วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

International Jazz Conference 2010 


กิจกรรมดนตรีแจ๊ส 3 วัน 29-31 ม.ค. 2553 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ศาลายา จ.นครปฐม

งาน TIJC คราวนี้ ช่วงกลางวัน มีเวิร์คช็อพให้ดู ส่วนเย็นวันเสาร์อาทิตย์มีเวทีการแข่งขัน ทั้งรุ่นเล็กและรุ่นใหญ่ที่น่าเอาใจช่วย ขณะที่ภาคค่ำเป็นคอนเสิร์ตที่ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือวงอาชีพ วงจากสถาบันทั้ง 3 (มหิดล-ศิลปากร-รังสิต) และวงจากศิลปินต่างประเทศ

 วันศุกร์ นักแซ็กจากฝรั่งเศส แบ๊ปติสต์ เฮอร์บิน นับว่าน่าสนใจมาก เพราะตามหาแผ่นอัลบั้มของเขามาฟังไม่ได้เลย (ฮา) แม้กระทั่งบรรดาเซียนบิททอร์เรนท์ยังเป็นงง

 วันเสาร์ ริช เพอร์รี นักเทเนอร์แซ็ก บินมาจากนิวยอร์กซิตี ที่ โก้ มิสเตอร์แซ็กแมน ฟังครั้งแรกก็พบว่า น่าจะมีประสบการณ์ในวงบิ๊กแบนด์มาอย่างโชกโชน ใช่แล้ว ริช เล่นในวงของ มาเรีย ชไนเดอร์ และ เดอะ แวนการ์ด ออร์เคสตรา โดยไซด์แมนของเขา ส่วนแต่ระดับเทพทั้งนั้น แฮโรลด์ แดงโก หัวหน้าภาคแจ๊สของ อีสต์แมน , เจฟฟ์ เฮิร์ชฟิลด์ และ เจย์ แอนเดอร์สัน

 ส่วนวันอาทิตย์ แอรอน โกลด์เบิร์ก จากนิวยอร์กซิตี เช่นกัน เป็นมือเปียโนดาวรุ่งที่เล่นกับ โจชัว เรดแมน ส่วนไซด์แมนในวงทริโอของเขา คือ เกรกอรี ฮัทชินสัน มือกลองที่มีงานอัดแผ่นนับไม่ถ้วน กับ โอแมร์ อวิตาล มือเบสชาวอิสราเอล ที่มีงานเดี่ยวออกมาหลายชุดแล้ว

 อยากเรียนรู้บรรยากาศดีๆ ในงานนี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.music.mahidol.ac.th/tijc


-------------



ตารางการแสดง

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2553

เวลา ประเภท กิจกรรม สถานที่
10:30 - 11:30 Workshop Rangsit University Faculty Auditorium
11:30 - 12:00 Performance Rangsit University Student Oval Stage
12:15 - 12:45 Performance OMAH Oval Stage
13:00 - 13:50 Workshop Jay Anderson Auditorium
14:00 - 14:50 Workshop Harold Danko Auditorium
15:00 - 15:50 Workshop Jeff Hirshfield Auditorium
16:00 - 16:50 Workshop Rich Perry Auditorium
18:00 - 19:00 Performance Mahidol University Jazz Orchestra Main Stage
19:30 - 20:30 Performance Prode Tanapat Jazz Group Main Stage
21:00 - 22:00 Performance Denny & Friends (Rangsit University Faculty) Main Stage
22:30 - 23:30 Performance Baptiste Herbin Quartet Main Stage

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2553

เวลา ประเภท กิจกรรม สถานที่
10:30 - 11:30 Workshop Silpakorn University Faculty Auditorium
11:30 - 12:00 Performance Silpakorn University Student Oval Stage
12:15 - 12:45 Performance LAM Jazz Band Oval Stage
13:00 - 13:50 Workshop Prod Tanapat Auditorium
14:00 - 14:50 Workshop Koh Mr.Saxman Auditorium
15:00 - 15:50 Workshop Anant Lerpradit Auditorium
16:00 - 16:50 Workshop Baptiste Herbin Auditorium
17:20 - 19:00 Competition Solo Competition ประเภท B (Junior Division) Final Round Auditorium
19:30 - 20:30 Performance Koh Mr.Saxman Main Stage
21:00 - 22:00 Performance Mansri (Silpakorn University Faculty) Main Stage
22:30 - 23:30 Performance Rich Perry Quartet Main Stage

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2553

เวลา ประเภท กิจกรรม สถานที่
10:30 - 11:30 Workshop Mahidol University Faculty Auditorium
11:30 - 12:00 Performance Mahidol University Student Oval Stage
12:15 - 12:45 Performance Jazz Dojo Oval Stage
13:00 - 13:50 Workshop Infinity Auditorium
14:00 - 14:50 Workshop Omer Avital Auditorium
15:00 - 15:50 Workshop Greg Hutchinson Auditorium
16:00 - 16:50 Workshop Aaron Goldberg Auditorium
17:20 - 19:00 Competition Solo Competition ประเภท A (Open Division) Final Round Auditorium
19:30 - 20:30 Performance Infinity Main Stage
21:00 - 22:00 Performance The Pomelo Town (Mahidol University Faculty) Main Stage
22:30 - 23:30 Performance Aaron Goldberg Trio Main Stage
* หมายเหตุ ตารางการแสดงอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้



*
http://www.bangkokbiznews.com



วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

“ไวโอลิน” และประสบการณ์ทางดนตรีตะวันตกของ รศ.ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ






ข้าพเจ้าได้เกริ่นไว้ในวารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉบับที่ 16,2548 ปีที่ 11 เรื่องเกี่ยวกับชีวิต ประสบการณ์ด้านดนตรีตะวันตก โดยเฉพาะประสบการณ์การเรียน การฝึกการแสดงไวโอลินทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งข้าพเจ้าพยายามเรียงลำดับจากอดีตเท่าที่จำได้ ดังต่อไปนี้

ข้าพเจ้า สนใจเรื่องดนตรีตั้งแต่อายุ 5-6 ขวบ ถูกคุณพ่อและคุณแม่บังคับให้อยู่แต่ในบ้าน โดยให้ช่วยทำงานบ้านและฝึกซ้อมดนตรี ในระยะแรกคุณพ่อและคุณแม่จะจัดการเวลาให้ ทั้งการเรียน และการซ้อมดนตรี ซึ่งเป็นหลักจิตวิทยาชาวบ้านที่ไม่อยากให้ลูกไปซุกซนในตลาด (ตลาดพลู) กับเพื่อนฝูงซึ่งอาจจะกลายเป็นเด็กเกเร ท่านจึงปลูกฝังให้อยู่แต่ในบ้านด้วยการเรียนการฝึกดนตรีแทน

เนื่อง จากคุณพ่อเล่นดนตรีได้บ้างและเป็นนักสร้างเครื่องดนตรี เช่น ซออู้ ซอด้วง จนข้าพเจ้าอายุประมาณ 10 ขวบ ท่านก็ทนข้าพเจ้ารบเร้าให้สร้างไวโอลินเพื่อฝึกเล่นคู่ไปกับซอไทย ซึ่งท่านก็หาวิธีทดลองทำ ดังข้าพเจ้าจะขอบอกเล่าเรื่องของคุณพ่อในความมานะอดทนดังนี้

จาก คำพูดของท่านเมื่อสมัยท่านนั่งทำไวโอลิน ตั้งแต่เช้ามืดจนมืดคำ เพื่อค้นคว้าและทดลองโดยเฉพาะความไพเราะของเสียงและความสวยงามของไวโอลิน ท่านกล่าวไว้ว่า

“สิ่งที่ดีเลิศเลอ ทำไมต้องเป็นฝีไม้ลายมือของฝรั่งมังค่าเท่านั้น คนไทยจะทำไม่ได้เชียวหรือ”

ท่าน ก็เลยได้แรงบันดาลใจและกำลังใจให้ท่านได้ผลิตไวโอลิน โดยให้ลูกเล่นและทดสอบเสียง และถามข้าพเจ้ามาโดยตลอดว่าเสียงเป็นเช่นไร เช่น ดัง เบา หวาน มีพลัง ซึ่งข้าพเจ้าจะต้องหาคำตอบให้ท่านอยู่ทุกวัน ไม่ว่า เช้า สาย บ่าย เย็น ค่ำ จนในที่สุด ท่านสามารถผลิตไวโอลินจากการคัดเลือกไม้ โดยเฉพาะไม้สน ไม้ตะแบก ไม้ยม หรือแม้แต่ฉำฉาจากรังไม้ที่ส่งมาจากต่างประเทศ โดยดูจากลายไม้ด้านหน้า และเลือกไม้สำหรับด้านหลังไวโอลิน ท่านได้ทำไปจำหน่ายบ้าง ส่วนข้าพเจ้าก็เลือกเล่นตามใจชอบ โดยคุณพ่อจะดีใจมากถ้าได้นำไวโอลินของท่านไปแสดงคอนเสริต แต่เสียดายที่ข้าพเจ้าทดลองเสียงไวโอลินให้ท่านได้ในขณะที่อยู่ในประเทศไทย เท่านั้น เพราะต้องศึกษาอยู่ในต่างประเทศเกือบ 11 ปี

อย่าง ไรก็ตาม คุณพ่อก็ผลิตไวโอลินมาตลอดชีวิตแม้ตัวข้าพเจ้าจะอยู่ต่างประเทศ ข้าพเจ้าเองด้วยความรักและบูชาคุณพ่อ ได้รู้ซึ่งความมานะพยายามของคุณพ่อที่มีความต้องการสร้างไวโอลินให้มีคุณภาพ ในระดับโลกให้ได้ ข้าพเจ้าจึงขอสูตรลับแห่งควมสำเร็จในการสร้างไวโอลินจากนักสร้างไวโอลินคน หนึ่งเป็นชาวเยอรมัน แต่มีชื่อเสียงในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในช่วงที่ข้าพเจ้ากำลังศึกษาการเล่นไวโอลินอยู่ ณ สถาบันดนตรีสูงสุด คือ “The Royal Conservatory Of Music”

ใน ระยะแรกๆของการศึกษา ข้าพเจ้าโดยทุนรัฐบาลฮอลแลนด์ ซึ่งเป็นคนไทยคนแรกขณะนั้น ประมาณปี พ.ศ.2510 โชคดีที่ท่านได้ทดลองเล่นไวโอลินของคุณพ่อและให้ข้าพเจ้าเล่นให้ฟัง ช่างผู้นั้นคือ Mr.Stuber และครอบครัว ได้ยอมรับถึงความประณีต สวยงาม และน้ำเสียง แต่กระซิบว่า “ถ้าคุณพ่อได้สูตร(ความลับ)ของฉันไปและนำไม้ที่ทำไวโอลินที่ท่านทำมาเกือบ ตลอดชีวิต ไปมอบให้คุณพ่อลองทำดู เสียงจะยิ่งมีพลังและไพเราะยิ่งขึ้น” นายช่าง Stuber บอกว่า “ถ้าไม่รักเธอจริงและไม่ได้เห็นความสามารถของคุณพ่อเธอฉันจะไม่ยอมให้ความ ลับนี้เลยนะ”

ข้าพเจ้าดีใจมาก ประจวบกับมีโครงการกลับไปเยี่ยมเมืองไทยและครอบครัว เนื่องจากเก็บเงินในจากทุนที่เรียนและหาเงินจากงานพิเศษ เช่น สอนดนตรีไทย รายได้จากงานพิเศษจากการทำงานบ้านในบ้านท่านเอกอัคราชทูต เล่นดนตรีตามงานต่างๆกับเพื่อนวงเชมเบอร์มิวสิก พอได้ค่าเครื่องบิน

อย่าง ไรก็ตามข้าพเจ้ายังมีข้อผูกพันกับทุนรัฐบาลฮอลแลนด์ซึ่งต้องกลับมาศึกษาต่อ ใน Royal Conservatory of Music โดยต้องสอบผ่านวิชาทฤษฎี ประวัติและเตรียมงานแสดง โดยต้องเลือกเพลงที่อาจารย์แนะนำเพลงที่เราถนัดที่สุด และมีความยากเป็นมาตรฐานของสถาบันสูงสุดแห่งนี้ โดยมีกำหนดให้สำเร็จในอีก 2 ปี ข้างหน้า ข้าพเจ้าจะต้องซื้อตั๋วเครื่องบินข้ากลับไว้ด้วยจากเงินเก็บส่วนตัว คุณพ่อและคุณแม่ไม่มีเงินซื้อตั๋วเครื่องบินและทุนเรียนแบบ พ.ก.(พ่อกู) เหมือนเศรษฐีท่านอื่นๆ

ข้าพเจ้า จึงต้องทำงานหนักในการเก็บเงินพิเศษไปในตัวแต่รู้สึกว่าชีวิตมีค่า และมานะมาก โดยเฉพาะมีความคาดหวังที่จะเอาชนะความสามารถในการเล่นไวโอลินให้เก่งกว่า เพื่อนคน Dutch และประเทศอื่นๆ ให้ได้ ความพยายามนี้เอง ครูของข้าพเจ้า โดยเฉพาะอาจารย์ประจำสถาบันที่สอนไวโอลิน คือ Professor J. Rontgen เชื้อสายเยอรมัน บุตรชายนักประพันธ์เพลงที่มีชื่อคนหนึ่งของประเทศเยอรมันจึงขอทุนรัฐบาลโดย ทำจดหมายแนะนำข้าพเจ้า และผลการเรียนในปีที่ 2 ของสถาบันแห่งนี้ขึ้น

ข้าพเจ้า คงต้องยุติสำหรับบทความซึ่งเกี่ยวโยงกับเรื่องของไวโอลิน คุณพ่อผู้สร้างไวโอลินจนมีชื่อเสียง รวมทั้งความสนใจเกี่ยวกับไวโอลินและการศึกษาในเบื้องต้นในต่างประเทศไว้ เพียงเท่านี้ก่อน ซึ่งในด้านประสบการณ์ของข้าพเจ้าทั้งในเมืองไทย ต่างประเทศ ผลงานต่างๆ ข้าพเจ้าขอผลัดไปเขียนในฉบับต่อไป

หมาย เหตุ : ไวโอลินสร้างโดยคุณพ่อสมบุญ ขันธศิริ สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2512 ณ กรุงเทพฯ เป็นตัวที่ข้าพเจ้ากลับจากการสำเร็จการศึกษาจากกรุงเฮก แล้วนำมาอัดจานเสียงของนักไวโอลินคนแรกของไทย ชื่อชุด “Serenade” โดยมี อ.ณัฏ์ ยนตรรักษ์ เล่น Piano ประกอบ บางท่านคงได้ฟังและจำได้


*
อ้างอิง : http://www.oknation.net/blog/kasembunditcult/2007/05/16/entry-1

รศ.ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ กับ การแสดงดนตรี




รศ.ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ ร่วมกับศิษย์ภาควิชาดุริยางค์ศิลป์ มศว.ประสานมิตร และนักดนตรีระดับแนวหน้าของไทย วงเชมเบอร์ออร์เคสตร้า แสดงการบรรเลงไวโอลิน คอนแชร์โต้
ณ หอประชุมใหญ่ มศว.ประสานมิตร วันพุธที่ 25 ก.ค.2550

รศ.ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ เดี่ยวไวโอลิน เพลงพระราชนิพนธ์ "อาทิตย์อับแสง" เพลงไทยเดิม "ลาวแพน" และ "ค้างคาวกินกล้วย" งานวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
"ธ สถิตย์เหนือดวงใจไทยทั่วโลก" ณ กรุงบอนน์ 2 ธันวาคม 2543

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมของ คีตภาวัน ที่่ผ่านมา...ไม่นานนัก

18 กันยายน 2551 ทีมครู และนักเรียน แสดงดนตรีที่สวนศิลป์ รามคำแหง 110 หมู่บ้านสัมมากร





17 ตุลาคม 2551 ชมรมคีตภาวัน เข้าร่วมการแสดงขับร้องประสานเสียงของมูลนิธิโลกสีฟ้า เพื่อหาทุนสร้างอาคารเรียนให้แก่ โรงเรียนสงขลาวิทยามูลนิธิ ณ หอประชุมโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา




31 กรกฏาคม 2552 แสดงดนตรีที่สวนศิลป์ รามคำแหง 110 หมู่บ้านสัมมากร




เปิดสอนไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น 3 ต.ค. 2552 ที่บ้านคีตภาวัน



กิจกรรม 5 ธ.ค. 2552 ที่สวนศิลป์ รามคำแหง 110 หมู่บ้านสัมมากร

ชมรมคีตภาวัน

ชมรมคีตภาวัน

ชมรมคีตภาวันมีปณิธานหลักจะเป็นสถานที่ให้ผู้ที่ต้องการฝึกหัดเครื่องดนตรีสักชิ้น
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างจิตวิญญาณ หรือใช้เป็นดนตรีบำบัด

เราคาดหวังให้ผู้รักชอบศิลปะการดนตรี มีโอกาสเข้าถึงความงามของภาษาดนตรีได้อย่างเท่าเทียมกัน ในระยะแรกนี้

กิจกรรมของ คีตภาวัน

1.ดนตรีไทย และรำไทย
ดำเนินการสอนเครื่องดนตรีไทยทุกชนิด เช่น ขิม ซอ ระนาด




หลักสูตรรำไทย

หลักสูตรละ 2 เดือน เรียนครั้งละ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
ใน 1 หลักสูตรได้ 2-3 เพลง
เลือกเรียนเดี่ยว หรือเป็น กลุ่ม ( 2-6 คน) ก็ได้




2. ดนตรีสากล

- ไวโอลิน
- เปียโน
- กีตาร์ (คลาสิก ไฟฟ้า ร็อค ป๊อป บลู แจ๊ส)
- เบส
- แซ็กโซโฟน
- คลาริเน็ท
- คอมพิวเตอร์มิวสิค
- ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น

3. ขับร้อง (Voice)

สอนเริ่มต้น ตั้งแต่การอ่านโน้ต ไล่บันไดเสียง การเปล่งเสียง
ฝึกวิธีการออกเสียงในลักษณะต่างๆเช่น pop classic เพลงมาตรฐานต่างๆ
จนถึงเลือกเรียนแนวเพลงที่ผู้เรียนสนใจ

course ละ 12 ชั่วโมง


***********************************************

- ไวโอลิน

หลักสูตรไวโอลิน

ชั้นเริ่มต้น 17 ชั่วโมง ระยะเวลาประมาณ 4 เดือน
เมื่อจบหลักสูตรจะได้รับการประเมินผลและเกียรติบัตรจาก รศ.ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ


เรียนเดี่ยว
หลักสูตรละ 6,500 บาท
ชั่วโมงละ < 400 บาท
กลุ่ม 2 คน
หลักสูตรละ 8,500 บาท
ชั่วโมงละ 250 บาท/คน
กลุ่ม 3 คน
หลักสูตรละ 10,200 บาท
ชั่วโมงละ 200 บาท/คน
กลุ่มละ 4-6 คน
หลักสูตรละ 13,600 บาท
ชั่วโมงละ 200 บาท/คน

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น วันเวลา ได้ที่
phone: 02-3739-927
phone: 02-7293-365

คีตภาวัน ... ก้าวเดินไป

ทีมงานคีตภาวัน






ลำดับ
ชื่อ นามสกุล
รายละเอียด

1
Mr Liang Jinrong
อดีตทหารอากาศกองดุริยางค์ทหารอากาศ แห่งเมืองคุนหมิง
สอนไวโอลิน ทรัมเป็ต (คลาริแนท กับ แซก ลบออก)

2
นายสรรพสิษฐ์ บูญภูงา (ครูกุ้ง Sweet Keeper)
สอนทฤษฎีดนตรี พื้นฐานการเรียบเรียงเสียงประสานและเบสไฟฟ้า


3
นางสุทธิลักษณ์ ท้วมเริงรมย
สอนรำไทย ศิลปะประดิษฐ์ วาดภาพ


4
นายพัฒนพงษ์ พูนกล้า
สอนกีตาร์classic กีต้าร์ไฟฟ้า (นักกีตาร์ Lead วง Green Apple)

5
นายวีระศักดิ์ ชูวงษ์
สอนกีตาร์บลู ร็อค แจ๊ส

6
นายปิติธรรม ธรรมศรี
สอนคลาริเน็ท แซกโซโฟน

7
นางสาว สิริคนางค์ สุธิราวุส
(นักร้องประสานเสียงวงสวนพลู) สอนขับร้อง เปียโน

8
นายธีรพัฒน์ พัฒนศิษฎวงกูร
สอนขับร้อง เปียโน

9
นาย พรสวัสดิ์ เขียนทอง
สอนกลองชุด

10
ส.อ. เสนาะ เรืองผึ้ง
สอนกลองชุด