วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554



 

สุขเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ ของนักกีตาร์ไทย ระดับนานาชาติ

ชื่อของ "อาจารย์โน้ต" ณัฐวุฒิ รัตนกาญจน์ อาจเป็นแค่ "ใครสักคนที่ไม่รู้จัก" สำหรับคนทั่วไป หากในวงการกีตาร์คลาสสิกทั้งในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อของเขาถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในฐานะนักกีตาร์คลาสสิกฝีมือเยี่ยมที่ เปิดการแสดงมาแล้วกว่า 15 ประเทศ และยังเป็นผู้จัดงานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล กีตาร์ เฟสติวัล ที่จัดขึ้นในบ้านเราติดต่อกันมาแล้วถึง 11 ปี

ณัฐวุฒิ ซึ่งปัจจุบันอายุ 30 ปี บอกว่า ก่อนหน้านี้เขาก็เริ่มต้นเหมือนวัยรุ่นทั่วไป ที่พอเริ่มจับกีตาร์ตอนอายุได้ราว 15-16 ปี ก็สนใจในกีตาร์ไฟฟ้า จากนั้นก็ฟอร์มวงเล่นดนตรีกับเพื่อนๆ กระทั่งปีเศษๆ ให้หลัง ระหว่างไปเดินหาซื้อซีดี และได้ยินเสียงกีตาร์คลาสสิกเป็นครั้งแรก ความคิดก็เปลี่ยนแปลงไป

"ผมเห็นลุงคนหนึ่ง ท่านั่งเล่นกีตาร์เขาแปลกๆ เลยซื้อซีดีเขามาฟัง ฟังแล้วก็ตกใจ เฮ้ย! กีตาร์ตัวเดียวเล่นได้ขนาดนี้เลยเหรอ" ณัฐวุฒิเล่าประกอบท่าทางตื่นเต้นอย่างออกรส

ภาพ ที่เห็นและเสียงที่ได้ยินในครั้งนั้นแหละที่ณัฐวุฒิบอกว่าเป็นจุดเปลี่ยนของ ชีวิต เพราะเขาตัดสินใจทันทีที่ฟังจบว่า อยากเล่นได้อย่างนั้นบ้าง คิดแล้วก็หยุดเล่นกีตาร์ไฟฟ้า และเริ่มต้นใหม่ด้วยการไปเรียนกีตาร์คลาสสิกตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น

เริ่มโดยแม้จะมี "ความฝัน" ซุกซ่อนไว้บ้าง แต่ก็ไม่มั่นใจหรอกว่าจะทำได้สำเร็จ

"เป็นความฝันของเด็กๆ ที่อยากเอากีตาร์ไปเล่นรอบโลก ไม่รู้หรอกว่าจะไปด้วยวิธีไหน แต่ฝันไว้ก่อน" เขาบอกพลางหัวเราะ

จาก นั้นก็เริ่มสานฝันด้วยการพยายามแสดงฝีมือเท่าที่โอกาสจะให้ จากพื้นที่เหนือสุดจรดใต้สุดของประเทศไทย เขาไปหมด ไปแม้กระทั่งแคมป์นักกีตาร์ที่สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งตอนนั้นเองที่เส้นทางเริ่มเปิดให้ได้เดินทางไปแสดงในหลายประเทศ

ฟังดูเหมือนไม่ยาก

แต่ไม่ใช่

เพราะ กว่าจะไปถึงจุดนั้นได้ เขาต้องใช้เวลาซ้อมถึงวันละ 10 ชั่วโมง เนื่องจากรู้ตัวดีว่าเริ่มช้ากว่าคนอื่น และการซ้อมหนักคือหนทางเดียวที่จะไปสู้กับใครๆ ได้

"ถามว่าท้อไหม ก็ไม่นะ เหมือนเราตั้งใจ เราเล่นแล้วเรามีความสุขไง ก็เลยไม่ท้อ"
ไม่ ท้อเหมือนตอนเข้าร่วมการแข่งขันกีตาร์หลายครั้ง แล้วแพ้บ้าง ชนะบ้าง เพราะมองว่าผลลัพธ์คือ "เรื่องธรรมดา" สำคัญที่สุดอยู่ที่ระหว่างทางของการไปสู่เป้าหมายต่างหาก

"การแข่งไม่ใช่สิ่งสุดท้ายในชีวิต เพราะท้ายที่สุดพอเรียนจบแล้วต่างหากคือชีวิตจริง"
เขา เองตอนเรียนจบจากสาขาดนตรีตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ ก็มีสภาพไม่ต่างจากนักกีตาร์คนอื่นๆ ที่ต้องขวนขวายหางานทำ

"แต่ใน เมืองไทยมันยังไม่สามารถเล่นเป็นอาชีพได้นะ อย่างมากก็ได้เล่นตามโรงแรม ร้านอาหาร ซึ่งผมไม่ชอบเลย จึงพยายามหาตลาดของตัวเองที่ต่างประเทศ"

เริ่ม ด้วยการเดินทางไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ประเทศเยอรมนี ด้วยความหวังอย่างเต็มเปี่ยมว่าจะมีงานแสดงให้ทำด้วยในระหว่างนั้น แต่ก็ต้องผิดหวัง ทั้งจากระบบการเรียนการสอนที่เขาคิดว่าตัวเองถูกตีกรอบการเล่นให้เป็นไปตาม ที่คนสอนต้องการมากเกินไป ขณะเดียวกันงานแสดงดนตรีที่คิดว่าจะมี การหาไม่ได้

"ผมไม่แฮปปี้ก็เลยหนีกลับมาเลย" เขาบอกตรงๆ

ถึงกระนั้นใจเขายังสู้เต็ม 100

"คือเราแขวนเป้าของตัวเองไว้ว่าอยากไปตรงนี้ให้ได้ แล้ววันไหนท้อ ก็กลับไปนั่งดูเป้าหมาย แล้วตะกายใหม่"

เขา เองตะเกียกตะกายเอางานของตัวเองไปเสนอหลายครั้ง ได้ผลตอบรับให้ไปเล่นหลายหน ทั้งในรูปของการเป็น 1 ในศิลปินที่ร่วมแสดงในเทศกาลดนตรี หรือการแสดงเดี่ยว

ปัจจุบันณัฐวุฒิเป็นอาจารย์สอนกีตาร์ที่ รับ ทั้งคลาสส่วนตัว, สอนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และกำลังจะไปเป็นอาจารย์พิเศษให้มหาวิทยาลัยดนตรีในประเทศมาเลเซีย
ขณะเดียวกันก็ยังมีคอนเสิร์ตแสดงในต่างประเทศทุกปี

ดูจะเป็นชีวิตที่ประสบความสำเร็จและมีความสุข-ทักไปอย่างนั้น แล้วเขาเองก็ตอบรับ

"แต่จริงๆ แค่ได้เล่นดนตรีผมก็มีความสุขแล้วนะตอนนี้

"เล่นเก่ง ไม่เก่ง ไม่สำคัญ เราเล่นแล้วมีความสุข มันก็จบแล้ว

"นักดนตรีมันก็แค่นี้ละ

"เพราะความหมายของดนตรีจริงๆ คือเล่นให้ตัวเองมีความสุข แล้วความสุขมันก็ถ่ายทอดให้คนฟังได้"



"กับคำว่า "นักกีตาร์คลาสสิกระดับโลก"
"อย่าเรียกเลย" ณัฐวุฒิรีบห้าม

"เรียกทีไรถูกด่าทุกที" เป็นเหตุผลที่มาพร้อมเสียงหัวเราะดังก้อง

"บางคนก็บอกผมซื้อตั๋วไปเล่นเอง ซึ่งเป็นไปไม่ได้หรอกครับ ถ้างานไหนไม่ออกค่าตั๋วให้ ผมก็ไม่ไปนะ"
งั้นตอนนี้อยู่ในระดับไหนล่ะ?

"เรียกว่านานาชาติคงจะดีกว่านะครับ"

ณ ขณะนี้ นานาชาติที่เขาตั้งใจไปเปิดการแสดงคือ 20 ประเทศ ซึ่งคาดว่าจะทำได้ครบในปีหน้า

"หลังจากนั้นเดี๋ยวว่ากันอีกที

"ถ้าโลกไม่แตกซะก่อนนะ" บอกพลางหัวเราะส่งท้ายมาอย่างดัง



หน้า 24,มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่  15 ธันวาคม 2554 

*
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323920441&grpid=no&catid=08&subcatid=0800
Amazing ! Kids playing guitar

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

น้ำตาแสงไต้ บรรเลงขลุ่ย By ThePC 





Uploaded by on Jun 6, 2010

*
แต่งโดยครูสง่า อารัมภีร์ เล่นด้วยคีย์ G ลองเล่นเต็มวงดูครับ กลองใช้ไมค์ Shure SM58s สองตัว เก็บกระเดื่องตัวนึง อีกตัวเก็บด้านบน โดยใช้ตู้คีย์บอร์ดแทนพรีแอมป์ คีย์บอร์ดใช้ WK-1800 ของ Casio เสียง WarmPad กีต้าโปร่ง Landwin ใช้ไมค์หูฟังอัด ขลุ่ยซีเลาเดียวกับเดือนเพ็ญครับ ใช้ไมค์หูฟังเช่นกัน ส่วนเสียงเบสใช้คีย์บอร์ดทำ ไม่ได้ถ่ายไว้ครับ ครั้งนี้บันทึกกำกับวิดีโอด้วย Adobe Audition 1.5 และซ้อนภาพด้วย Sony Vegas เหมือนเดิมครับ เล่นผิดๆ ถูกๆ และจังหวะก็ไม่คงที่ก็ขออภัยด้วยนะครับ ช่วยคอมเม้นท์แนะนำกันด้วยนะครับ
สำหรับใครที่ต้องการโน้ตเชิญที่นี่ครับ
http://www.facebook.com/Tle.Kluithai

/
http://www.youtube.com/watch?v=YC3cTpjJIqk


Trevor Moss & Hannah-Lou feat. George Harrison  " Your Love Is Forever 




Recorded exclusively for MOJO magazine's November 2011
covermount CD Harrison Covered - out on September 27.

"ซิลเวอร์เลค มิวสิค เฟสติวัล" เทศกาลดนตรีของไทย

 





"ซิลเวอร์เลค มิวสิค เฟสติวัล" เทศกาลดนตรีระดับโลกในประเทศไทยที่กำลังจะมีขึ้นในช่วงปลายเดือนมกราคมปี หน้า จะมีศิลปินชื่อดังระดับโลกอย่าง Incubus, Owl city และ Seether มาร่วมแสดงในงาน บ๊อบได้เล่าให้เราฟังถึงงานในครั้งนี้ว่า

"งานนี้ มันเริ่มต้นมาจากพี่แจ๊ค (เจษฎา พัฒนถาบุตร) และพี่สุรชัย (ตั้งใจตรง) ทั้ง 2 คนเป็นคนดนตรีเหมือนกัน แล้วเมื่อ 2-3 ปีก่อนหลังจากทั้ง 2 คนคุยกันว่า ตรงวินด์ยาร์ดที่แกมีสถานที่อยู่เนี่ย แกอยากทำให้เป็นมิวสิกคอมมิวนิตี้ แล้วก็อยากให้มีดนตรีดี ๆ ในไร่องุ่น เราก็เลยได้มีโอกาสไปดูสถานที่กัน ทางเราเองก็พร้อมในส่วนของโปรดักชั่นอยู่แล้ว พี่แจ๊คก็ไปดูกับพี่สุรชัย ผมก็ไปดูด้วย เราก็ไปดูแล้วก็เห็นว่าสถานที่มันสวยมาก

จึงเห็นว่า มันมีโอกาสที่จะได้สร้างมิวสิกเฟสติวัลให้เป็นที่รู้จักได้ เริ่มรวมหัวกัน ต่างคนก็ต่างใช้ประสบการณ์ คอนเน็กชั่นในแต่ละสายของตัวเองที่มีดึงเพื่อน ๆ เราซึ่งเป็นรุ่นใหญ่ในการทำเฟสติวัลเป็น

ไซต์แมเนเจอร์ของทั่วโลกมาช่วยทำ"

โดย บ๊อบได้เล่าถึงความพร้อมของงานในครั้งนี้ว่า "ในส่วนของศิลปินเราคอนเฟิร์มหมดแล้ว เรื่องความพร้อมของศิลปินไม่ต้องห่วงเลย ในส่วนต่อไปก็คือ เรื่องสถานที่ สถานที่ตอนนี้เราปรับไปเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว

หลังจากที่ได้ทำ การโปรโมต "ซิลเวอร์เลค มิวสิค เฟสติวัล" ผ่านสื่อไปแล้ว ดูเหมือนว่าเสียงตอบรับจะดีมากกว่าที่บ๊อบคาดการณ์เอาไว้ ทั้งยอดการขายบัตร และที่สังเกตได้ชัดเจนที่สุดคือ ในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ที่ก่อนหน้าที่จะออกสื่อมีสมาชิกอยู่ราว ๆ 4,000 คน แต่หลังจากที่ออกสื่อไปได้เพียงแค่ 1 วัน ยอดสมาชิกก็พุ่งสูงขึ้นไปเป็นเท่าตัว คือ 9,000 กว่าคนเลยทีเดียว

ในเรื่องนี้บ๊อบได้อธิบายให้ฟังว่า น่าจะเป็นผลมาจากความชัดเจนในวิธีการทำงานของทีม

"เรารู้ว่าคอนเทนต์หลักของเราเป็น

คอน เทนต์หลักของธุรกิจคอนเสิร์ต เราไม่เอาดนตรีมาแล้วมีกิมมิกอย่างอื่น เทศกาลของเราที่เราพูดกันที่เราเสนอมันเป็นแบบนั้น ข้อดีของเราคือ เราไม่มีปัญหาในเรื่องของการจัดศิลปินซ้ำ ๆ กัน

อีกอย่างหนึ่งที่ เทศกาลดนตรีจะมอบให้กับเราทุกคนคือ ความตื่นตัวในธุรกิจดนตรี และวงการดนตรีในบ้านเรา เพราะการเกิดขึ้นของงานในลักษณะนี้จะทำให้เกิดแนวทางดนตรีใหม่ ๆ และยังกระตุ้นให้นักดนตรีทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่าพัฒนาฝีไม้ลายมือของตัวเอง ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง

"มันช่วยให้ความตื่นตัวของธุรกิจดนตรีมีมากขึ้น ให้โอกาสวงดนตรีในการเล่นไลฟ์ วงดนตรีเล็ก ๆ ที่เป็นอินดี้ได้มีโอกาสโชว์ฝีมือในเฟสติวัลใหญ่

ยิ่งเรามีเวทีให้ ได้แสดงออกเยอะ มันก็ยิ่งเป็นการสร้างการเรียนรู้ใหม่ ๆ ให้กับวงการเพลง แล้วกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตนเองขึ้นไปอีกขั้น"






*
"ประชาชาติธุรกิจออนไลน์"
วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554 
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1323578860&grpid=no&catid=no












วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554



ดร.อาบทิพย์ ธีรวงศ์กิจ "อังศุมาลิน" ในโลก "ดิจิทัล"







เพลงไทยเดิมนับวันยิ่งจะหาฟังอยากมากขึ้น เรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่สิ้นไปเสียทีเดียว เพราะยังมีกลุ่มที่อนุรักษ์เพลงเหล่านี้ไว้ ให้มีเสียงแว่วมากระทบหูบางเป็นครั้งคราว

แม้แต่ในสังคมไซเบอร์ของเครือข่ายโลกยุคดิจิทัล ก็ยังมีเพลงไทยเดิมให้สืบค้นมาฟังกันได้พอเสนาะหูอยู่บ้าง

โดยเฉพาะฝีมือตีขิมบรรเลงเพลงไทยเดิมของ "อาจารย์อ้อม" ที่ไพเราะจับใจ ทั้งท่วงทำนองและจังหวะความนุ่มนวล แม้จะผ่านการอัพโหลดขึ้นไว้บนอินเทอร์เน็ตแล้วก็ตาม เสียงที่ออกมาฟังใสแจ๋วชวนเคลิบเคลิ้ม อยากจะลุกขึ้นมาขยับแขนขาโยกไปตามทำนอง

เพลงที่อาจารย์อ้อมเลือก บรรเลงนั้นไม่ได้มีแค่เพลงไทยเดิม แต่ยังมีเพลงไทยสากลที่บรรเลงโดยขิม เครื่องดนตรีตัวเดียวที่สะกดผู้ชมผู้ฟังให้ตะลึงค้างอยู่หน้าจอ และคลิกเลือกฟังเพลงอื่นซึ่งขณะนี้มีอัพโหลดไว้บนอินเทอร์เน็ตเกือบ 200 เพลงแล้ว

ใครจะคิดว่าหญิงสาวผิวขาวร่างเล็กคำนวณอายุจากภาพที่เห็น ไม่น่าจะเกินเลข 3 ที่คนในโลกไซเบอร์เรียกว่า "อาจารย์อ้อม" ผู้สร้างเสียงดนตรีไทยประดับบนยูทูบให้ชาวไทยและชาว

ต่างชาติได้ชื่นชมด้วย มียอดคลิกชมนับหมื่นคน

มีดีกรีเป็นถึงอาจารย์จบปริญญาเอกจากประเทศสหรัฐอเมริกา แถมยังเป็นสาขาชื่อดัง จบในคณะที่ไม่ธรรมดาเสียด้วย

"ดร.อาบทิพย์ ธีรวงศ์กิจ" หรืออาจารย์อ้อม อายุ 32 ปี เป็นอาจารย์ประจำสอนนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) หรือที่รู้จักในชื่อ "บางมด" เป็นนักเรียนทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โท เอก สาขาวิชา Mechanical Engineering ที่มหาวิทยาลัยคาร์นีกี้ เมลลอน (Carnegie Mellon University : CMU) ที่รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

อาจารย์อ้อมใช้เวลาเรียนที่ สหรัฐ อเมริกาถึง 10 ปี และยังได้รับเหรียญทองตอนปริญญาตรี กระทั่งเรียนจบด็อกเตอร์และกลับมาเมืองไทยได้ 4 ปีแล้ว มาเป็นอาจารย์สอนในภาควิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์

ดังนั้น การใช้ชีวิตตัวคนเดียวที่เมืองนอกเป็นเวลานาน อาจารย์อ้อมจึงต้องหาอะไรทำเพื่อให้คลายความคิดถึงบ้าน เธอจึงเริ่มมองหาสิ่งที่ถนัดและชอบเป็นพิเศษนับตั้งแต่แม่พาไปเข้าคอร์สปรบ มือเข้าจังหวะตั้งแต่ 7 ขวบ ก่อนจะพาเธอไปทำความรู้จักกับเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งคือ ขิม ซึ่งมันได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเธอไปแล้ว

"ขิม" จึงเป็นทั้งเพื่อนและเครื่องดนตรีที่คลายความเหงา อีกทั้งสร้างความบันเทิงให้กับเธอในเวลาที่ต้องอยู่คนเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอรักและถนัดที่สุด

หากใคร ได้ลองฟังเสียงเพลงที่อาจารย์มหาวิทยาลัยบางมด ผู้นี้บรรเลงกับหู รับรองจะต้องหลงใหลในท้วงทำนองของเสียงขิมแบบไม่มีสะดุด เสมือนกับว่าขิมและผู้ตีกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน

เสียงขิม ที่ตีโดยอาจารย์อ้อมไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในยูทูบเท่านั้น ก่อนหน้านี้อาจารย์อ้อมได้นำเครื่องดนตรีไทยไปเผยแพร่ถึงสหรัฐอเมริกา โดยใช้ความสามารถที่ตัวเองมีอยู่นำขิมไปตีให้ฝรั่งฟังในงานเผยแพร่วัฒนธรรม ที่นักเรียนไทย จับกลุ่มกันทำกิจกรรมขายอาหารไทยเอาเงินเข้าสมาคม มีการจัดการแสดงขายตั๋วให้ฝรั่งเข้ามาดู คนอเมริกันจะไม่มีเครื่องดนตรีแบบนี้ ส่วนคนจีนคนยุโรปอาจจะพอคุ้นเคยอยู่บ้าง

ส่วนความพิเศษที่บรรดาแฟนคลับชื่นชอบไม่ได้มีแต่เสียงเพลงไทยเดิมเท่านั้น

อาจารย์ อ้อมได้นำเครื่องดนตรีขิมมาปรับโน้ตแต่งทำนองให้เข้ากับเพลงพ็อปเบา ๆ โดยเฉพาะเพลงที่กำลังฮิต จนหลายคนติดอกติดใจอยากจะตีขิมบ้าง ขอสมัครเป็นลูกศิษย์ แต่อาจารย์ผู้นี้ขอสอนแค่วิชาวิศวกรรมที่ได้ร่ำเรียนมา
ส่วน ครูสอนดนตรีขอเว้นไว้ก่อน เนื่องจากเกรงใจอาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชามาให้ หากจะสอนจริงจังคงต้องไปขออนุญาตให้เรียบร้อยเสียก่อน แต่ก็ใจดียอมจัดเวิร์กช็อปเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ผู้ที่สนใจแต่ยังไม่ยอมเปิดรับลูกศิษย์คนใดเด็ดขาด

อาจารย์อ้อม เล่าถึงแฟนคลับตัวน้อย ๆ ที่ได้ฟังเพลงผ่านยูทูบแล้วติดต่อมาจนรู้ว่าอยู่หมู่บ้านเดียวกัน เด็กคนนั้นรีบปั่นจักรยานมาหาถึงหน้าบ้านและบอกว่าอยากพบตัวจริง มายืนกดกริ่งอยู่หน้าบ้านตั้งแต่เช้าตรู่ เธอก็ได้ให้คำแนะนำไปตามสมควรที่เด็กจะรับได้

แต่ยืนยัน "ไม่รับสอนค่ะ"

ดัง นั้น จะเห็นว่ามีบรรดาแฟนคลับร้องขอให้อาจารย์อ้อมเปิดคอร์สสอนดนตรี แต่ก็ไม่เคยสำเร็จเสียที เพราะสิ่งที่นักดนตรีผู้นี้มีนอกจากพรสวรรค์แล้ว เธอยังมีความสามารถชนิดที่ว่าลอกเลียนแบบได้ยาก แค่ฟังเสียงเพลงเธอก็รู้แล้วว่าต้องใช้โน้ตตัวไหน



การนำตัวโน้ตในเพลงสากลไปดัดแปลงในเครื่องดนตรีไทย ต้องเพิ่มเสียงแฟลตกับเสียงชาร์ปเข้าไปด้วย จะค่อนข้างยากเพราะต้องแปลงเครื่องดนตรีด้วย

แม้จะเห็นว่าอาจารย์อ้อมบรรเลง ดูง่าย ๆ แบบไม่ต้องมองยังตีไม่ตกร่อง ก็เพราะความสามารถล้วน ๆ

"ความ แตกต่างระหว่างเพลงไทยเดิมกับเพลงสมัยใหม่ เสียงดนตรีจะไม่เหมือนกันทีเดียว เพราะดนตรีไทยมีแต่เสียงโด เร มี ฟา ซอล ลา ที ไม่มีเสียงชาร์ปเสียงแฟลต และการแบ่งช่วงตัวโน้ตก็ไม่เหมือนกัน

ฉะนั้น การเอาเครื่องดนตรีไทยมาเล่นเพลงสากล ต้องทำเครื่องดนตรีของเราให้เป็นเสียงเดียวกับดนตรีสากลให้ได้

วิธี การก็ยากนิดหนึ่ง ต้องมีขิมที่จะต้องจูนให้เข้ากับระบบเสียงให้ได้ ถ้าเล่นเพลงไทยเดิมจะเล่นขิมตัวเล็กที่จะมีอยู่ 7 หย่อง แต่ถ้าจะเล่นเพลงสากลก็จะใช้ตัวใหญ่ จะสามารถปรับให้เข้ากับเพลงสากลได้ จะมีหย่องเพิ่มขึ้น และมีสายเพิ่มมากขึ้น

ขิมที่ใช้เล่นกับเครื่อง ดนตรีสากลก็มีบ้างแล้วชื่อ ขิมโครมาติค เป็นเครื่องดนตรีขิมเฉพาะที่คนเริ่มคิดค้นขึ้นมา จะมีทั้งชาร์ปทั้งแฟลตในตัวเดียว แต่ของอ้อมมาปรับจูนเอง แต่ถ้าเล่นขิมโครมาติคระยะห่างของหย่องก็ต่างกัน อาจจะตีโน้ตผิดได้" ด็อกเตอร์สาวกล่าว

ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้เสียงเพลงจากขิมของอาจารย์ อ้อม มีเสียงโน้ตครบทุกตัวทำให้การบรรเลงไหลลื่นน่าฟัง และการนำเสียงขิมมาผสมผสานกับเสียงขลุ่ย เสียงเปียโนได้อย่างลงตัว ล้วนเป็นคนที่ติดต่อเข้ามาเอง อยากจะขอมาร่วมกันบรรเลงเพลง จนมีคนเข้าไปสอบถามเป็นจำนวนมากทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ

"เล่นยังไง เรียกว่าอะไร คนชอบเล่นดนตรีมีเยอะ แต่เราเองไม่มีพื้นที่ให้เขา"

แม้อาจารย์อ้อมจะยังไม่รับสอน แต่ก็ยังช่วยถ่ายทอดเทคนิคการจับไม้ วิธีการนั่ง การสะบัดมือช้า ๆ แล้วเร่งเร็วขึ้นต้องทำอย่างไร

มี คนยกให้อาจารย์สอนวิศวกรรมหุ่นยนต์ท่านนี้เป็นไอดอล ผู้สร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาสนใจในดนตรีไทย ผลักดันให้พวกเขาอยากเล่นขิมเป็นบ้าง

ฉะนั้น "อย่ามัวแต่คิดให้ลงมือทำเลย ถ้ามีไอเดียอะไรก็ลงมือทำ อย่ามัวแต่คิดไปว่าจะทำดีหรือไม่ทำดี เพราะจะเสียโอกาสไป"
ทั้ง นี้และทั้งนั้นกว่าที่อาจารย์สาวผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์จะเรียนจนจบปริญญา เอกและตีขิมได้ขั้นเทพขนาดนี้ เพราะความขยันหมั่นเพียรในการฝึกฝน ฝึกซ้อม และมีใจรัก จึงทำให้เธอประสบความสำเร็จในทุกเรื่อง

ใคร ที่ยังไม่ได้เป็นแฟนคลับของเธอคนนี้ ต้องรีบเข้าไป "กดไลก์" ในเพจเฟซบุ๊กกันได้แล้ว นอกจากจะมีเพลงฟังเกือบทุกวัน ยังได้ร่วมทำกิจกรรมดี ๆ ช่วยสังคมที่อาจารย์สาวท่านนี้ลงทุนลงแรง เช่นเดียวกับอุทกภัยที่ผ่านมา




*
สุชาฎา ประพันธ์วงศ์ : เรื่อง

"ประชาชาติธุรกิจออนไลน์" 30 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2554

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1322648266&grpid=09&catid=no

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

"นักดนตรีก็เหมือนพ่อครัวปรุงอาหาร" สถาปนิก "ต้อม Jazz Seen" กับ ดนตรีที่มิใช่แค่ความบันเทิง


"ผมอยากจะเปิดเพลงให้คุณฟังเพลงนึง"...



"Träumerei" by Robert Schumann, played by Vladimir Horowitz

เมื่อสิ้นเสียงเพลง "ทรอยเมอไรย์" (Träumerei) หรือ "ความฝัน" ชื่อเพลงในภาษาเยอรมันของโรเบิร์ต ชูมันน์  พรหมมินท์ สุนทระศานติก หรือ "ต้อม Jazz Seen" ก็เริ่มเล่าให้เราฟังว่า

"ก่อนหน้าที่จะมีคอนเสิร์ตนี้ที่กรุงมอสโคว์ มีคนไปเข้าแถวรอซื้อบัตรคอนเสิร์ตยาวเหยียดเลย แล้วก็มีคนไปสัมภาษณ์แม่ค้าขายผลไม้คนหนึ่งที่ยืนต่อแถวอยู่ แม่ค้าคนนี้เก็บเงินเป็นเดือนๆเพื่อจะมาซื้อบัตรดูตาแก่คนนี้เล่น ในวิดีโอเราจะเห็นทั้งเด็กเล็กๆ คนสูงอายุ  คนมีฐานะ คนจน เห็นผู้คนหลากหลายมากที่เข้าไปซึมซับสุนทรียภาพของดนตรี แล้วบางคนนี่น้ำตาไหลพรากเลย นี่เป็นคุณภาพของคนที่น่าอิจฉามาก ถ้าดนตรีมีอิทธิพลที่ทำให้คนรู้สึกได้ขนาดนี้ แสดงว่าดนตรีมีพลังอะไรบางอย่างซึ่งส่งผ่านมาให้คนรับรู้ได้"


"คุณลองดูภาพนี้สิครับ...


ภาพ "WHEATSTACKS END OF SUMMER"  โดยศิลปิน CLAUDE MONET (ค.ศ. 1890)


"ในภาพๆนี้ ศิลปินพยายามจะเขียนแสงสุดท้ายของวัน แสงที่มันปรากฏอยู่บนผิวดิน บนกองฟาง บนท้องฟ้า เราไม่ต้องไปใช้ความคิดอะไรเลย เราใช้แค่ความรู้สึก ศิลปินจับความรู้สึกเหล่านี้ได้  เขาเขียนสิ่งที่มัน beyond words (เกินกว่าที่จะบรรยายเป็นถ้อยคำ) มันเป็นสภาวะอะไรบางอย่างที่เขาพยายามจะสื่อออกมาให้เรารู้ เพราะมันเป็นสิ่งที่เขาเองก็ไม่อาจอธิบายด้วยคำพูดได้"

"ผมว่าทุกคนก็เคยมีสภาวะอย่างนี้ ทั้งนั้น อย่างเวลาเราขึ้นไปบนภูกระดึงเพื่อจะดูพระอาทิตย์ขึ้น พอเราไปถึงหน้าผา เห็นแสงเปลี่ยน เราจะรู้สึกว่ามันสวยมาก เรามีความสุขมาก และเราอยากจะอธิบายอะไรบางอย่าง เราโทรบอกเพื่อนเพื่อบอกว่ามันสวยมากเลย เพื่อนก็ไม่เข้าใจแล้วถามว่ามันสวยยังไงหรอ คือมันสวยเกินกว่าที่เราจะใช้คำพูดอธิบายได้ สภาวะแบบนี้ คนที่เป็นจิตรกรก็จะหยิบผ้าใบขึ้นมาแล้วเขียนอารมณ์นั้นลงไป คนที่เป็นกวีก็เหมือนกัน เขาจะใช้คำแค่ไม่กี่คำถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ลงไป"


พรหมมินท์ สุนทระศานติก สถาปนิกอิสระและอดีตบรรณาธิการนิตยสาร Jazz Seen เจ้าของคอมลัมน์ Jazz for Art′s Sake กำลังพูดถึงความรักในดนตรี ศิลปะ และสถาปัตยกรรมของเขาให้แก่คนที่มาฟังงานเสวนา "สนทนา ภาษา ดนตรี" เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา  เขาเล่าถึง "ความอัศจรรย์ของดนตรี แม้ไม่รู้จักตัวโน้ต", แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ของดนตรีและภาพวาด และมิวายเชื่อมโยงศาสตร์แห่งเสียงเพลงเข้ากับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาเคี่ยวกรำกับมันมากว่า 20 ปี

"ในทางสถาปัตย์ฯ เรามีการแบ่งแยกระหว่าง สิ่งก่อสร้าง (building) กับสถาปัตยกรรม (architecture)  เมื่อเราพูดถึงการใช้งาน พูดถึงเรื่องของโซนนิ่ง มันคือสิ่งก่อสร้าง ไม่ใช่สถาปัตยกรรม แต่ถ้าเราเข้าไปใช้มันแล้วเห็นว่า โอ้โห แสงที่ผ่านเข้ามามันสวยมาก เวลาเราเดินผ่านไปทำให้เราได้กลิ่นไม้ ได้กลิ่นดิน เราเห็นแสงที่กระทบกับผิวน้ำ นี่คือคุณสมบัติของสถาปัตยกรรม ซึ่งมันอยู่นอกเหนือไปจากฟังก์ชั่นการใช้งาน  ในทางภาพยนตร์หรือวรรณกรรมก็จะมีทั้งประเภทที่มันรับใช้แต่ฟังก์ชั่นอย่าง เดียว กับหนังหรือวรรณกรรมที่เป็นศิลปะจริงๆ"


นครินทร์ ธีระภินันท์ (กอล์ฟ ทีโบน), พรหมมินท์ สุนทระศานติก

พรหมมินท์บอกว่า ศิลปะทุกแขนงสามารถสื่อสารกับคนได้ เกณฑ์ในการประเมินคุณค่าทางศิลปะล้วนแต่เหมือนกัน  ทั้งดนตรี สถาปัตยกรรม วรรณกรรม หรือภาพยนตร์ ทั้งหมดนี้ล้วนมีรูปแบบ (form) และมีองค์ประกอบ (composition) ด้วยกันทั้งนั้น

"เวลาเราดูบอลบราซิล แล้วไปดูบอลอังกฤษ เราจะรู้ว่ามันคนละเรื่องกันเลย บอลอังกฤษมีแบบแผน มีฟอร์ม พอไปดูบอลเยอรมันก็จะเห็นว่าแข็งกระโด๊กเลย ฟอร์มของฟุตบอลต่างกันแม้ว่าจะเกิดจากการที่คนวิ่งไปวิ่งมาเหมือนกัน เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรม เวลาที่เรามองสถาปัตยกรรมของบราซิล มันมีสีสันจัดจ้านมาก ในขณะที่สถาปัตยกรรมแบบอังกฤษนั้นมีแบบแผนตายตัว ส่วนสถาปัตยกรรมเยอรมันก็จะแข็งมากๆ เพราะฉะนั้นสถาปัตยกรรม ดนตรี ฟุตบอล เหล่านี้มันสะท้อนถึงกันหมด ศิลปะทุกแขนงมันเหมือนกันหมด เพราะมันถูกสร้างมาจากคนในชาตินั้นๆ"

วกกลับมาที่เรื่องดนตรี

นอกจากจะพูดคุยถึงความงาม ของดนตรี ทั้งการทิ้งสเปซของเสียง ทั้งเรื่องของ "บุคลิกภาพในโทนเสียง" แล้ว พรหมมินท์ยังย้ำนักย้ำหนาว่า ดนตรีมิได้เป็นแค่ความบันเทิงเท่านั้น แต่ในดนตรียังมี "เนื้อหา" ด้วย


"เราเปิดวิทยุทั้งวัน แต่เราจะไม่ได้ยินดนตรีที่มันมี "ประเด็น" เลย  เนื้อหาของดนตรีเปลี่ยนไป ตอนนี้ดนตรีเป็นแค่ความบันเทิง เราเคยฟังเพลงแบบ บ๊อบ ดีแลนที่สามารถจะปลุกคนเป็นล้านๆคนออกมาบนท้องถนนได้ มันมีพลังมากขนาดนั้น แต่ปัจจุบันมันไม่มีแล้ว มันเป็นดนตรีที่แฝงไปด้วยโฆษณาชวนเชื่อ  ซึ่งมันทำให้เราลืมไปว่า มันมีดนตรีที่เป็นศิลปะจริงๆ"

"นักดนตรีก็เหมือนกับพ่อครัวที่ปรุงอาหาร พ่อครัวไม่มีสูตร แต่ใช้ความรู้สึกในการปรุงอาหาร นักดนตรีก็จะมีเซนส์อย่างนี้เหมือนกัน นักดนตรีที่กางโน้ตเล่นก็ไม่ต่างกับพ่อครัวที่กางตำราปรุงอาหาร มันจะไม่ได้รสชาติเลยหากนักดนตรีไม่ข้ามจากเรื่องของเทคนิคไปสู่ สุนทรียศาสตร์ เราในฐานะคนฟังไม่จำเป็นต้องไปเข้าใจเรื่องเทคนิค เราเข้าใจสุนทรียภาพของมันก็พอ มีคนมากมายที่ไม่รู้เรื่องดนตรี แต่พวกเขารับรู้ได้"



นอกจากความรื่นรมย์ของเสียงเพลง "Down Here Below" (โดย Abbey Lincoln) ,"Flaminco sketches" ของ Miles Davis และ "In a Landscape" (โดย John Cage) [คลิกเพื่อฟังเพลง] ฯลฯ แล้ว ในเย็นวันนั้น พรหมมินท์ยังได้ทิ้งท้ายกับผู้มาร่วมเสวนาของเขาว่า

"ถ้าเราไม่สามารถที่จะมีจิตใจที่ละเอียดอ่อนได้ เราก็จะไม่อาจรับรู้เรื่องพวกนี้ การฟังดนตรีต้องอาศัยความรู้สึก ไม่ใช่ความคิด"

เหมือนกับที่เขาเองก็เคยพูดเอาไว้ก่อนหน้านี้...

"ผมเล่นดนตรีไม่เป็น แต่ผมเข้าใจ"

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Vocal coach


Roles

A vocal coach is sometimes responsible for writing and producing vocal arrangements for four-part harmony for backup vocalists or helping to develop counter melodies for a secondary vocalist. Some vocal coaches may also advise singers or bands on lyric-writing for a music production. Some critics allege that in some cases where popular music recordings credit a singer for work as a vocal coach during a recording, this may be a subtle way of acknowledging a ghostwriting role in which the coach pens lyrics for a singer-songwriter or rapper.

In the 2000s, the increasing use of recording software which contains vocal processing algorithms, and digital pitch correction devices is replacing some of the roles of the vocal coach. In the 1970s, if a producer wanted to record a single with a sports star with few vocal skills, the celebrity would need weeks of vocal coaching to learn their song and improve their tone and diction. In the 2000s, the vocals are often processed through time and pitch correction software instead in order to make their singing sound closer to the that of a trained vocalist.

Training and experience

The training and education of vocal coaches varies widely. Some vocal coaches have extensive formal training, such as a Bachelor of Music, a Master of Music, a Conservatory diploma, or degrees in related areas such as foreign languages or diplomas in human kinetics, posture techniques, or breathing methods. On the other hand, some vocal coaches may have little formal training, and so they rely on their extensive experience as a performer. While vocal coaches without formal training are mainly found in the popular music styles, they also exist in the Classical milieu. For example, a native German language speaker who moves to the US may begin providing German diction coaching to amateur vocal students, and over several decades, this vocal coach may develop a broad range of on-the-job experience in coaching German-language singing styles such as lieder and Wagnerian opera.

Vocal coaches may also come to their profession through other routes, such as related musical professions or from other fields. Some vocal coaches, for example, are rehearsal pianists with decades of experience accompanying singers, or former or current choral, music theater, or symphony conductors. More rarely, vocal coaches may come to the profession from a non-musical route. For example, a specialist in Alexander Technique, yoga, or medical aspects of the throat and vocal cords may begin to specialize in coaching and training singers.

The vocal coaching field is competitive, especially at the highest professional levels. Salaries vary greatly, as do the conditions of work. While a small number of top vocal coaches can command very high hourly or daily rates, most vocal coaches, like most other music and arts professionals, tend to have salaries which are below the average for other professions which require a similar amount of education and experience, such as economists or bank managers. The work conditions vary widely, from part-time or occasional freelance work for individual singers, opera companies, or record companies, to full-time contracts or multi-year jobs for universities (coaching vocal performance students and students in opera courses) or music theater companies.

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์ จับมือ แอนโทนี่ การ์เซีย ทัวร์คอนเสิร์ตกีตาร์ 15 ส.ค. - 3 ก.ย




เอ เอ็ม ไอ อีเวนส์ ร่วมกับสถานทูตออสเตรเลีย กรุงเทพฯ ภูมิใจเสนอทัวร์คอนเสิร์ต “HUCKY Eichelmann and ANTHONY Garcia Thailand Tour 2011” ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม ถึง 3 กันยายน 2554 ในกรุงเทพฯและจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ

ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์และแอนโทนี่ การ์เซีย สองนักกีตาร์คลาสสิคชื่อดังจะแสดงคอนเสิร์ตและเวิร์คชอพร่วมกัน ทั้งคู่ต่างเป็นศิลปินระดับโลกและครูสอนกีตาร์ผู้มากด้วยฝีมือด้านการแสดง ดนตรีและประสบการณ์ในวงการดนตรีศึกษา การจัดทัวร์ครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้รับอรรถรสการแสดงสดของนักดนตรีที่ เต็มเปี่ยมด้วยความสามารถ

คอนเสิร์ตจะผสมผสานการเล่นกีตาร์ทั้งแบบ โซโล่เดี่ยวและแบบคู่ดูโอ โดยบทเพลงที่คัดเลือกมาแสดงมีทั้งเพลงคลาสสิค เพลงพื้นบ้าน เพลงเวิลด์ มิวสิค บทเพลงจากประเทศไทย ออสเตรเลีย และอีกหลากหลายประเทศ นอกจากนี้ยังมีการ อัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อเป็นการเฉลิม พระเกียรติ 84 พรรษา

การบรรยายในเวิร์คชอพ ครอบคลุมหัวข้อที่เป็นประโยชน์อย่างมาก อาทิ การเล่นกีตาร์และเทคนิคการแต่งเพลงสำหรับกีตาร์ นักศึกษาจะมีโอกาสได้ฝึกและแสดงฝีมือของตนเองด้วยเช่นกัน

การจัดแสดง ทัวร์คอนเสิร์ตในครั้งนี้เป็นการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมผ่านกิจกรรม ทางดนตรี สร้างโอกาสให้ ผู้ชมในประเทศไทยค้นพบแนวทางใหม่ๆ ในการเข้าถึงและเข้าใจดนตรีมากยิ่งขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก สถาบันออสเตรเลีย-ไทย, บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน), บริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด และได้รับความร่วมมือจาก บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เครือเซ็นทรัล และสายการบินแควนตัสแอร์เวย์ และ
โรงแรมอมารี เอเทรียม

รายละเอียดเพิ่มเติม www.amithailand.com
ติดต่อ AMI Events โทรศัพท์ 02 662 1836

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ETC เทคนิควอร์มเสียง



rhythm and lyric by ukulele



สิงโต นำโชค- ดีดอูคูเลเล่ ร้องเพลง-ปลาการ์ตูน 



วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

"จาร์วิส ค็อคเกอร์" เตรียมออกหนังสือรวม "คำร้องคัดสรรค์"


"คำร้อง" ของบทเพลงที่ถูกเขียนขึ้นโดย "จาร์วิส ค็อคเกอร์" นักร้องนำและหัวเรือหลักของวง "พัลพ์" หนึ่งในตำนาน "บริท ป๊อป" แห่งเกาะอังกฤษ กำลังจะถูกตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊ค

หนังสือของเขาซึ่งมีชื่อว่า "มาเธอร์, บราเธอร์, เลิฟเวอร์: ซีเล็คเท็ด ไลริคส์" (มารดา, ภราดา, คนรัก : รวมคำร้องคัดสรรค์) จะถูกตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เฟเบอร์ และออกวางจำหน่ายในเดือนตุลาคมนี้

ค็อคเกอร์เริ่มเขียนเพลงมาตั้งแต่อายุ 15 ปี โดยเขาระบุว่า ตนเองต้องใช้ความพยายามอย่างหนักหนาสาหัสมากกับการเขียนคำร้องให้แก่บทเพลง ชิ้นแรกๆ ในชีวิต

"ผมสามารถก้าวข้ามอุปสรรคอันยากลำบาก ดังกล่าวได้เมื่อผมหยุดคิด ผมเคยพยายามจะเขียนเพลงที่มีเนื้อหาลึกซึ้ง แต่หลังจากนั้น ผมก็เริ่มหันไปเขียนเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งปกติทั่วไปซึ่งดำรงอยู่ใน ชีวิตประจำวันของเรา" นักร้องนำวงพัลพ์อธิบายพร้อมกล่าวสำทับอีกครั้งว่า คำร้องส่วนใหญ่ที่เขาแต่งขึ้นมักจะมีเนื้อหาว่าด้วย "เรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ ตามสัญชาตญาณ" ที่เกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิตประจำวันของผู้คน

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Violin Workshop โดย รศ.ดร.โกวิทย์


ขอเชิญนักไวโอลิน นักเรียนไวโอลิน ครูไวโอลิน และผู้ชื่นชอบการบรรเลงไวโอลินและการดนตรีทุกท่าน ชม Violin Workshop โดย รศ.ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ บรมครูทางด้านการบรรรเลงดนตรีและดนตรีสากล อีกทั้งแนวดนตรีที่ท่านประยุกต์ขึ้นมาใหม่เพื่อการบรรเลงไวโอลินที่หลากหลาย ในวันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2554 เวลา 14.00 น. ที่โรงเรียนหฤษฎฺ์การดนตรี ในศูนย์การค้าโลตัสลาดพร้าว (ตรงข้ามโรงเรียนหอวัง)

งานนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ยกเว้นผู้ต้องการชุดเอกสารประกอบการอบรมพร้อม CD ต้องจ่ายเพิ่มเพียง 300 บาท พร้อมรับสิทธิในการรับนิตยสาร Improvize เป็นจำนวน 6 เดือนและสิทธิพิเศษอื่น ๆ ของรายค้าที่ร่วมรายการ 








Ewan Dobson - Time 2

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Moshe Safdie: Kauffman Center for the performing arts complete







'the kauffman center for the performing arts' by moshe safdie, kansas city, missouri
images © tim hursley



construction is now complete for kansas city's kauffman center for performing arts by international firm moshe safdie and associates.
set to open to the public on september 16, 2011, the facility will become home to ballet, contemporary dance, various genres of music,
broadway productions and the like. the iconic building contains cutting edge technology providing artists a premier space to present their work.



northeast facade


a sweeping curtain wall along the southwest facade allows abundant natural light to enter a large atrium space, the
brandmeyer great hall. the buildings dominant shell forms contain two large auditoriums, the muriel kauffman theatre and helzberg hall.
architectural details provide advanced acoustic elements for high quality performances and ample seating for spectators.



southwest facade


the glazed lobby
encourages social gathering in the spaces located between the two auditoriums while offering sweeping
views of the city. multiple balconies
overlooking the atrium connect to the various mezzanine levels within the theaters.
this arrangement allows patrons to easily leave their seat in the audience to enjoy the view during intermissions.



facade detail


designboom has been following this project since its inception highlighting early design phases and construction.



brandmeyer great hall



muriel kauffman theatre interior



helzberg hall interior




section through muriel kauffman theatre
image courtesy of safdie associates




section through helzberg hall
image courtesy of safdie associates


project details:

architect: moshe safdie / safdie architects
total square footage: 285,000 square feet

principal spaces:
muriel kauffman theatre: 18,900-square-foot house
helzberg hall: 16,800-square-foot house
brandmeyer great hall: 15,000 square feet
performing arts center terrace: 113,000 square feet
offices for the kauffman center staff: 7,000 square feet
1,000-car garage, owned and operated by the city of kansas city, mo
shared backstage facilities: dressing accommodations for over 250 performers, 11 rehearsal and warm-up rooms,
meet-and-greet lounge

materials:
40,000 square feet of glass
10.8 million pounds of structural steel
25,000 cubic yards of concrete
1.93 million pounds of plaster
27 steel cables, each holding up to 500,000 pounds of force

design team:
associate architect: bnim architects
acoustics: nagata acoustics
theatre design: theatre projects consultants
structural engineer: arup usa, inc.
local structural engineer: structural engineering associates, inc.
mep/fire protection engineers: arup usa, inc.
local mep engineers: wl cassell & associates, inc.
project manager: land capital corporation
general contractor: j.e. dunn construction
civil engineer: taliaferro and browne, inc.
security: m-e engineers, inc.
landscape architect: reed hilderbrand associates, inc.
sound: engineering harmonics, inc.
lighting: lam partners, inc.

muriel kauffman theatre

square footage: 18,900-square-foot house
seating capacity: 1,800 seats
stage: 5,000-square-foot stage; width of stage opening may be adjusted from 40’-50’
orchestra pit: up to 1,300 square feet; accommodates as many as 96 musicians
features & systems: 73’9” fly tower accommodates scenery up to 2,000 lbs. and 30’ tall. fully walk-able rigging
grid is accessible by stairs, ladders, and elevator. retractable acoustic banner system allows for acoustical adjustments
accommodating both small and large-scale productions. stage curtain contains motorized counterweight lineset;
center and intermediate splits allow for motorized split travel or guillotine opening

helzberg hall

square footage: 16,800-square-foot house
seating capacity: 1,600 seats
stage: 2,700 square feet, including six lifts which form an adjustable riser system
pipe organ: 79 stops, 102 ranks, 5,548 pipes; custom-designed mechanical action organ in the french romantic tradition,
built by quebec firm casavant frères
features & systems: fixed acoustical canopy above the stage. retractable banner system included in side walls and above
fixed canopy. six 1,000-pound point hoist systems to hang custom curved trusses. five skylights allow natural daylight to
filter into hall.

Get a Grip on Synthesis

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ฝันให้ไกลไปให้ถึง เช่น 'ดอกเบี้ยบานแบนด์'

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ดนตรีตามใจฉัน New Frontier โรงเรียนของคนยังมีไฟ

 
อยู่ในวงการเพลงมายาวนาน ใช้ความรู้ประสบการณ์เรียบเรียงเพลงจนติดหูก็ไม่น้อย นอกจากนี้ตอนนี้ยังรับหน้าที่ยังรับหน้าที่เป็นครูสอนเปียโนให้กับทางสถาบัน ดนตรี New Frontier Music Academy เพื่อสอนเปียโนให้กับกุล่มคนที่สนใจอยากเล่นดนตรีให้เป็น เพียงแค่ใจอยากเรียน อยากเล่น มาพร้อมกับเพลง 1 เพลงก็เรียนได้แล้ว


"การเล่นดนตรี ส่วนใหญ่ที่เห็นกันก็จะเป็นพวกเด็กๆ ที่มาเรียน แต่ที่นี่เราสอนผู้ใหญ่ด้วย จะมีหลักสูตรเฉพาะที่ทำขึ้นคือหลักสูตร Your Song เป็นการเรียนดนตรีรูปแบบใหม่ เอาเพลงที่คนอยากเรียนมาสอนให้เขาเล่น จะได้มีแรงจูงใจอยากจะเรียนมากขึ้น หลักสูตรนี้จึงไม่ได้เน้นการเล่นดนตรีให้เป็นมืออาชีพ แต่เพื่อสนองความต้องการที่อยากจะเล่น เพราะเขาอาจจะอยากเล่นเพลงที่ชอบได้อย่างเดียว หรือเอาไปโชว์เพื่อนๆ ก็จะรู้สึกอิ่มใจแล้ว"

น้องเบล ลูกศิษย์คนเก่ง ซึ่งกำลังเรียนเล่นเพลงเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ที่นำมาให้ครูช่วยสอน

การ สอนดนตรีในรูปแบบใหม่นี้ เน้นการสอนผู้ใหญ่เป็นหลัก และการได้มาสอน Your song ทำให้รู้ว่าจริงๆ แล้ว มีคนหลากหลายอาชีพมากที่อยากเล่นดนตรีเป็น ไม่ใช่แค่เด็กเล็กๆ ที่พ่อแม่พามาเรียนอย่างเดียว


"การเรียนในแบบ Your song ไม่เน้นความรวดเร็วครับ ระยะเวลาจะอยู่ที่ 3-6 เดือนก็เล่นได้แล้วเป็นคอร์สที่จะพัฒนาไปเรียนในแบบอื่น เพราะเราจะเริ่มจากสิ่งที่เขาเลือกมา ถ้ามาแบบไม่รู้โน้ตเลยก็สอนตั้งแต่ต้นครับ ซึ่งส่วนใหญ่คอร์สนี้จะเป็นวัยรุ่น และผู้ใหญ่ เพราะวัยนี้ค่อนข้างจะมีความคาดหวังสูง ว่าอยากจะเล่นให้เป็น ไม่เหมือนเด็กๆ ที่บอกให้ทำอะไรก็ทำ คนที่มาเรียนเลยตั้งใจกันมาก อยากเล่นเพลงที่ชอบให้ได้ ผมเป็นครูก็มีหน้าที่คอยให้ไอเดีย เป็นโค้ชแนะนำเขา ส่วนใหญ่ก็มีตั้งแต่นักศึกษา วัยรุ่นทั่วไป แม่บ้าน คุณหมอ และคนสูงอายุ ครับที่มาเรียน เพราะกลุ่มคนเหล่านี้เขาไม่ได้เรียนดนตรีมาตั้งแต่เด็กๆ ก็เลยมีความรู้สึกอยากลองบ้าง เพราะมันก็เป็นอีกกิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายได้ และรู้สึกดีด้วย เวลาไปเล่นเพลงโชว์เพื่อนๆ ตามงานปาร์ตี้สังสรรค์ของเขา ซึ่งจะแตกต่างจากการสอนเด็ก ซึ่งเขาอาจไม่ได้ตั้งเป้าหมายกับการเรียนเหมือนผู้ใหญ่มาก ความกระตือรือร้นในการเรียนก็จะต่างกันด้วยครับ"

เป็นเวลาเกือบครึ่ง ชีวิตที่ครูสอนเปียโนคนนี้ได้ใช้เวลาอยู่กับการเล่นดนตรี และสอนให้หลายๆ คนเล่นดนตรี ซึ่งเจ้าตัวเองก็บอกว่าเป็นสิ่งที่ใช่สำหรับตัวเองที่สุดแล้ว เพราะจำได้ว่าครั้งแรกที่เห็นเปียโน ก็รู้สึกอยากเล่นมาก แต่ก็ไม่มีโอกาสได้เล่นจนกระทั่งเริ่มโตขึ้นเป็นวัยรุ่นแล้ว


"จริงๆ ผมก็เหมือนกับลูกศิษย์ผมนะ ที่เพิ่งมาเล่นดนตรีตอนอายุเยอะแล้ว ตอนเด็กๆ เครื่องดนตรีที่ผมเล่นชิ้นแรกก็ไม่ใช่เปียโนนะ ตอนนั้นผมเล่นขลุ่ย แต่พอเจอเปียโนผมรู้สึกจี๊ดมาก อยากเล่น แต่มาได้หัดจริงๆ ก็ตอนอายุ 17 แล้ว จากนั้นก็เล่นมาตลอดเพราะทำงานก็มาด้านนี้ด้วย ดนตรีเลยเปรียบเหมือนชีวิตของผมไปแล้ว มันทำให้จิตใจผมชุ่มชื่น เพราะเป็นลูกคนเดียวด้วย ดนตรีเลยเขามาช่วยผมเยอะ บางครั้งอะไรที่พูดไม่ได้ แต่มันสามารถพูดแทนเราได้ ชีวิตเราขาดดนตรีไม่ได้นะ ลองนึกว่าไม่มีเสียงเพลงอะไรเลยจะเป็นยังไง  ดนตรีมันจำเป็นต่อจิตใจนะ ผมว่าพอๆ กับอาหารเลยล่ะ เพราะเราก็ขาดไม่ได้ แต่ดนตรีถ้าขาดมันไม่ได้ทำให้ร่างกายเราอ่อนแอ แต่ในด้านจิตใจก็คงมีส่วน เพราะดนตรีมันช่วยบำบัดจิตใจได้  และช่วยพัฒนาประสาทสัมผัสของร่างกายด้วย".