมีอยู่นำขิมไปตีให้ฝรั่งฟังในงานเผยแพร่วัฒนธรรม ที่นักเรียนไทย จับกลุ่มกันทำกิจกรรมขายอาหารไทยเอาเงินเข้าสมาคม มีการจัดการแสดงขายตั๋วให้ฝรั่งเข้ามาดู คนอเมริกันจะไม่มีเครื่องดนตรีแบบนี้ ส่วนคนจีนคนยุโรปอาจจะพอคุ้นเคยอยู่บ้าง

ส่วนความพิเศษที่บรรดาแฟนคลับชื่นชอบไม่ได้มีแต่เสียงเพลงไทยเดิมเท่านั้น

อาจารย์ อ้อมได้นำเครื่องดนตรีขิมมาปรับโน้ตแต่งทำนองให้เข้ากับเพลงพ็อปเบา ๆ โดยเฉพาะเพลงที่กำลังฮิต จนหลายคนติดอกติดใจอยากจะตีขิมบ้าง ขอสมัครเป็นลูกศิษย์ แต่อาจารย์ผู้นี้ขอสอนแค่วิชาวิศวกรรมที่ได้ร่ำเรียนมา
ส่วน ครูสอนดนตรีขอเว้นไว้ก่อน เนื่องจากเกรงใจอาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชามาให้ หากจะสอนจริงจังคงต้องไปขออนุญาตให้เรียบร้อยเสียก่อน แต่ก็ใจดียอมจัดเวิร์กช็อปเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ผู้ที่สนใจแต่ยังไม่ยอมเปิดรับลูกศิษย์คนใดเด็ดขาด

อาจารย์อ้อม เล่าถึงแฟนคลับตัวน้อย ๆ ที่ได้ฟังเพลงผ่านยูทูบแล้วติดต่อมาจนรู้ว่าอยู่หมู่บ้านเดียวกัน เด็กคนนั้นรีบปั่นจักรยานมาหาถึงหน้าบ้านและบอกว่าอยากพบตัวจริง มายืนกดกริ่งอยู่หน้าบ้านตั้งแต่เช้าตรู่ เธอก็ได้ให้คำแนะนำไปตามสมควรที่เด็กจะรับได้

แต่ยืนยัน "ไม่รับสอนค่ะ"

ดัง นั้น จะเห็นว่ามีบรรดาแฟนคลับร้องขอให้อาจารย์อ้อมเปิดคอร์สสอนดนตรี แต่ก็ไม่เคยสำเร็จเสียที เพราะสิ่งที่นักดนตรีผู้นี้มีนอกจากพรสวรรค์แล้ว เธอยังมีความสามารถชนิดที่ว่าลอกเลียนแบบได้ยาก แค่ฟังเสียงเพลงเธอก็รู้แล้วว่าต้องใช้โน้ตตัวไหน



การนำตัวโน้ตในเพลงสากลไปดัดแปลงในเครื่องดนตรีไทย ต้องเพิ่มเสียงแฟลตกับเสียงชาร์ปเข้าไปด้วย จะค่อนข้างยากเพราะต้องแปลงเครื่องดนตรีด้วย

แม้จะเห็นว่าอาจารย์อ้อมบรรเลง ดูง่าย ๆ แบบไม่ต้องมองยังตีไม่ตกร่อง ก็เพราะความสามารถล้วน ๆ

"ความ แตกต่างระหว่างเพลงไทยเดิมกับเพลงสมัยใหม่ เสียงดนตรีจะไม่เหมือนกันทีเดียว เพราะดนตรีไทยมีแต่เสียงโด เร มี ฟา ซอล ลา ที ไม่มีเสียงชาร์ปเสียงแฟลต และการแบ่งช่วงตัวโน้ตก็ไม่เหมือนกัน

ฉะนั้น การเอาเครื่องดนตรีไทยมาเล่นเพลงสากล ต้องทำเครื่องดนตรีของเราให้เป็นเสียงเดียวกับดนตรีสากลให้ได้

วิธี การก็ยากนิดหนึ่ง ต้องมีขิมที่จะต้องจูนให้เข้ากับระบบเสียงให้ได้ ถ้าเล่นเพลงไทยเดิมจะเล่นขิมตัวเล็กที่จะมีอยู่ 7 หย่อง แต่ถ้าจะเล่นเพลงสากลก็จะใช้ตัวใหญ่ จะสามารถปรับให้เข้ากับเพลงสากลได้ จะมีหย่องเพิ่มขึ้น และมีสายเพิ่มมากขึ้น

ขิมที่ใช้เล่นกับเครื่อง ดนตรีสากลก็มีบ้างแล้วชื่อ ขิมโครมาติค เป็นเครื่องดนตรีขิมเฉพาะที่คนเริ่มคิดค้นขึ้นมา จะมีทั้งชาร์ปทั้งแฟลตในตัวเดียว แต่ของอ้อมมาปรับจูนเอง แต่ถ้าเล่นขิมโครมาติคระยะห่างของหย่องก็ต่างกัน อาจจะตีโน้ตผิดได้" ด็อกเตอร์สาวกล่าว

ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้เสียงเพลงจากขิมของอาจารย์ อ้อม มีเสียงโน้ตครบทุกตัวทำให้การบรรเลงไหลลื่นน่าฟัง และการนำเสียงขิมมาผสมผสานกับเสียงขลุ่ย เสียงเปียโนได้อย่างลงตัว ล้วนเป็นคนที่ติดต่อเข้ามาเอง อยากจะขอมาร่วมกันบรรเลงเพลง จนมีคนเข้าไปสอบถามเป็นจำนวนมากทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ

"เล่นยังไง เรียกว่าอะไร คนชอบเล่นดนตรีมีเยอะ แต่เราเองไม่มีพื้นที่ให้เขา"

แม้อาจารย์อ้อมจะยังไม่รับสอน แต่ก็ยังช่วยถ่ายทอดเทคนิคการจับไม้ วิธีการนั่ง การสะบัดมือช้า ๆ แล้วเร่งเร็วขึ้นต้องทำอย่างไร

มี คนยกให้อาจารย์สอนวิศวกรรมหุ่นยนต์ท่านนี้เป็นไอดอล ผู้สร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาสนใจในดนตรีไทย ผลักดันให้พวกเขาอยากเล่นขิมเป็นบ้าง

ฉะนั้น "อย่ามัวแต่คิดให้ลงมือทำเลย ถ้ามีไอเดียอะไรก็ลงมือทำ อย่ามัวแต่คิดไปว่าจะทำดีหรือไม่ทำดี เพราะจะเสียโอกาสไป"
ทั้ง นี้และทั้งนั้นกว่าที่อาจารย์สาวผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์จะเรียนจนจบปริญญา เอกและตีขิมได้ขั้นเทพขนาดนี้ เพราะความขยันหมั่นเพียรในการฝึกฝน ฝึกซ้อม และมีใจรัก จึงทำให้เธอประสบความสำเร็จในทุกเรื่อง

ใคร ที่ยังไม่ได้เป็นแฟนคลับของเธอคนนี้ ต้องรีบเข้าไป "กดไลก์" ในเพจเฟซบุ๊กกันได้แล้ว นอกจากจะมีเพลงฟังเกือบทุกวัน ยังได้ร่วมทำกิจกรรมดี ๆ ช่วยสังคมที่อาจารย์สาวท่านนี้ลงทุนลงแรง เช่นเดียวกับอุทกภัยที่ผ่านมา




*
สุชาฎา ประพันธ์วงศ์ : เรื่อง

"ประชาชาติธุรกิจออนไลน์" 30 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2554

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1322648266&grpid=09&catid=no