วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Inception - the Soundtrack

Movie Review: Inception+ My Favorite Songs From the Soundtrack






-------------------


1 อันแรกมันเป็นเสียงกระหึมที่ได้ยินทั่วๆไปในภาพยนต์เรื่องนี้
2 ต่อมาเป็นเพลงที่ตัวละครในภาพยนต์ใช้ฟังเพื่อบอกเวลา
3 ต่อจากนั้น ก็เอาเพลงบอกเวลา(2) มาเล่นให้ช้าลง
จะได้เสียงแบบอันแรก



วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

The Love Parade







The Love Parade (German: Loveparade) is a popular Electronic dance music festival and parade that originated in 1989 in Berlin, Germany. It was held in Germany annually between 1989 and 2003, and then from 2006 to 2008. The 2004 and 2005 editions in Berlin and the 2009 edition in Bochum [1] were cancelled.

Internationally, spin-off Love Parades have occurred in Zurich, San Francisco, Mexico City, Acapulco, Geneva, Vienna, Cape Town, Tel Aviv, Leeds, Sydney, Santiago, Caracas, Rio de Janeiro, Oslo, Budapest.

On 24 July 2010 at least 18 people were killed when panic broke out in a tunnel at the Love Parade, with at least 100 others injured.[2][3][4]

Contents


History

The Love Parade has its roots in the spirit of a changing Europe. In 1989, it was first celebrated four months before the demolition of the Berlin Wall. It was started by the Berlin Underground under the initiative of Matthias Roeingh aka "Dr Motte" and his then girlfriend Danielle de Picciotto. It was held as a political demonstration for peace and international understanding through love and Music.

Until 1996, the parade was held on the famous Berlin "Kurfürstendamm". Since by then, not only the Kurfürstendamm was overcrowded but the streets and even railway tracks near the Ku'damm too, the parade moved to the "Straße des 17. Juni" which is near the Tiergarten Park in the center of Berlin by the Brandenburg Gate and provided plenty of space. The center of the parade is the Siegessäule in the middle of the park, and the golden angel on top of the column has become a symbol of the parade.

Many people from Germany and abroad travel to Berlin to take part in the Parade—over a million attended in the years 1997 through 2000 and 800,000 in 2001. Attendance at the 2001 festival was significantly lower because the date of the parade was changed with little advance notice. 2002 and 2003 also saw lower figures, and in 2004 and 2005 the parade was canceled due to funding difficulties. 2004 did however host a scaled-down version which served more as a mini-protest, and was promoted with the title 'Love Weekend'. Dozens of clubs promoted the weekend-long event all over the city, with various clubs staying open for 3 days straight without closing. In 2006, the parade made a comeback with the help of German exercise studio McFit.

The Love Parade 2007 was planned for July 7, 2007 in Berlin. However, the Berlin event was cancelled in February as the Senate of Berlin had not issued the necessary permissions at that time. After negotiations with several German cities, on July 21, it was announced that the Love Parade would move to the Ruhr Area for the next five years. The first event took place in Essen on August 25. The Parade in Essen saw 1.2 million visitors in comparison to the 500,000 who attended the 2006 parade in Berlin.

In 2008, the festival took place in Dortmund on July 19 on the Bundesstraße 1 under the motto Highway of Love. The event was planned as a "Love Weekend", with parties throughout the region. For the first time the Turkish electronic scene was represented by an own float "Turkish Delights (music project)". The official estimate is that 1.6 million visitors attended, which makes it the largest Loveparade to date.[5]

The next parades are planned to take place in Bochum, Gelsenkirchen and Duisburg.
The music played at the events is predominantly electronic dance music: in this case mainly Trance, House, Techno, and Schranz music. Attempts to introduce other music styles, such as hip hop, have failed. Hardcore and Gabber music were part of the parade in early years, but were later removed. They are now celebrated separately on a counter-demonstration called "Fuckparade".

The love parade is seen to be louder and more crowded than most concerts. With its water-cooled sound systems on every truck, the parade produces an extremely loud sound floor.[citation needed] The parade consists of the sound trucks that usually feature local, or important, clubs and their DJs. It has become a rule that only trucks that have sponsors from a techno related field, such as clubs, labels or stores, are allowed, but advertising space was increased after the 2006 event to offset the high costs of equipping a truck. The trucks are usually open on top and feature dancers, with box-systems mounted on the side or rear.

Love Parade is a place where some exhibit and enjoy other people's exhibitionist tendencies.[citation needed] Some attendees enjoy carrying around toys such as pacifiers or face masks. Often the crowd is imaginative in terms of clothing (or lack thereof) and appearance.

One famous picture from the Love Parade is people sitting and dancing on streetlamps, trees, commercial signs, telephone booths, which gave the event's nickname "the greatest amateur circus on earth".

The Love Parade has been quite peaceful for event of its size, seeing few arrests. In 2008, for example, charges were pressed for 6 robberies, 3 sexually-related offences, 40 thefts. 23 participants were caught with drugs and 49 were charged with bodily harm. 177 Love Parade visitors were provisionally arrested by the police.[6] Arrests are usually related to drug crimes and most other incidents feature mostly people passing out due to dehydration or hyperthermia. In 2000, after the parade, a girl under the influence of ecstasy was run over by an S-Bahn after she had been leaning on the door too hard.

The finale of the demonstration is by the so-called "Abschlusskundgebung" which are half-hour sets of the world's leading top DJs such as DJ Tiesto, Paul Van Dyk, Carl Cox, Armin Van Buuren, DJ Rush, DJ Hell, Westbam, Drum Connection, Miss Djax, Marusha or Chris Liebing. During this time all trucks (usually about 40) are connected to each other and set online to the statue of victory where the turntables are. This is one of the few chances a DJ can ever have to play for a crowd of about one million people.

At the weekend of the Love Parade many clubs hold special events and parties and book well-known DJs for this occasion. Parties range from clubs with a hundred mostly exclusive guests, to almost raves with several floors and ten thousand dancers. Many people used to come to Berlin only for the parties and miss the parade in order to sleep.[citation needed] Or they enjoy it with other "ravers" in the park right next to the parade route.

Together with Mayday, Nature One the Love Parade is one of the oldest and largest Festivals of Electronic music

In 2010, at the Love Parade in Duisburg, Germany, 18 people were killed in an overcrowded tunnel leading into the festival. The number of people attending reached 1.4 million, when the original expectation was around 800,000.

Love Parade International

There are similar festivals in other cities like Zürich's Street Parade,Geneva's Lake Parade, Rotterdam's FFFW Dance Parade and Love Parades in Vienna. In 1997 a Love Parade was held in Sydney, Australia. Unlike its overseas counterparts, however, it was a smaller "rave party" version of the festival, held at the infamous Graffiti Hall of Fame in Redfern. On Saturday 8th July, 2000 a Love Parade was held in Roundhay Park, Leeds, United Kingdom sponsored by BBC Radio 1. In 2001, the official UK parade had moved to Newcastle upon Tyne but was cancelled after the police refused a license: BBC Radio 1 still hosted a more contained event, however. Since then no Love Parade had occurred in the United Kingdom.

After being held in the North-American Continent for the first time in Mexico (2002), in the fall of 2004, the Love Parade was held in San Francisco. They had held their inaugural Parade in September 2004 with 37,000 attending. The parade was held again in San Francisco in September 2005 as a rousing success drawing over 50-60,000 people. In 2006, the parade was held on September 23 and was renamed Love Fest because the Loveparade Berlin organization did not renew any of their worldwide licenses not already under contract so they could focus on their own event. 2009 was the biggest success of LOVEVOLUTION (formerly Lovefest/Love Parade) with over 100,000 people. The first Love Parade in Santiago was held in 2005 and gathered over 100,000 people; the 2006 version gathered over 200,000 people. The first Love Parade in Caracas was held in June 2007 and gathered over 25,000 people.

Legal issues

Under German law the state has to pay for security during political demonstrations as well as cleaning up the streets after the demonstration. In the case of a commercial event however, the organizer must cover these expenses. For a large event like the Love Parade the costs are quite high: an estimated €300,000 to €400,000.

The Love Parade was initially held as a "political demonstration" to save costs; however it is organized by two companies set up just for the Love Parade. The name of the demonstration, Love Parade, is a registered trademark and the organizing companies have been busy getting license fees for the use of their name. This not only included merchandise and CDs but also fees for participating clubs, vendors of soft drinks and the like along the streets and even broadcasting fees for the TV stations MTV and Germany's counterpart, VIVA, along with, for the first time, Germany's RTL 2. Love Parade 2006 was the first time in that Berlin's RBB did not broadcast direct from the Siegessäule.

Due to this there was a dispute between the organizers and the city of Berlin every year about the status of the Love Parade and who should bear what costs. Finally in 2001, the courts ruled that the Love Parade had to be held as commercial event. In 2004, the organizers claimed they do not have the necessary funds anymore to host it again. Since there are numerous other Love Parade-like but commercial events in Germany, there are speculations that the funding is not, or at least is not the only reason, for the cancellation, the other being the fast dropping number of participants.

Anthems

Every German parade has had its own anthem.
Year Artist Title
1997 Dr. Motte and WestBam Sunshine
1998 Dr. Motte and WestBam One World One Future
1999 Dr. Motte and WestBam Music Is the Key
2000 Dr. Motte and WestBam Love Parade 2000
2001 The Love Committee You Can't Stop Us
2002 The Love Committee Access Peace
2003 The Love Committee Love Rules
2006 WestBam & the Love Committee United States of Love
2007 WestBam & the Love Committee Love Is Everywhere (New Location)
2008 WestBam & the Love Committee Highway to Love
2010 Anthony Rother The Art of Love

List of Love Parades

Year Location Motto Participants
1989 Berlin Friede, Freude, Eierkuchen 150
1990 Berlin The Future Is Ours 2,000
1991 Berlin My House Is Your House And Your House Is Mine 6,000
1992 Berlin The Spirit Makes You Move 15,000
1993 Berlin The Worldwide Party People Weekend 31,000
1994 Berlin Love 2 Love 110,000
1995 Berlin Peace on Earth 280,000
1996 Berlin We Are One Family 750,000
1997 Berlin Let the Sunshine In Your Heart 1,000,000
1997 Sydney

1998 Berlin One World One Future 800,000
1999 Berlin Music Is The Key 1,500,000
2000 Berlin One World One Loveparade 1,300,000
2000 Leeds Radio One - One Love 1,100,000
2001 Berlin Join The Love Republic 800,000
2002 Berlin Access Peace 750,000
2002 Mexico City

2003 Berlin Love Rules 750,000
2004 San Francisco

2005 San Francisco

2005 Santiago Sal a la calle y baila 100,000
2006 Berlin The Love is Back 1,200,000
2006 San Francisco (as LoveFest)

2006 Santiago El Baile es de Todos 200,000
2007 Essen Love is everywhere 1,200,000
2007 Caracas Live the Love! 80,000
2007 San Francisco as LoveFest 89,000
2008 Dortmund Highway to love 1,600,000
2008 Rotterdam Olympic Edition 500,000
2008 San Francisco as LoveFest[7] 120,000
2008 Caracas Keep the Love Alive!
2009 Bochum (cancelled)

2009 San Francisco as LovEvolution[8] 150,000
2010 Duisburg The Art of Love 1,400,000
2010 San Francisco as LovEvolution[9]
2011 Zagreb


Note :
 The "Participants" figure is the estimate given by the organizers. Police estimates have been as much as 30% lower. Accurate counts are not available since entry is free and uncontrolled. The mayor of Dortmund and the police confirmed the number of participants in Dortmund

ref : http://en.wikipedia.org/wiki/Love_Parade


























































http://www.mymixtapes.org/images/loveparade.jpg




วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ซิมโฟนีฟองตาสติก ของ แบร์ลิโอ



ซิมโฟนีฟองตาสติก ของ แบร์ลิโอ การตีความอันชาญฉลาด ความงามมิได้มีแบบเดียว



ข้อ คิดจาก ทีพีโอ 

แม้ว่าวงดุริยางค์ไทยแลนด์ฟีลฮาร์โมนิก (Thailand Philharmonic Orchestra) แทบจะไม่ได้มีโอกาสนำวงมาเปิดการแสดงที่หอประชุมใหญ่ศูนย์ วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เหมือนกับวง บีเอสโอ (Bangkok Symphony Orchestra) ก็ตาม แต่ถ้าใครที่เป็นผู้รักดนตรีคลาสสิกและติดตามความเคลื่อนไหวของวงการโดยตลอด ก็จะทราบว่าวงไทยแลนด์ฟีลฮาร์โมนิก หรือ TPO นั้น มีกิจกรรมการแสดงดนตรีอย่าง “เข้มข้น” และ “สม่ำเสมอ” ทุกๆ เดือน ที่หอแสดงดนตรีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล อ.ศาลายา จ.นครปฐม และหลายๆ เพลงที่วง ทีพีโอ เลือกมาแสดงนั้น เป็นงานดนตรีระดับยิ่งใหญ่ หลายเพลงมีคุณค่าหาฟังยาก และหลายๆ เพลง ยังไม่เคยมีการนำมาบรรเลงในประเทศไทยมาก่อนเลย



 เมื่อเร็วๆ นี้ วง ทีพีโอ นำบทเพลงที่เป็นงานอวดเทคนิคการบรรเลงขั้นสูงและบทเพลงที่ถือได้ว่าเป็นการ บรรเลงรอบปฐมทัศน์ในเมืองไทยมาบรรเลง โดยมีผู้อำนวยเพลงหญิงรับเชิญชาวบราซิล นามว่า ลิเจีย อมาดิโอ (Ligia Amadio) รับหน้าที่ควบคุมวง รายการเริ่มต้นด้วยบทเพลง “โหมโรงมหาราช” ซึ่งเดิมเป็นเพลงไทยที่ใช้บรรเลงด้วยวงมโหรี ประพันธ์โดย อ.มนตรี ตราโมท เมื่อปี พ.ศ.2530 โดยอัญเชิญเนื้อหามาจากแนวทำนองบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน มาร้อยเรียงต่อเนื่องกัน ในครั้งนี้ ร.อ.ประทีป สุพรรณโรจน์ นักเรียบเรียงเสียงประสานฝีมือเยี่ยมยังคงรักษามาตรฐานไว้ได้เป็นอย่างดี เนื้อหาท่วงทำนองดนตรีมีความลื่นไหลเป็นธรรมชาติ การเลือกใช้สีสันทางเสียงและบทบาทของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดอยู่ในขั้น “เป็นเลิศ” ศาสตร์และศิลป์แห่งวิชาการจำแนกแนวเสียงเครื่องดนตรี (Orchestration) ของเขา มีความแตกฉาน ไม่เคยมีลักษณะน่าเบื่อ เย็นชา หรือว่างเปล่า ตัวโน้ตทุกพยางค์ ทุกเสียง มีสีสัน พลัง และความหมายในตัวเองครบถ้วน



 ใครที่ติดตามการแสดงของวง ทีพีโอ เป็นประจำ จะตระหนักดีว่า นี่คือ “นโยบาย” ของทางวงที่มุ่งเสนอเพลงไทย (แบบที่เรามักเรียกว่า “ไทยเดิม”) เป็นเพลงเปิดการแสดงแบบเพลงโหมโรงคอนเสิร์ต (Concert Overture) เป็นประจำ ซึ่ง ร.อ.ประทีป รับหน้าที่ประจำในการเรียบเรียงฯ ได้อย่างไพเราะ รื่นหู น่าฟัง น่าประทับใจอยู่เสมอ



 การเลือกเอาบทเพลงฮอร์นคอนแชร์โตในบันไดเสียงบีแฟลตเมเจอร์ ผลงานลำดับที่ 91 ของ ไรน์โฮลด์ กลิแอร์ (Reinhold Gliere: ค.ศ.1875-1956) นักประพันธ์ดนตรีชาวรัสเซียแห่งศตวรรษที่ 20 มาบรรเลงเป็นลำดับที่สองนี้ ถือเป็นงานดนตรีที่สูงด้วยคุณค่าน่าสนใจหลายประการ นี่คือเพลงคอนแชร์โตหรือเพลงเดี่ยวประชันสำหรับแตรเฟรนซ์ฮอร์น (French Horn) ที่จัดได้ว่าหาฟังยาก ใช้เทคนิคการบรรเลงฮอร์นขั้นสูง หลากหลายวิธีลีลา เป็นบทเพลงที่มีแนวคิด (Concept) อันยิ่งใหญ่ และมีพัฒนาการในการประพันธ์ที่ก้าวหน้ามากๆ



 วาเลอรี โปเลค (Valery Polekh) นักเป่าฮอร์นมือหนึ่งแห่งวงบอลชอย เธียร์เตอร์ (Bolshoi Theatre Orchestra) ผู้ที่กลิแอร์อุทิศผลงานชิ้นนี้ให้ ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า “กลิแอร์มีแนวคิดเกี่ยวกับฮอร์นว่า เป็นเครื่องดนตรีอวดเทคนิคขั้นสูงจนเกือบจะกลายเป็นไวโอลิน รูปแบบที่เขาประยุกต์ใช้ก็คือ ไวโอลินคอนแชร์โต ของไชคอฟสกี” ซึ่งเมื่อเราได้ฟังบทเพลงนี้แล้ว ก็รู้สึกได้ว่า โปเลคมิได้กล่าวเกินเลยแต่อย่างใด กลิแอร์โชว์ความงดงามของแนวทำนองด้วยประโยคเพลงอันยืดยาว คล้ายกับจะลืมไปว่านี่คือเครื่องดนตรีที่ต้องใช้ลมจากปอดของมนุษย์อย่างมาก มาย บางตอนมีตัวโน้ตที่วิ่งไล่เสียงอย่างรวดเร็ว บางตอนมีการสลับขั้นคู่เสียง (Interval) สูง-ต่ำ สลับไป-มา คล้ายไวโอลินคอนแชร์โตที่บรรเลงข้ามสายที่เราพบเห็นบ่อยๆ ยิ่งในท่อนสุดท้ายที่ฮอร์นบรรเลงโต้ตอบกับวงออร์เคสตร้าแบบ “วรรคต่อวรรค” เราก็ยิ่งประจักษ์ชัดถึงลีลาในท่อนสุดท้ายของไวโอลินคอนแชร์โตของไชคอฟสกี



 ไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่คือฮอร์นคอนแชร์โตที่ทั้งยิ่งใหญ่และยากเย็นเพียง ใด แต่ก็ดูเหมือนว่า คริสตอฟ เอสส์ (Christoph Ess) นักเป่าฮอร์นหนุ่มจากเยอรมนี วัย 26 ปี ผู้บรรเลงเดี่ยวครั้งนี้จะติดขัดด้วยประการใดๆ เขาก้าวข้ามพ้นเทคนิคที่ว่าดังกล่าวได้ทุกประการ ไม่มีความรู้สึกอึดอัด หรือ “เหนื่อยแทน” จากแง่มุมของผู้ฟัง เขาให้ความรู้สึกราวกับว่า กำลังเป่าเครื่องดนตรีที่มิได้กินลมกินแรงอะไร ทุกตัวโน้ตเต็มเสียง ทุกประโยคเพลง (Phrase) ยาวเต็มอิ่มต่อเนื่อง ปราศจากอาการแผ่วปลายจากปัญหาลมไม่พอ หลังจากบรรเลงจบ เขาแถมบทเพลงเดี่ยว “Le Rendez - Vous de Chasse” ของ รอสซินิ (G. Rossini) ที่โชว์เทคนิคขั้นสูงแถมให้อีก ครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญที่บรรดาผู้ฟังได้มีโอกาสชื่นชม กับศักยภาพขั้นสูงสุดของเครื่องดนตรีชนิดนี้



 คริสตอฟ เอสส์ แสดงให้เห็นชัดในบทเพลงทั้งสองนี้ว่า ฮอร์นมีช่วงเสียงดัง-เบา (Dynamic Range) ที่กว้างเพียงใด เฉดสีสันทางเสียง (Tone Colour) ที่เขาแสดงออกมาในคืนวันนั้น มีประมาณ 5-6 แบบ อันน่าทึ่ง ซึ่งยังไม่เคยมีการแสดงเดี่ยวฮอร์นสดๆ ครั้งไหนในเมืองไทยจะเคยมีมาก่อน บอกได้แต่ว่า เราคงต้องจดจำชื่อ หนุ่มชาวเยอรมนีผู้นี้ไว้ให้ขึ้นใจ นี่คือนักเป่าฮอร์นระดับนานาชาติอย่างแท้จริง และเขาคือผู้บรรเลงฮอร์นคอนแชร์โตอันยากยิ่งบทนี้ในเมืองไทยเป็นครั้งแรก



 ก่อนการแสดงคอนเสิร์ต ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยสนทนากับนักดนตรีบางคนในวง ทีพีโอ บ้าง เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งก็ดูว่าพวกเขาชื่นชมกับวิธีการฝึกซ้อมวงของลิเจีย อมาดิโอ วาทยกรหญิงรับเชิญชาวบราซิลผู้นี้เอามากๆ ชมกันว่า เธอบริหารเวลาการซ้อมได้ดีเยี่ยม เตรียมตัวศึกษาบทเพลงมาล่วงหน้าอย่างดี แก้ปัญหาตรงจุด ... ฯลฯ ซึ่งก็คงถือว่า เป็นการฟังข้อมูลจากวงในประดับความรู้เอาไว้ และเมื่อถึงบทเพลงเอกปิดท้ายรายการ คือ ซิมโฟนีฟองตาสติก (Symphonie Fantastique) ผลงานของ เอกเตอร์ แบร์ลิโอ (Hector Berlioz) นักประพันธ์ดนตรีชาวฝรั่งเศสแห่งศตวรรษที่ 19 บรรดาข้อมูลที่ได้ฟังมาจากปากของนักดนตรีก่อนการแสดงก็พิสูจน์ให้เป็นที่ ประจักษ์ว่า เธอสร้างทั้ง ‘ความเปลี่ยนแปลง’ และ ‘ความแตกต่าง’ ให้กับวง ทีพีโอ ได้อย่างชัดแจ้ง ทั้งด้านวิธีการบรรเลงของวง วิธีการคิดและตีความบทเพลง รวมไปถึงการแก้ปัญหาทางระบบเสียงของห้องแสดงดนตรี



 ผู้เขียนไม่มีโอกาสเฝ้าชมในขณะการฝึกซ้อมของวง จึงไม่ทราบว่า เธอพูดอะไร? พูดอย่างไร? หรือเธอสื่อสารอะไรกับนักดนตรีบ้าง แต่สิ่งที่ประสาทหูพอจะสัมผัสได้ก็คือสมดุล (Balance) ของวงดนตรีวงนี้ (กับหอแสดงดนตรีแห่งนี้) ที่ยังไม่เคยลงตัวแบบนี้มาก่อน สมดุลระหว่างเครื่องดนตรีทุกหมวดหมู่ที่กลมกล่อม กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง (แตรชนิดต่างๆ) ที่ยังคงความองอาจสง่างาม แต่ไม่ “ล้ำหน้า” จนแผดหู (ทั้งๆ ที่บทเพลงเปิดโอกาสเต็มที่)



 ทางด้านการตีความ คงต้องเปรียบเทียบการบรรเลงครั้งนี้กับการบรรเลงของวง บีเอสโอ ภายใต้การอำนวยเพลงโดย ฮิโคทาโร ยาซากิ (Hikotaro Yazaki) ณ หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อหลายปีก่อน และก็ต้องยอมรับแนวคิดทางศิลปะที่ว่า ‘ความงามไม่เคยมีเพียงหนึ่งเดียว’ ศิลปะชนิดเดียวกันอาจแสดงลักษณะอันงดงามที่ตรงกันข้ามกันโดยสิ้นเชิงก็เป็น ได้ และนี่ก็เช่นเดียวกัน บีเอสโอ และ ยาซากิ เปิดเผยถึงศักยภาพและความอลังการของบทเพลงด้วยสีสันทางเสียงดนตรีอันเจิดจ้า ปลุกเร้าให้นักดนตรีบรรเลงอย่างทุ่มเทสุดตัว (และสุดขั้ว) ฟังดูน่าตื่นเต้นและตื่นตาตื่นใจ เสียงที่แผดดังกึกก้องของบทเพลงในตอนจบนั้น ยังจำได้ว่าแม้จะนั่งฟังอยู่ในแถวค่อนมาท้ายๆ ของศูนย์วัฒนธรรมฯ แต่ก็สัมผัสได้ถึง “แรงปะทะ” จากพลังเสียงดนตรีที่ยากจะลืมเลือนจริงๆ จึงทำให้อดเป็นห่วงไม่ได้ เมื่อวง ทีพีโอ เลือกบรรเลงบทเพลงเดียวกันนี้ในหอแสดงดนตรีที่เล็กกว่าศูนย์วัฒนธรรมฯ ค่อนข้างมาก แล้วจะทำอย่างไร เมื่อบทเพลงแผดเสียงคำรามในตอนท้าย



 ลิเจีย อมาดิโอ มีคำตอบในเรื่องนี้ และเป็นคำตอบที่หาทางออกได้อย่างงดงาม ประเด็นนี้เธอแก้ปัญหาด้วยการปรับวิธีการบรรเลงด้วยการจัดสมดุลของน้ำหนัก เสียงเครื่องดนตรีในหมวดหมู่ต่างๆ ให้เรียงตัวใหม่อย่างมีระเบียบภายในหอแสดงดนตรีที่เล็กกว่า การแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมที่เห็นชัดที่สุดประการหนึ่งก็คือ ในท่อนสุดท้ายที่บรรยายถึงพิธีกรรมของเหล่าแม่มด เมื่อถึงตอนลั่นระฆัง ซึ่งแบร์ลิโอ ใช้ระฆังราว (Tubular Bell) ตีกระหน่ำในตอนนี้ ซึ่งลิเจีย อมาดิโอ ตระหนักดีว่า ถ้ายังตั้งเครื่องดนตรีนี้ไว้ ณ ตำแหน่งปกติ มันคงจะส่งเสียงดังเหง่งหง่าง สะท้อนก้องจนเกินไป จึงได้นำไปตั้งไว้ด้านข้างหลังเวที เสียงที่ดังออกมาจึงมีความพอเหมาะพอดีกับขนาดของหอแสดงดนตรีแห่งนี้



 การปรับด้านการตีความบทเพลงเป็นการแก้ปัญหาของหอแสดงดนตรีได้อย่างชาญ ฉลาดอีกประการหนึ่ง กล่าวคือ สกอร์ดนตรีที่แบร์ลิโอเขียนไว้อย่างค่อนข้างซับซ้อนยุ่งเหยิงและฟุ้งซ่าน (ด้วยจินตนาการ) นั้น เธอสามารถปรับให้เกิดการบรรเลงที่เป็นระเบียบ มีการควบคุมอย่างสูง และในองคาพยพแห่งการบรรเลง ซึ่งแม้จะสูงด้วยการควบคุมนี้ บทเพลงกลับมิได้แห้งแล้งขาดความมีชีวิตชีวาแต่อย่างใด หากแต่ทำให้เราสัมผัสได้ถึงความงามของบทเพลงเดียวกัน แต่แสดงออกอย่างตรงกันข้าม ซิมโฟนีฟองตาสติก ของแบร์ลิโอ เขียนไว้อย่างซับซ้อนยุ่งเหยิง แต่กลับตีความบรรเลงอย่างงดงามและสุขุมรอบคอบ ฟังดู “คลาสสิก” และไม่เสียความรู้สึกแต่อย่างใด ในเชิงหลักการ ทฤษฎีไม่น่าจะทำได้ แต่ ลิเจีย อมาดิโอ พิสูจน์ว่าเธอคือ “ศิลปิน” ที่สร้างงาน “ศิลป” โดยหลักการหรือทฤษฎีเป็นประเด็นที่ท้าทายให้คิดต่อและประยุกต์เปลี่ยนแปลง ได้เสมอ ไม่บ่อยครั้งนักที่เราจะได้สัมผัสถึงแนวคิดการตีความในระดับนี้



 ลิเจีย อมาดิโอ เป็นวาทยกรเพศหญิง และเป็นชาวบราซิลที่มีภูมิหลังผูกพันกับประสบการณ์ดนตรีแถบละตินอเมริกา อย่างเข้มข้น (ตามประวัติ) เธอน่าจะตีความดนตรีออกมาในแนวเน้นพลังอารมณ์ความรู้สึกอย่างสุดโต่งหรือ ร้อนแรงฟูมฟายตามพื้นฐานถิ่นกำเนิด เธอจะไปเข้าถึงแก่นของงานดนตรีแถบยุโรปได้อย่างไร  นี่อาจจะเป็นกรอบความคิดที่เราตั้งแง่กับเธอเอาไว้ก่อนที่จะได้ฟังการตีความ ดนตรีของเธอ ดนตรีมีพรมแดนหรือไม่ ศิลปินดนตรีในภูมิภาคใดก็จะเข้าใจดนตรีในภูมิภาคของตนเองได้ถ่องแท้ที่สุด? แนวคิดเหล่านี้ยังคงหาคำตอบที่ลอยอยู่ในสายลมไม่ได้ ณ วันนี้เราคงต้องสรุปว่า ต้องพิจารณากันเป็นรายๆ ไป บางกรณีอาจจริง แต่กรณีของ ลิเจีย อมาดิโอ แล้ว เธอเป็นข้อยกเว้น บทพิสูจน์ก็คือ ซิมโฟนีฟองตาสติก อันแสนจะคลาสสิกในครั้งนี้นั่นเอง.


......................................

เกี่ยวกับผู้เขียน : 
บวรพงศ์ ศุภโสภณ จัดเป็นหนึ่งในบรรดานักเขียน นักวิจารณ์ และวิทยากรผู้บรรยายด้านดนตรีคลาสสิกที่มีความลึกซึ้งคนหนึ่งของสังคมไทย นอกจากงานเขียนงานบรรยายแล้ว ปัจจุบัน เขาเป็นผู้ผลิตรายการวิทยุของ อสมท.


*
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์
วันที่ 21 กรกฎาคม 2553

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มหกรรมศิลปะการแสดง และ ดนตรีนานาชาติ ปีที่ 12


กลับมาให้ได้ ตื่นตาตื่นใจกันอีกครั้ง  สำหรับ  งานมหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรี นานาชาติ ปีที่ 12 คัดสรรสุดยอดการแสดงจากทั่วทุกมุมโลก ถึง 22 ชุด มาอวดสายตาผู้ชมชาวไทย ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 11 ก.ย. ถึง 24 ต.ค.2553
ในฐานะโต้โผใหญ่ "เอกสิทธิ์ โชติภักดีตระกูล" บอกเล่าว่า แม้ช่วงเวลาที่ผ่านมา  บ้านเมือง ของเราจะประสบปัญหาวุ่นวาย  แต่ตอนนี้เหตุการณ์ ทุกอย่างได้กลับสู่ภาวะปกติแล้ว  จึงน่าจะเป็นเวลาของการคืนความสุขแก่ผู้ชมชาวไทยให้ได้ ดื่มด่ำไปกับศิลปะการแสดง หลากหลายแขนงครบทุกรสชาติ  ทั้งโอเปรา ซิม–โฟนี  ออร์เคสตรา  บัลเลต์  ตลอดจนศิลปะการเต้นรำในรูปแบบต่างๆ ซึ่งล้วนแต่หาชมได้ยากยิ่ง


เปิด มหกรรมการแสดงอย่างยิ่งใหญ่ในวันที่ 11 ก.ย.2553 ด้วยการแสดงโอเปราระดับตำนานจากรัสเซียเรื่อง "Prince Igor" โดยคณะโนโวซิบิร์สก์โอเปรา เธียเตอร์ สหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งเคยคว้ารางวัล Theatre Golden Mask Award มาครองถึง 4 รางวัล ขณะที่วาทยกรประจำวง "เยฟเกนี โวลินสกี" ก็ชนะ รางวัลจากเวทีเดียวกัน  จุดเด่นของโอเปราเรื่องนี้อยู่ที่สีสันอันน่าทึ่งของตัวละคร ซึ่งอิงจากชีวิตจริงในการต่อสู้ของเจ้าชายอิกอร์  เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินจากการรุกรานของชนเผ่าโปลอฟเซียน

สำหรับผู้ หลงใหลเสน่ห์ของศิลปะการแสดงบัลเลต์  ในงานมหกรรมครั้งนี้  ยังได้ขนสุดยอดการแสดงระบำปลายเท้าอันเลื่องชื่อมาให้ชมจุใจ  ไม่ว่าจะเป็นการแสดงชุด "La Bayadere" ในวันที่ 15 ก.ย.นี้  ฝีมือสร้างสรรค์ของคณะโนโวซิบิร์สก์ บัลเลต์ เธียเตอร์ ประพันธ์เพลงโดย "ลุดวิก มินคุส"  และออกแบบท่าเต้นโดย "มาริอุส เปติปา"  ถ่ายทอดเรื่องราวของนางรำในวิหารโบราณ  กับนักรบผู้กล้าหาญ ที่พัวพันกับเรื่องราวความรัก  และความอิจฉา ริษยา มีฉากเต้นระบำผ้าพันคออันลือลั่นเป็นไฮไลต์ชวนติดตาม


ส่วน แฟนๆคนรักเจ้าหญิงหงส์โอเดตต์ ก็ไม่น่าพลาดชมบัลเลต์แนวคลาสสิกเรื่องดัง  "Swan  Lake" ระหว่างวันที่ 22-23 ก.ย.นี้  จัดแสดงโดยคณะซูริก บัลเลต์ จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์  และควบคุมวงโดย  "เยฟเกนี  โวลินสกี"  พร้อมพาผู้ชมชาวไทยเดินทางไปสัมผัสอานุภาพแห่งรักแท้ที่ซาบซึ้งตรึงใจ
และ ใครที่ชื่นชอบบัลเลต์แนวร่วมสมัย  ก็เตรียมเคลียร์คิวว่างไว้เพื่อดื่มด่ำไปกับการแสดงชั้นเลิศ  หลากหลายรสชาติ  ไล่ตั้งแต่การแสดงชุด  "CINDERELLA"  วันที่ 17-18 ก.ย.นี้ โดย คณะโนโวซิบิร์สก์  บัลเลต์  เธียเตอร์  ฝีมือออกแบบท่า เต้นของ  "คีรีลล์  ซิมินอฟ" ที่นำบทประพันธ์คลาสสิกดั้งเดิม  มาตีความใหม่ให้ได้ รสชาติสนุกสนานและทันสมัยยิ่งขึ้น  จนคว้ารางวัลโปรดักชั่นบัลเลต์ยอดเยี่ยมมาแล้ว  เมื่อปี 2007

ขณะ ที่ ในวันที่ 25-26 ก.ย.นี้ ขอเอาใจแฟมิลี่ด้วยการแสดงบัลเลต์แนวสร้างสรรค์ระคนขบขัน  เรื่อง  "A  CHRIST-MAS  CAROL"  ฝีมือการแสดงของคณะนอร์เทิร์น บัลเลต์ เธียเตอร์ จากสหราชอาณาจักร ประพันธ์เพลงโดย "คาร์ล เดวิส" ได้รับการยกย่องจากหนังสือพิมพ์ยอร์ก  อีฟนิ่ง โพสต์ ว่า เป็นบัลเลต์แนวร่วมสมัยที่ครบรสที่สุด  ให้ทั้งอารมณ์ตลกขบขัน สนุกสนาน เศร้า และอิ่มเอมใจ สามารถสะ–กดผู้ชมให้ เคลิบเคลิ้มไปกับเวทมนตร์แห่งตำนานอันจับใจของภูตคริสต์มาส  ขณะเดียวกัน  ยังมีสีสันจากการเต้นรำ  คอนเทมโพรารี ที่นับวันจะมีแฟนๆเพิ่มขึ้นทุกปี  ครั้งนี้เตรียมพบกับการแสดงชุด  "Whereabouts  Unknown"  ในวันที่ 22-23 ต.ค.นี้ สร้างสรรค์โดยคณะเนเธอร์แลนด์  แดนซ์  เธียร์เตอร์  โดดเด่นด้วยแสงเงาและความเคลื่อนไหวที่เปี่ยมพลัง



และ พลาดไม่ได้เลยคือ  การแสดงคอนเสิร์ตชุด "The Rite of Spring" ของ  "อิกอร์  สตราวินสกี"  และ  "Symphony No.1"  ของ  "กุสตาฟ  มาห์เลอร์"  ฝีมือสร้างสรรค์ของคณะอิสราเอล  ฟิลฮาร์โมนิกออร์เคสตรา  อำนวยเพลงโดย  "สุบิน  เมห์ทา" วาทยกรระดับปรมาจารย์  ซึ่งเป็นที่กล่าว ขวัญมากที่สุดในโลก  จะมาสร้างสีสันให้ ผู้ชมในเมืองไทยเพียงค่ำคืนเดียว  คือ วันที่ 24 ต.ค.2553



แฟน พันธุ์แท้สามารถจองบัตรชมการแสดงได้แล้วตั้งแต่วันนี้  ที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์  ทุกสาขา หรือ  Call  Center โทร. 0-2262-3456  มีบริการรถรับ-ส่งฟรีจากสถานีรถ ไฟฟ้าใต้ดินศูนย์วัฒนธรรมฯ ประตูทางออกที่ 1 ระหว่างเวลา 17.30-19.00 น.


วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Piano for Dummies, 2nd Edition - Book + Audio CD



For Dummies, 2009 | ISBN: 978-0-470-49644-2 | 388pages | PDF | 11.8MB

Audio CD, Size: 51.5MB, Format: mp3


The long-awaited update to the bestselling Piano For Dummies-featuring a new audio CD

Have you always wanted to play piano? This revised edition of the popular Piano for Dummies makes it easier and more fun than ever. If you don't know how to read music, this book explains in friendly, uncomplicated language all the basics of music theory and applies it to playing the piano. And if you've been playing piano for a while – or took piano lessons when you were a child but haven't played since – you can pick up some valuable tips to improve your playing or use the book as a refresher course.

This new edition features fresh and updated practice lessons, teaching techniques, and musical examples, as well as a new audio CD with examples for all pieces presented in the book. You get expert information on left- and right-hand piano techniques; playing scales, melodies, harmonies, and chords; and practicing to improve your technique.

   * Everything you need to start playing piano today
   * Plenty of popular musical pieces and songs, with companion audio CD to play along with
   * Instruction in playing various musical styles, from classical and rock to blues and country
   * Blake Neely is an Emmy-nominated composer and accomplished pianist who has composed numerous TV and movie scores

If you've always wanted to tickle the ivories like a pro, Piano For Dummies, 2nd Edition is your ideal resource! 

+

Learn And Master Piano (14 DVDs, 5 CDs and Lesson Book) DVDRip


Complete Set (14 DVDs, 5 Play Along CDs, Lesson Book PDF)



*** This set came from another torrent site (http://myanonamouse.net/), but was simply DVD VIDEO_TS content. My only doing was the conversion to AVI and labeling of files. Initial posting credit goes to the myanonamouse.net uploader.



DVDRipped



Play Along CDs 1-5 (MP3s @ 128kbps)

*** I don't have the titles for the CDs and their respective songs as they aren't conveniently located in the front of the lesson book like L&M Drums. This shouldn't be a problem since they're referenced by track number throughout the lesson book.

I believe they do, in fact, have song titles scattered around in the lesson book, but I'm not prepared to go that far to label them!



DVD Sessions:

Each session has an accompanying workshop video.



1) Getting to Know the Piano/First Things First

Finding the Notes on the Keyboard



2) Major Progress

Major Chords, Notes on the Treble Clef



3) Scaling the Ivories

C Major Scale, Scale Intervals, Chords Intervals



4) Left Hand and Right Foot

Notes on the Bass Clef, Sustain Pedal



5) Minor Adjustments

Minor Chords and How They Work



6) Upside Down Chords

Chord Inversions and Reading Rhythms



7) The Piano as a Singer

Playing Lyrically & Reading Rests in Music



8) Black Is Beautiful

Learning Notes on the Black Keys



9) Once You Go Black/Black Magic

More Work with Black Keys and the Minor Scale



10) Making the Connection

Connecting Chords by Inversions & Left-Hand Accompaniment Patterns



11) "Let It Be"

Alternate Bass Chords



12) Breaking Up Isn't Hard to Do

Arpeggios and Triplets



13) Rockin' the Piano

Rhythmic Piano Playing, Reading Ties, Playing by Ear



14) A Bit of Beethoven

Compound Arpeggios, Harmonic Minor Scale



15) Pretty Chords

Major 7th Chords and Sixteenth Notes



16) The Dominant Sound

Dominant Seventh Chords, Left Hand Triads, D Major Scale



17) Gettin' the Blues

The 12-Bar Blues Form and Syncopated Rhythms



18) Boogie Woogie & Bending the Keys

Boogie Woogie Bass Line, Grace Notes



19) Minor Details

Minor 7th Chords



20) Left Hand as a Bass Player

Left-Hand Bass Lines



21) The Art of Ostinato

Ostinato



22) Harmonizing

Harmony and Augmented Chords



23) Modern Pop Piano

Major 2 Chords



24) Walkin' the Blues & Shakin' the Keys

Sixth Chord, Walking Bass Lines, the Blues Scale, Tremolo



25) Ragtime, Stride & Diminished Chords

Ragtime



26) Jazz Piano

Swing Rhythm, Chord Voicing, and Improvising



27) "Caliente y Frio!" - Hot & Cool Piano

Montunos, Bossa Novas, and Ninth Chords



28) Building Bridges

Vocal Accompanying, Minor Add 2 Chords

*

“มูลนิธิโลกสีฟ้า”

“มูลนิธิโลกสีฟ้า” พลังคนแก่รักเสียงเพลง พลังแห่งคุณค่า ‘บั้นปลายชีวิต’

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


    เนื่องใน “วันผู้สูงอายุ 13 เมษายน” ที่เวียนมาอีกครั้งในปีนี้ หลายคนต่างมองไปที่การให้วันสำคัญนี้เป็นจุดริเริ่มในการกระตุ้นให้ลูกๆ หลานๆ ระลึกถึงคุณค่า คุณงามความดี และแสดงความกตัญญูกตเวิทีต่อต่อผู้หลักผู้ใหญ่ให้มากที่สุด ทั้งนี้อีกส่วนที่ต้องการจะสื่อคือการให้ผู้สูงอายุได้รับการยอมรับจากทุก ภาคส่วนในสังคม ซึ่งยังถือว่ามีสัดส่วนมีน้อยมากในปัจจุบัน
      
       แต่ในสัดส่วนที่น้อยของผู้สูงอายุที่มีพื้นที่ยืนในสังคมนั้น ด้วยการเกิดขึ้นของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า ‘มูลนิธิโลกสีฟ้า’ ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า “คนแก่ก็ยังทำงานเพื่อประโยชน์แก่สังคมได้”
      

คุณย่าพวงทอง พัฒนศิษฏางกูร
   
       ** ก่อกำเนิดพลังคน(แก่) รักเสียงเพลง
       มูลนิธิโลกสีฟ้า เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มผู้สูงอายุที่ชอบร้องเพลง และใช้เวลาว่างในบั้นปลายของชีวิตให้เกิดคุณค่าโดยมี ‘เพลง’ เป็นสื่อ โดยสมาชิกกว่า 40 ชีวิต อายุในช่วง 55 – 80 ปี ที่ประกอบด้วยผู้คนหลากหลายอาชีพ ทั้งที่เกษียณแล้ว หรือยังทำงานอยู่มาตั้งเป็นกลุ่มคณะนักร้องประสานเสียงผู้สูงวัยขึ้น
      
       สำหรับที่มาที่ไปของการก่อตั้งกลุ่มนั้น คุณย่าพวงทอง พัฒนศิษฏางกูร อายุ 79 ปี ในฐานะประธานมูลนิธิโลกสีฟ้า ย้อนอดีตให้ฟังว่า เริ่มจากที่ อาจารย์ทันพงษ์ พัฒนศิษฏางกูร ซึ่งเป็นสามีของตนนั้นได้ประพันธ์เพลงไว้มากมาย โดยเนื้อหาของเพลงส่วนใหญ่จะสื่อให้เห็นถึงความรักชาติ ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ยังมีในส่วนของเนื้อหาที่เป็นการให้กำลังใจ และเพลงที่สะท้อนสังคม ซึ่ง อ.ทันพงษ์ก็มาปรึกษากับตนว่าอยากจะทำประโยชน์ให้แก่สังคม เพราะชีวิตที่เหลืออยู่นี้ก็เปรียบได้กับกำไรชีวิต จึงอยากทำงานให้ชาติบ้านเมืองผ่านงานเพลง และเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาทั้งหมดนี้ หากนำไปร้องแล้วเกิดเป็นรายได้ ก็จะนำเงินทั้งหมดมอบให้แก่การกุศล
      
       “ช่วง นั้นใน พ.ศ.2538 ก็ได้มีการรวมกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบในเสียงเพลง ประมาณ 50 คน มาขับร้องเพลงประสานเสียง ซึ่งก็ใช้เพลงของอ.ทันพงษ์ ขับร้อง ซึ่งเมื่อรวมกลุ่มกันก็มีรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งเชิญไปออกทีวี และค่าตอบแทนในวันนั้นถือได้ว่าเป็นเงินก้อนแรกที่หาได้จากการร้องเพลง ซึ่งก็ได้บริจาคในการสร้างโรงเรียน และเป็นทุนการศึกษาทั้งหมด”
      
       คุณย่าพวงทอง เล่าต่อว่า หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2539 ซึ่งเป็นปีสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี อ.ทันพงษ์ ก็ได้ประพันธ์เพลงที่ชื่อว่า “ร่มละอองบุญ” ที่มีเนื้อหาของเพลงแสดงถึงความจงรักภักดี และสดดุดีพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมีแก่ผสกนิกรไทย ซึ่งเนื้อเพลงท่อนหนึ่งบอกว่า
       “... เย็นร่มละอองบุญ เกื้อหนุนให้ไทยทั้งชาติ
       ใต้เบื้องพระยุคลบาท พระบิตุรงค์ พระทรงศรี
       ได้อยู่ร่มเย็น ร่มเย็นเป็นสุขสวัสดี
       ด้วยพระบารมี พระบารมี แห่งองค์ราชันย์...”
      
       และเพลงนี้ก็ได้ใช้ทำการขับร้องร่วมกับคณะนักร้องนักแสดงจากกระทรวง วิทยุโทรทัศน์จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เดินทางมาถวายพระพรแด่พระองค์ท่านในวันสำคัญครั้งนั้นด้วย

       ** เติมพลังดนตรีบำบัด เสริมแรงใจผู้ป่วย
       คุณ ย่าพวงทองบอกว่า หลังจากนั้นก็ถูกเชิญให้ร้องเพลงตามงานต่างๆ เรื่อยมา จนกระทั่งทางศูนย์แพทย์พัฒนา เขตห้วยขวาง ซึ่งเป็นคลินิกตามโครงการพระราชดำริ ได้ประสานให้มาสอนร้องเพลงแก่คนไข้ จึงได้มีการตั้งชื่อกลุ่มครั้งแรกว่า “ชมรมพลังเพลง” ต่อ มาจึงได้ถูกเทียบเชิญจากประเทศจีนให้ไปร่วมในงานการร้องเพลงประสานเสียงนานา ชาติที่จีนจัดขึ้น และทางเราก็ได้เชิญคณะประสานเสียงของจีนมาร่วมในงานถวายพระพรเนื่องในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 6 รอบ ใน พ.ศ.2541 เช่นกัน จากนั้นชมรมพลังเพลง ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ชมรมโลกสีฟ้า” และล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ก็จัดตั้งเป็น “มูลนิธิโลกสีฟ้า” จนถึงปัจจุบัน
      
       อย่างไรก็ตาม นอกจากทางกลุ่มจะนำเพลงมาใช้เป็นสื่อในการสร้างจิตสำนึกรักชาติ แล้วยังมีการขับร้องเพลงเพื่อสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ อีกด้วย ซึ่งก็มีคนไข้หลายคนเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มจำนวนมาก โดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งจะจัดเป็นกระบวนการดนตรีบำบัดขึ้น และมีการแต่งเพลงให้เป็นพิเศษ เช่นเพลง “ฟื้นฟูชีวิตใหม่” เพื่อเป็นการให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็ง และหากผู้ป่วยคนไหนสามารถนำกระบวนการดนตรีบำบัดไปใช้ได้ก็จะช่วยให้มีชีวิต ชีวาขึ้น ทั้งสุขภาพจิต สุภาพใจก็จะดีตามมา

       ** ยึดถือ ‘ในหลวง’ เป็นแบบอย่าง คืนสู่สังคมร่มเย็น
       จาก วันนั้นจนถึงวันนี้การดำเนินงานของมูลนิธิโลกสีฟ้าได้สร้างความภาคภูมิใจมา ยังสมาชิกทุกคนโดยเฉพาะกับประธานกลุ่มฯ ที่เผยความรู้สึกว่า “ตอน นี้ไม่ว่าเราจะไปร้องเพลง ทำการแสดงที่ไหนก็จะได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นจำนวนมาก ตรงนี้เองทำให้เรารู้สึกว่า ถึงแม้จะพวกเราจะเข้าสู่วัยชรา แต่ก็ยังได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำประโยชน์ สร้างชีวิต ชีวาให้เกิดขึ้นในสังคม ที่สำคัญทำให้รู้ว่าพวกเรายังมีความหมาย มีคุณค่าแก่สังคม สิ่งที่ทำได้แสดงให้หลายๆ คนเห็นแล้วถึงเราจะแก่แต่ก็ไม่ได้สร้างภาระให้กับใคร แถมยังเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่คนรุ่นหลังอีกด้วย” คุณย่าพวงทองเผยความรู้สึก
      
       ถึงตรงนี้เนื่องในวันผู้สูงอายุที่มาถึง สิ่งที่คุณย่าพวงทองเป็นห่วงมากที่สุด คือ ปัญหาการใช้ความรุนแรงในเด็กและเยาวชนที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นทางมูลนิธิโลกสีฟ้าจึงมีแนวคิดว่า อยากจะสร้างเครือข่ายในการปลุกจิตสำนึกรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้เกิดขึ้นแก่เยาวชนผ่านเสียงเพลง โดยอาจเดินสายไปตามโรงเรียนต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นแก่เยาวชน
      
       “สิ่งที่ประชาชนชาวไทยทุกคนสามารถทำได้คือ การยึดถือองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต”คุณย่าพวงทองทิ้งท้าย

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ไหมไทยคอนเสิร์ต 2553






รายละเอียด

บัตรราคา 1,200 1,000 และ 800 บาท
บัตรสำหรับนักเรียน-นักศึกษา ราคา 500 บาท (ไม่ระบุเลขที่นั่ง)


จองบัตรได้ที่

ร้านน้อง ท่าพระจันทร์
*เฉพาะที่นั่งแถว A, C, L, M, N, O, P, Q, R, S, T, U และบัตรสำหรับนักเรียน-นักศึกษา
โทร: 02-221-4421
เวบไซต์: www.nongtaprachan.com

บ.สองสมิต จำกัด *เฉพาะที่นั่งแถว B, J, K
156 ซอยเจริญมิตร สุขุมวิท63 วัฒนา กรุงเทพฯ 10110
โทร: 02-392-0517 โทรสาร: 02-381-8992
อีเมล: songsmith@dnunet.com และเวบไซต์ dnunet.com
1.      โอนเงินเข้าบัญชีชื่อ บริษัท สองสมิต จำกัด บัญชีกระแสรายวัน
เลขที่บัญชี 059-1-03583-5 ธนาคารกสิกรไทย สาขาเอกมัย
2.      ส่งใบสั่งซื้อ(รายละเอียดด้านล่าง) และหลักฐานการโอนเงินมาที่
บ.สองสมิต จำกัด 156 ซอยเอกมัย10 สุขุมวิท63 วัฒนา กรุงเทพฯ 10110
หรือ ทางโทรสารหมายเลข 02-381-8992

โปรดระบุข้อมูลของท่านตามรายการดังนี้
1. ชื่อ, นามสกุล
2. ที่อยู่
3. หมายเลขโทรศัพท์
4. E-mail Address (ถ้ามี)
5. หมายเลขที่นั่ง(กรุณาโทรสอบถาม) และจำนวนที่นั่งที่ต้องการ

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ผู้คน ดนตรี ชีวิต / ศิลปวัฒนธรรม





ผู้คน ดนตรี ชีวิต

     ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ นัก มานุษยวิทยา ให้ทัศนะดนตรีเป็นการแสดงออกประเภทหนึ่งซึ่งมีรูปแบบแตกต่างกันออกไปในแต่ละ วัฒนธรรม ทั้งในด้านของท่วงทำนอง ลีลาในการร้องและเนื้อหา ขณะที่ผู้คนในสังคมและวัฒนธรรมเดียวกันได้รังสรรค์และรับฟังดนตรีอย่างหลาก หลาย เพื่อหยั่งถึงโลกแห่งสุนทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นดนตรีชาติพันธุ์ ดนตรีศาสนา ดนตรีสำหรับผู้หญิง เพศที่สาม และดนตรีเพื่อการเยียวยา เป็นต้น

     นัก มานุษยวิทยา ศึกษาดนตรีในมิติที่สัมพันธ์กับบริบทการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม อาทิ ความเปลี่ยนแปลงของความหมายของดนตรีและเสียงต่างๆ ซึ่งรายล้อมและเกี่ยวสัมพันธ์กับมิติในด้านต่างๆ ในชีวิตของผู้คน นอกจากนี้ยังกะเทาะให้เห็นถึงมิติอันละเอียดอ่อนแยบคายของอำนาจไม่ว่าจะอยู่ ในฐานะการครอบงำและการต่อต้าน ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันหรือภายใต้บริบทสำคัญทางการเมือง

     สุด ท้ายแสดงให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์ ในฐานะที่เป็นผู้กระทำการที่สร้างสรรค์ คิดค้น หยิบยืม และร้อยเรียงเสียง จังหวะ และเนื้อร้องเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการปรับตัว ต่อรอง หรือนำมาเป็นส่วนหนึ่งในความเป็นตัวตนของเขาให้เหมาะสมกับห้วงสถานการณ์ ต่างๆ

“ดนตรีในมิติวัฒนธรรม” มิได้มีเพียงนักดนตรี เครื่องดนตรี ตัวโน๊ตและผู้ชมเท่านั้นหากยังมี “เสียง” ที่ สามารถบอกเล่าเรื่องราว ความหมาย ความทรงจำ และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของผู้คนซึ่งมีชีวิตโลดแล่นอยู่ในบทเพลงได้อย่างเต็มอรรถรส นอกจากนี้ Soundscape หรือ “ภูมิทัศน์ที่สร้างโดยเสียง” นับเป็นพรมแดนความรู้ใหม่ของนักมานุษยวิทยา ที่เชื่อมโยงมนุษย์ไปสู่สภาวะต่างๆ ตั้งแต่ภาวะเจ็บป่วย บำบัดเยียวยา การฟื้นความทรงจำ และการก่อร่างตัวตน เป็นต้น

     มุมมองนักมานุษยวิทยา นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ มองว่า การสร้างสรรค์ “เสียง” ที่ มีแบบแผนและทำซ้ำ ๆ กัน โดยเครื่องมือหรือสิ่งที่ทำให้เกิดเสียงเป็นกิจกรรมที่พบได้ทั่วไปในสังคม มนุษย์ทุกแห่ง ท่วงทำนองต่างๆ อาจมีตั้งแต่จังหวะง่ายๆ ไปจนถึงจังหวะที่ซับซ้อน คุณภาพของเสียงอาจมีทั้งหยาบฟังแล้วไม่ลื่นหูไปจนถึงละเอียดฟังแล้วเคลิบ เคลิ้ม ผู้สร้างเสียงดนตรีอาจมีทั้งคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม เครื่องมือทางดนตรีและเสียงก็อาจมีการประดิษฐ์ใหม่และมีการถ่ายทอดเทคนิค ผ่านคนรุ่นต่างๆ กัน

     หน้าที่ทางสังคมของดนตรี ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของเสียงที่ปรากฏขึ้น ดนตรีอาจเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ ขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมและสถานการณ์ เช่น ดนตรีกับการเกษตรกรรม การรักษาพยาบาล พิธีกรรมทางศาสนา หรือการเมือง นอกจากนั้นดนตรีอาจเป็นจินตนาการส่วนตัวของผู้สร้างสรรค์หรือสร้างขึ้นเพื่อ มวลชน อาจเป็นกิจกรรมของเครือข่ายระหว่างประเทศ

     กิจกรรมของ มนุษย์ส่วนใหญ่ มักจะใช้ดนตรีเพื่อปลดปล่อยบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมหรือการทำงาน การเต้นรำและเทคนิคการเคลื่อนไหวร่างกายทั้งหลายมักจะใช้ดนตรีเป็นสื่อในการ แสดงเพื่อทำให้นักเด่นตระหนักถึงตัวตน การศึกษามานุษยวิทยาการดนตรีเป็นการศึกษาดนตรีในวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับ ความคิด พฤติกรรม และเสียงที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน

การศึกษาดนตรี แบบมานุษยวิทยา มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง และการศึกษาดนตรีนอกสังคมตะวันตกต้องอธิบายจากบริบททางวัฒนธรรมการศึกษา ดนตรีทางชาติพันธุ์ (ethnomusicology) เริ่มปรากฏเป็นสาขาย่อยชัดเจน ในช่วงทศวรรษที่ 1950 เป็นการศึกษาที่เน้นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเสียงที่ถูกสร้างโดยมนุษย์ เช่น เสียงดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งศึกษาบริบททางวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดเสียงเหล่านั้น

     การ จัดแบ่งประเภทดนตรีตามสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง ประวัติศาสตร์ และจิตวิทยา ทำให้เห็นว่ามีดนตรีประเภทไหนที่กำลังสูญหายและสมควรได้รับการปกป้องคุ้ม ครอง โดยเฉพาะดนตรีพื้นบ้าน ทั้งนี้สถาบันสมิธโซเนียนได้จัดตั้งโครงการ The Folklife Program เพื่อเก็บรวบรวมดนตรีพื้นบ้านที่กำลังเลื่อนหายไป และกระตุ้นให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาตระหนักถึงปัญหานี้

นอก จากการจัดแบ่งประเภทดนตรีตามสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมแล้ว ทฤษฎีเกี่ยวกับดนตรีอื่นๆ ยังมองมิติของการเป็นเครื่องมือต่อต้านขัดขืนจากการถูกกดขี่ข่มเหง แนวคิดนี้มีการนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวคิดเรื่อง “ความเท่าเทียม” โดยอาศัยดนตรีและการเต้นรำเป็นสื่อในการแสดงออก

     ดนตรีพื้นเมือง มิให้สูญหายไปจากมนุษยชาติ “อำนาจ” ของ ดนตรีนี้มีผลต่อจิตวิญญาณ มนุษย์จะสร้างพลังออกจากตัวเอง แต่พลังนี้เป็นสิ่งที่ลี้ลับมองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ ช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย หรือความอึดอัดได้ ดนตรีประเภทนี้อาจพบในพิธีรักษาโรคภัยไข้เจ็บ อิทธิพลของภาษาศาสตร์ก็ถูกนำมาอธิบายเรื่องดนตรี

สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม กำลังมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ภาพยนตร์ ดนตรี และโฆษณาซึ่งขับเคลื่อนด้วยการบริโภคสินค้า ตัวอย่าง “ดนตรีโลก” (world music) ชี้ ให้เห็นว่าความหลากหลายของดนตรีกำลังหายไป เพราะดนตรีกำลังกลายเป็นสินค้าที่เหมือนๆ กัน นักมานุษวิทยาเองตั้งข้อสังเกตว่า การพัฒนาดนตรีสมัยใหม่ เป็นการผสมผสานระหว่างดนตรีพื้นเมืองกับดนตรีสากล

ยังมีประเด็นรายละเอียดอีกมากมายใน “ผู้คน ดนตรี ชีวิต” การเปิดพรมแดน “ดนตรีในโลกมุสลิม” การ แสดงพื้นบ้านแถบคาบสมุทรมลายู อาทิ ระบำชวา ระบำจากสุมาตรา สิละ และรำกริช ด้านดนตรีกับการ เมือง ดนตรีเป็นสุนทรียภาพอย่างหนึ่งที่มีมิติทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องตลอด เวลา ด้านดนตรีชาติพันธุ์หรือเครื่องดนตรีท้องถิ่นชนิดต่างๆ ปรากฏอยู่ทั่วโลก

     เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของงานประชุมวิชาการ ทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 8 ในวันที่ 25-27มีนาคม ศกนี้ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จะเปิดพรมแดนความรู้ใหม่เกี่ยวกับดนตรี เพื่อเป็นสะพานเชื่อมโยงสาขาวิชามานุษยวิทยาไปสู่การทำความเข้าใจปรากฏการณ์ ทางสังคมและวัฒนธรรมผ่านการศึกษา


หมายเหตุ 

รียบเรียงจากจดหมายข่าว ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)
สุวิมล เชื้อชาญวงศ์

 


*

 สยามรัฐ 24 มกราคม 2552

ดนตรีและนาฏศิลป์ มีรากเหง้าร่วมกันทั้งสุวรรณภูมิ



คอลัมน์ สยามประเทศไทย
โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ


ร้องรำทำเพลง ดนตรีและนาฏศิลป์ชาวสยาม มีปกหน้าเป็นลายเส้นรูป "หมอลำ-หมอแคน" ส่วนปกหลังเป็นลายเส้นรูป "ระบำรำเต้น" ในพิธีกรรม ทั้ง 2 รูปมีอายุราว 3,000 ปีมาแล้ว

ลาย เส้นเป็นรูปต่างๆ ที่ยกมา ล้วนสลักอยู่บนเครื่องมือสัมฤทธิ์ที่มีอายุราว 3,000 ปีมาแล้ว พบในเวียดนามภาคเหนือ นักโบราณคดีสมมุติเรียกเครื่องมือสัมฤทธิ์เหล่านี้ว่า "วัฒนธรรมดองซอน" (ดองซอนเป็นชื่อจังหวัดในภาคเหนือเวียดนาม) ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมบ้านเก่า (ที่กาญจนบุรี) กับวัฒนธรรมบ้านเชียง (อุดรธานี)

3,000 ปีมาแล้วยังไม่มีชาติและประเทศเหมือนทุกวันนี้ ฉะนั้นเครื่องมือเครื่องใช้สัมฤทธิ์ กับหมอลำ-หมอแคน, ระบำรำเต้น จึงเป็นวัฒนธรรมร่วมของสุวรรณภูมิ ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของพวกเดียว หากเป็นเจ้าของร่วมกัน คือเป็นของบรรพชนชาวสุวรรณภูมิที่เป็นอุษาคเนย์ทุกวันนี้ซึ่งมีไทยอยู่ด้วย


*ถ้าดูเผินๆ จะเห็นว่าท่าทางในลายเส้นล้วนเป็น "สามัญลักษณะ" มียืด-ยุบ อย่งท่ารำโขน-ละคร ทุกวันนี้นั่นเอง จึงยกเป็นรากเหง้าของโขน-ละครของไทยได้

หลายคนอาจแย้งว่าหมอลำ-หมอแคน เป็นสิ่งแสดงความเป็น "ลาว" ก็ ขออธิบายว่านี่เป็นทรรศนะดูถูกของคนยุคกรุงเทพฯเท่านั้น เพราะในยุคกรุงศรีอยุธยาแล้ว แคนเป็นเครื่องดนตรีศักดิ์สิทธิ์ชั้นสูงที่ราชสำนักกรุงศรีอยุธยาใช้บรรเลง ขับกล่อมพระเจ้าแผ่นดิน มีพยานหลักฐานตรงๆ อยู่ในวรรณคดีเรื่องอนิรุทธคำฉันท์ ออกชื่อ "แคน" ชัดๆ

หลัก ฐานอยุธยาดังกล่าวสอดคล้องกับหลักฐานยุคก่อนหน้านั้นนับพันปี มีเอกสารต่างประเทศกล่าวถึงเครื่องเป่าน้ำเต้า (คือ แคน) แพร่กระจายในกลุ่ม ชนชั้นสูงทั้งอุษาคเนย์ทั่วผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ

ข้อ ด้อยของการศึกษาดนตรีและนาฏศิลป์ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย คือยกแต่การละเล่นในราชสำนักลุ่มน้ำเจ้าพระยาเท่านั้นที่แสดง "ความเป็นไทย" เรียกดนตรีไทย เรียกนาฏศิลป์ไทย

     ส่วน การละเล่นของท้องถิ่นอื่นๆ ไม่เป็นไทย เลยยกให้เป็นพื้นเมือง เช่น ดนตรีพื้นเมือง นาฏศิลป์พื้นเมือง ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นมรดกจากบรรพชนคนไทยทุกวันนี้ทั้งสิ้น ไม่ว่า หมอลำ-หมอแคน หรือโนรา, หนังตะลุง ฯลฯ

กระทรวงวัฒนธรรมควรทบทวนการ เรียนการสอนของสถาบันในสังกัดให้ทันสมัย อย่างมีสมอง ขณะเดียวกันกระทรวงศึกษาธิการก็ต้องปรับปรุงการเรียนการสอนให้สอดคล้องหลัก ฐานประวัติศาสตร์โบราณคดี

ถ้าร่ำเรียนเขียนอ่านแต่เรื่องโกหกพกลมอย่างที่เป็นมานานแล้ว สติปัญญา ก็อ่อนแอ กลายเป็นพวก "ทันสมัย แต่ไร้สมอง"

*
มติชนรายวัน วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551

นักแหกกฎดนตรี


ประทีป สุพรรณโรจน์





*












"คุณรู้ไหม...การเป็นวาทยกรดูเหมือนง่าย แต่จะทำยังไงให้นักดนตรีเล่นได้ถูกต้องและดี

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : นี่คือหน้าที่ของคนควบคุมวง ส่วนที่ไปยืนท่าเท่ๆ นั่นหน้าที่เสริม"

แม้ดนตรีคลาสสิกจะมีแบบแผนและกฎเกณฑ์ตายตัว แต่ถ้ามีความเข้าใจดนตรีอย่างแตกฉาน ก็สามารถแหกกฎได้ ซึ่งเรื่องนี้ ประทีป สุพรรณโรจน์ หัวหน้าแผนกดนตรี กองดุริยางค์ทหารบก กล้าที่จะทำเช่นนั้น

ทำไม คนดนตรีที่ร่ำเรียนตามแบบแผนคลาสสิก ทั้งด้านการควบคุมวง การประพันธ์เพลงและเรียบเรียงเสียงประสาน จึงกล้าที่จะแหกกฎในหลายๆ เรื่องของดนตรี

ปัจจุบันประทีปมีหน้าที่หลายบทบาท นอกจากงานประจำที่กองดุริยางค์ทหารบก เขายังยังเป็นผู้อำนวยเพลงและผู้เรียบเรียงเพลงวง ดร.แซ็กเชมเบอร์ ออร์เคสตรา ผู้อำนวยการเพลงไทยแลนด์ฟิลฮาร์โมนิก ออร์เคสตรา, อาจารย์สอนดนตรีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกำลังเตรียมสอบเข้าเรียนปริญญาเอก ด้านการควบคุมวงดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เส้นทางดนตรีของประทีปก็ไม่ใช่ว่าได้มาง่ายๆ เริ่มจากความเพียร หมั่นฝึกฝน กล้าคิดแตกต่าง และชอบซักถามครูบาอาจารย์

ตอน ที่เขาได้ทุนไปเรียนสาขาดนตรีสากลที่มหาวิทยาลัย Kingston ประเทศอังกฤษ ประทีปเป็นคนไทยคนเดียวที่เรียนด้านนี้ แรกๆ พูดภาษาอังกฤษกระท่อนกระแท่น พอปรับตัวได้แล้ว ก็สอบได้ที่หนึ่งของชั้นเรียนมาตลอด (เคยสอบได้ที่สองครั้งเดียว) เขาทำให้เพื่อนฝรั่งทึ่งกับวิธีคิดการเรียบเรียงเสียงประสานและการประพันธ์ เพลง และได้รางวัลมากมาย อาทิ รางวัลชนะเลิศการประพันธ์เพลงมาร์ช The Commandant S Prize ,รางวัลชนะเลิศการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงป๊อปปูล่า The Tomlison Award ฯลฯ

และเขาทำให้ชาวต่างชาติได้รู้ว่า คนไทยก็สร้างสรรค์ดนตรีได้ไม่แพ้ฝรั่ง ตอนที่ประพันธ์เพลงมาร์ชจนได้รับรางวัล เขาบอกว่าเพราะความคิดถึงบ้าน ก็เลยใช้บทเพลงพระราชนิพนธ์ แสดงถึงความทระนงที่เกิดเป็นคนไทยจากก้นบึ้งของหัวใจ

ล่าสุดเมื่อ รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข ผู้อำนวยการวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า "ลองนำเครื่องดนตรีไทยเล่นร่วมกับวงออร์เคสตราได้ไหม"

เขา ก็ลองทำ จนได้แสดงในงานประชุมดนตรีระดับโลกครั้งที่ 28 ที่ประเทศอิตาลี เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทำให้เยาวชนไทยได้รับการตบมืออย่างเกรียวกราว

ขอย้อนไปถึงวัยเด็กสักนิด มีใครในครอบครัวคุณเล่นดนตรีบ้าง

ไม่ มี แต่สิ่งที่ผมค้นพบตอนหลังก็คือ พ่อผมอยากเล่นดนตรี แต่ปู่ไม่ให้เล่น ทำให้ผมนึกถึงงานวิจัยหมอศิริราชที่บอกว่า ถ้าสิ่งใดที่พ่อแม่อยากทำตอนเด็ก และไม่ได้ทำ ดีเอ็นเอก็จะตกมาถึงลูกหลาน ผมเป็นคนเดียวในบ้านที่ได้เรียนดนตรี ผมเป็นคนสุพรรณ ฐานะทางบ้านไม่ดี ได้เข้าเรียนโรงเรียนดุริยางค์ทหารบก พ่อแม่ไม่ต้องส่งเรียน เพราะมีเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือน

นอกจากเล่นดนตรี ผมยังอยากประพันธ์เพลงและเขียนเพลงด้วย แต่ตอนนั้นที่โรงเรียนไม่ได้สอน ผมก็ใช้วิธีซักถามครู ฝึกทดลองทำ เราเป็นนักเรียนรุ่นพี่ก็ให้รุ่นน้องลองเล่น ผิดถูกไม่รู้ ผมจำได้ว่า ครูคนหนึ่งบอกผมประโยคหนึ่งว่า "ถ้าเมโลดี้วิ่ง เสียงประสานหยุด ถ้าแนวทำนองหยุด แนวเสียงประสานวิ่ง" หลังจากนั้นผมก็เอาตรงนั้นมาตีความ ผมเรียนแบบครูพักรักจำ พอไปเรียนที่อังกฤษทำให้ผมเข้าใจมากขึ้น ได้เรียนด้านเรียบเรียงเสียงประสานเป็นเวลาสามปี การได้เรียนต่างประเทศเหมือนได้เห็นแนวทางชีวิตตัวเองชัดขึ้น ทั้งการเรียบเรียงเสียงประสาน ประพันธ์เพลงและหัดควบคุมวง

คุณรู้ ไหม...การเป็นวาทยกรดูเหมือนง่าย แต่จะทำยังไงให้นักดนตรีเล่นได้ถูกต้องและดี นี่คือหน้าที่ของคนควบคุมวง ส่วนที่ไปยืนท่าเท่ๆ นั่นหน้าที่เสริม

ก่อนเดินทางไปเรียนต่างประเทศ คุณก็คิดว่าชาวต่างชาติคงเก่งกว่าคนไทย ?

ผม ก็เป็นคนหนึ่งที่เทิดทูนพวกต่างชาติมาก นึกว่า พวกเขาเก่ง แต่พอผมไปเรียนก็ได้รู้ว่า บางเรื่องเขาก็ไม่รู้มากไปกว่าเรา ไม่ได้เก่งทุกคน ถ้าคนไหนเก่ง เราก็เรียนรู้จากเขา พอผมไปเรียนในอังกฤษ ก็ได้รู้ว่า คนไทยก็ไม่ได้ด้อยกว่าต่างชาติ แม้ผมจะเป็นนักเรียนทุนรัฐบาล แต่ผมก็เก็บเงินเรียนดนตรีเพิ่มเติมนอกมหาวิทยาลัยด้วย เพราะวิธีคิดของคนสอนต่างกัน

พอไปเรียนที่อังกฤษ ได้เรียนทั้งการประพันธ์เพลง การเรียบเรียงเสียงประสาน และฝึกเป็นวาทยกร ทำให้คุณได้เปลี่ยนแปลงตัวเอง ?

ตอน เรียนที่โรงเรียนดุริยางค์ทหารบก ก็คิดว่า เล่นดนตรีเพื่อการดำรงชีพ แต่พอไปเมืองนอกทำให้มีวิสัยทัศน์ เราตั้งเป้าหมายไว้ว่า ต้องขึ้นไปให้ถึงยอดเขา พอขึ้นไปถึงยอดเขา ก็ได้รู้ว่ายังมียอดเขาอีกหลายลูกที่เราต้องไปให้ถึงอีก

ผมจำได้ ว่า ตอนอยู่ที่อังกฤษ ผมรู้สึกคิดถึงบ้าน ก็เลยนึกถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์ คิดถึงบ้าน แล้วนำมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ ส่งประกวดก็ได้รางวัลชนะเลิศการประพันธ์เพลงมาร์ช ตอนนั้นผมใช้เพลงแนวละตินเรียบเรียงเสียงประสาน

เมื่อสิบปีที่แล้ว คุณเป็นคนไทยคนเดียวที่เรียนดนตรีสากลในมหาวิทยาลัย Kingston ?

แรกๆ ผมก็ถูกมองเหมือนกะเหรี่ยง จนผมสอบได้คะแนนสูงสุดอันดับหนึ่ง เพื่อนฝรั่งถึงกับอึ้ง ผมได้ที่หนึ่งตลอด เคยสอบได้ที่สองครั้งหนึ่ง ช่วงแรกผมก็พูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ อาจารย์พูดอะไรก็ไม่รู้เรื่อง แต่พออาจารย์เอางานมาให้ทำ เรื่องดนตรีผมรู้หมด

มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมทำงานไปส่งอาจารย์ ผมก็คิดตามตำราเหมือนพวกฝรั่ง แต่พอทำงานอีกครั้ง ผมทำแหกกฎ ไม่ทำตามตำรา แต่อยู่ในมาตรฐานของตำรา ผมฉีกกฎดนตรี อย่างเวลาประพันธ์เพลงมาร์ชมีกฎว่า ห้ามใช้บันไดเสียงไมเนอร์ ใช้ได้เฉพาะเสียงเมเจอร์ ผมใช้บันไดเสียงไมเนอร์ แต่พอวงดนตรีลองเล่นปรากฏว่าออกมาดีและประสบความสำเร็จ

ไม่ทำตามตำรา แต่สามารถเรียบเรียงเสียงประสานออกมาได้ดี คุณมีวิธีคิดอย่างไร

อย่าง เพลงของยิว เวลาเล่นดนตรีด้วยบันไดเสียงไมเนอร์จะให้อารมณ์ที่ลึกซึ้ง เคร่งขรึม จริงใจและหนักแน่น แต่ถ้าใช้บันไดเสียงเมเจอร์จะให้ความรู้สึกถึงเกียรติยศและศักดิ์ศรี ถ้าเปรียบเทียบกับคน บันไดเสียงเมเจอร์ก็เหมือนคนหน้าตาดี แต่ถ้าเป็นบันไดเสียงไมเนอร์ นอกจากหน้าตา แล้วยังดูจริงใจ ดังนั้นเพลงที่ผมเรียบเรียงเสียงประสาน ผมจะใช้ทั้งบันไดเสียงไมเนอร์และเมเจอร์รวมกัน เพราะในชีวิต ถ้าเราเป็นคนหน้าตาดี จิตใจก็ต้องดีด้วย

เวลาผมประพันธ์เพลงมาร์ช เพลงพวกนี้บอกถึงความรักชาติที่ออกมาจากก้นบึ้งหัวใจ จึงใช้บันไดเสียงไมเนอร์และเมเจอร์ แสดงถึงความรักชาติและรักจากใจ

แล้ววิธีการนำเครื่องดนตรีไทยมาผสมผสานกับวงออร์เคสตรา คุณทำอย่างไร

กลับ มาเมืองไทยกว่าสิบปีแล้ว ผมเคยเอาเพลงไทยมาเล่นแบบวงสากล เพลงแรกที่เรียบเรียงเสียงประสานใหม่คือ เพลงลาวดวงเดือน ผมชอบทำดนตรีที่แหกกฎ ไม่อยากทำแบบเดิม อย่างดนตรีสากลมีกฎห้ามใช้คอร์สโน้น คอร์สนี้ ผมก็เอามาใช้ ผมไม่ได้คิดเรื่องฟังก์ชันอย่างเดียว ผมจะคิดเรื่องเสียงด้วย หากใช้เสียงลักษณะนี้ก็ทำให้อารมณ์ดนตรีเปลี่ยนไป แม้วิธีการของผมหลักทฤษฎีจะผิด แต่ผู้เรียบเรียงเสียงประสานในยุคใหม่ก็ใช้ ไม่ใช่ว่าผมนึกจะใช้ก็ใช้ ผมก็ศึกษาข้อมูลด้วย

ผมเล่นเพลงลาวดวง เดือนด้วยวงออร์เคสตรา จนอาจารย์สุกรี เจริญสุข ถามผมว่า คุณสามารถทำวงออร์เคสตราเล่นร่วมวงกับจะเข้ได้ไหม ผมก็เรียนแนวตะวันตกมามากมาย ผมก็คิดว่า จะเอาวัฒนธรรมตะวันตกและเทคโนโลยีมารับใช้วัฒนธรรมไทย แม้จะเข้จะจูนเสียงไม่เหมือน มีโน้ตอยู่สองตัวของเครื่องดนตรีไทยที่ไม่เข้ากับดนตรีสากล ผมก็เลยคิดว่า ถ้าดนตรีไทยเล่นโน้ตสองตัวนี้ ดนตรีสากลก็จะไม่เล่นโน้ตสองตัวนั้น เพราะโน้ตตัวอื่นสามารถจูนได้ใกล้เคียงกัน ครั้งแรกที่ผมเอาจะเข้มาเล่นร่วมกับออร์เคสตราใน เพลงจีนขิมใหญ่ แล้วก็เดี่ยวพญาโศก และกราวใน

คุณคงมีแนวคิดที่จะเอาเครื่องดนตรีไทยชิ้นอื่นๆ มาเล่นร่วมกับวงดนตรีสากล ?

ที่ คิดไว้อีกคือ ระนาด บางคนก็คิดว่า เราต้องจูนระนาดใหม่ แต่สำหรับผมคิดว่า ระนาดไทยเล่นกับเครื่องดนตรีสากลได้ ผมก็คิดว่า ถ้าระนาดเล่นสเกลหรือบันไดเสียงนั้น พอมาเล่นกับสากลก็ต้องเปลี่ยนบันไดเสียงของสากลให้เข้ากับระนาด ไม่ใช่จูนระนาดเข้ากับวงสากล เพราะระนาดก็ต้องมีตัวตน ผมก็ใช้วิธีเดียวกับการเล่นจะเข้

และในอนาคตผมคิดจะเอาซอด้วงตัว เดียวมาเล่นร่วมกับวงดนตรีสากล อย่างในอเมริกาก็ยอมรับดนตรีจีน ผมก็คิดว่า ดนตรีไทยก็ไม่ได้ด้อยกว่าดนตรีจีน อีกอย่างผมคิดว่า วัยรุ่นสมัยใหม่ยังไม่รู้ว่า ดนตรีไทยเป็นอย่างไร ผมไม่อยากให้อีกสิบยี่สิบปีข้างหน้าดนตรีไทยหายไป ผมก็เลยคิดว่า จะทำอย่างไรให้ดนตรีไทยได้เล่นกับวงออร์เคสตรา เพื่อให้ดนตรีไทยมีคุณค่า

ดนตรี ไทยที่ผมนำมาผสมผสานกับวงออร์เคสตรา ก็ต่างจากวงบอยไทยที่เป็นป็อปปูล่า และต่างจากออร์เคสตราวงไหมไทยจะออกโทนหวานๆ แต่ผมจะมีลูกดุดัน และฉีกแนว วงดร.แซ็กเชมเบอร์ที่ไปเล่นที่อิตาลี ก็เป็นงานแนวทดลอง วงของเราถูกคัดจากหกพันมหาวิทยาลัยทั่วโลก เราได้อยู่ในสามร้อยวงที่เลือกเข้าไปเล่นในวันท้ายๆ ที่ถือว่า เป็นวงที่ดีที่สุด

ผมอยากผลักดันให้ดนตรีไทยเป็นที่รู้จัก อย่างเราไปเล่นที่อิตาลี วงดนตรี ดร.แซ็กเชมเบอร์ ออร์เคสตรา บรรเลงเพลงไทยเกือบแปดเพลง ทั้งๆ ที่ฝรั่งไม่รู้จักเพลงไทยเลย แต่พวกเขาประทับใจ นี่คือความยาก พวกเขาตบมือขอให้เล่นอีก เราก็แถมเพลงสากล เพื่อให้เห็นว่า นอกจากเพลงไทยแล้ว เราสามารถเล่นเพลงสากลได้ด้วย

การทำงานกับคนรุ่นใหม่ คุณมีวิธีการดึงศักยภาพพวกเขาอย่างไร

เทคโนโลยี ที่คนรุ่นใหม่เรียนรู้ ผมก็ต้องรู้ ผมไปนั่งเรียนปริญญาโท วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางวิชาผมนั่งเรียนกับลูกศิษย์ ผมอยากให้เด็กเห็นว่า อาจารย์ก็ยังใฝ่หาวิชาความรู้ ทั้งๆ ที่ผมเรียนการประพันธ์เพลงมาแล้ว แต่ผมอยากเรียนรู้วิสัยทัศน์ เพราะการเรียนไม่มีวันจบสิ้น การเรียนเป็นโลกของจินตนาการ แต่พอเรียนจบแล้ว นั่นคือโลกของความจริง และผมกำลังจะสอบเรียนปริญญาเอก

คุณเชื่อว่า พรสวรรค์สร้างได้ ?

พรสวรรค์ เกิดจากการฝึกฝนบ่อยๆ แต่บางคนอาจมีดีเอ็นเอพิเศษคือ มีพรสวรรค์ แต่ถ้าไม่ฝึกฝนเรียนรู้ก็ไม่เก่ง และผมไม่เชื่อว่า คนอายุมากเรียนดนตรีไม่ได้ ผมเคยเจอคุณป้าวัย 60 ปีเพิ่งมาหัดเรียนเปียโน ปัจจุบันเล่นดนตรีเก่งมาก บางคนใจรักหมั่นฝึกฝนก็เล่นได้ดี ยกตัวอย่างพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เพิ่งมาหัดเรียนดนตรีไม่เกินสิบปี ท่านมีใจเพลง ก็ส่งน้องๆ ในโรงเรียนดุริยางคศิลป์ทหารบกไปสอนท่านที่บ้าน ปัจจุบันท่านแต่งทำนองเพลงไว้ 60-70 เพลง บางเพลงมีความไพเราะให้ความหมายดีๆ

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ท่านเองก็ไม่เคยเล่นดนตรีมาก่อน ท่านอาจจะร้องเพลงได้ ท่านหัดเล่นเปียโนก่อน แล้วหัดแต่งเพลง บางคนบอกว่า ดนตรีเล่นยากต้องใช้เวลา ถ้ามาเรียนตอนแก่ก็ช้าเกินไป ผมคิดว่า ไม่มีอะไรช้าเกินไป

ตอนแรกๆ ที่คุณบอกว่า พอปีนถึงยอดเขาที่สูงที่สุดแล้ว ก็เห็นยอดเขาอีกหลายลูก คุณจึงต้องปีนต่อ เหมือนกับชีวิตคุณไหม ?

ผม กำลังจะสอบเข้าเรียนปริญญาเอกด้านการควบคุมวง ที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล แต่มีคนบอกว่า ทำไมไม่เรียนต่างประเทศ ผมเคยเรียนในต่างประเทศแล้ว ผมเรียนในเมืองไทยดีกว่า ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะอาจารย์ที่สอนก็บินมาจากต่างประเทศ และผมก็เรียนเพื่อค้นหาสิ่งใหม่ๆ

เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ
 
*
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 25 ตุลาคม 2551

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การประกวดเพลงยูโรวิชัน



การประกวดเพลงยูโรวิชัน (อังกฤษ: Eurovision Song Contest; ฝรั่งเศส: Concours Eurovision de la chanson) คือการประกวดการร้องเพลงประจำปี ในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิก European Broadcasting Union (EBU) โดยประเทศที่ร่วมเข้าแข่งขันจะเลือกเพลงและนักร้อง ประเทศละหนึ่งชุดโดยใช้ผู้แสดงไม่เกินหกคน ที่จะแสดงสดทางโทรทัศน์ โดยเพลงที่เข้าประกวดต้องเป็นเพลงที่แต่งขึ้นมาใหม่ทั้งเนื้อร้องและทำนอง

คณะกรรมการคือประชาชนในประเทศสมาชิก EBU ซึ่งอาจรวมไปถึงประเทศอิสราเอลและโมร็อกโก แต่ไม่รวมลิกเตนสไตน์ โดยแต่ละประเทศอาจจะใช้คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นหรือจะใช้คะแนนโหวตจากผู้ชมทาง โทรศัพท์ก็ได้ ซึ่งแต่ละประเทศไม่มีสิทธิโหวตให้กับประเทศของตัวเอง ทุกประเทศจะได้มีเสียงโหวตเท่ากันไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก ด้วยเหตุนั้นประเทศรัสเซียจึงมีคะแนนเท่ากับโมนาโก โดยประเทศที่ได้คะแนนมากที่สุดสองอันดับแรกจะได้คะแนน 12 และ 10 คะแนน ส่วนอันดับสามถึงสิบจะได้คะแนนตั้งแต่ 8 จนถึง 1 คะแนน มีผู้ชนะเพียงอันดับเดียวเท่านั้นไม่มีการแจกรางวัลใดๆ มีเพียงโล่ที่ประกาศว่าคุณคือผู้ชนะ ประเทศของผู้ชนะจะเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดปีต่อไป โดยประเทศเจ้าภาพกับสี่ประเทศที่ออกค่าใช้จ่ายให้กับทาง EBU มากที่สุดสี่ประเทศได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี และสเปน จะสามารถส่งทีมเข้าประกวดในรอบชิงชนะเลิศได้เลย ส่วนประเทศที่เหลือทั้งหมดต้องเข้าประกวดรอบรองชนะเลิศ ซึ่งมีสองวันและคัดประเทศเข้ารอบชิงชนะเลิศวันละสิบประเทศ ทำให้รอบชิงชนะเลิศมีประเทศเข้าประกวดทั้งหมด 25 ประเทศ
 
การประกวดเริ่มมีการออกอากาศทุกปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1956 ถือเป็นรายการโทรทัศน์ที่มีต่อเนื่องยาวที่สุดในโลก และมีผู้ชมที่ไม่ใช่การแข่งขันกีฬามากที่สุด[1] โดยมีผู้ชมระหว่าง 100 ล้าน - 600 ล้านคน[2][3] ออกอากาศทั่วทั้งยุโรป และยังแพร่ภาพใน ออสเตรเลีย แคนาดา อียิปต์ ฮ่องกง อินเดีย จอร์แดน เกาหลี นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ และ สหรัฐอเมริกา ถึงแม้ประเทศเหล่านี้จะไม่ได้ร่วมแข่งขันก็ตาม

ตั้งแต่ปี 2000 การแข่งขันได้มีการแพร่ภาพทางอินเทอร์เน็ต[4] ที่มีคนชมร่วม 74,000 คนในเกือบ 140 ประเทศ[5] ประเภทของเพลงในการแข่งขันมีความหลากหลายแนว ไม่ว่าจะเป็น อาหรับ,ดนตรีเซลติก,แด๊นซ์,โฟล์ก,ละติน ,นอร์ดิก,ป็อป-แร็ป,ร็อก และอื่นๆ

ศิลปินดังที่ชนะเลิศจากรายการนี้ เช่น เซลีน ดิออน (สวิสเซอร์แลนด์) ปี 1988,แอ็บบ้า (สวีเดน) ปี 1974, ดานา อินเตอร์เนชันแนล (อิสราเอล) ปี 1998,ลอร์ดิ (ฟินแลนด์) ปี 2006, มาริยา เชริโฟวิช (Marija Šerifović) จากประเทศเซอร์เบีย ปี 2007 , ดิมา บิลาน (Dima Bilan) จากรัสเซีย ปี 2008 และ อเล็กซานเดอร์ รืยบัค (Alexander Rybak) จากนอร์เวย์ ปี 2009 และเลนา เมเยอร์-ลันดรุท (Lena Meyer-Landrut) จากเยอรมนี ปี 2010

*
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี