วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

"นักดนตรีก็เหมือนพ่อครัวปรุงอาหาร" สถาปนิก "ต้อม Jazz Seen" กับ ดนตรีที่มิใช่แค่ความบันเทิง


"ผมอยากจะเปิดเพลงให้คุณฟังเพลงนึง"...



"Träumerei" by Robert Schumann, played by Vladimir Horowitz

เมื่อสิ้นเสียงเพลง "ทรอยเมอไรย์" (Träumerei) หรือ "ความฝัน" ชื่อเพลงในภาษาเยอรมันของโรเบิร์ต ชูมันน์  พรหมมินท์ สุนทระศานติก หรือ "ต้อม Jazz Seen" ก็เริ่มเล่าให้เราฟังว่า

"ก่อนหน้าที่จะมีคอนเสิร์ตนี้ที่กรุงมอสโคว์ มีคนไปเข้าแถวรอซื้อบัตรคอนเสิร์ตยาวเหยียดเลย แล้วก็มีคนไปสัมภาษณ์แม่ค้าขายผลไม้คนหนึ่งที่ยืนต่อแถวอยู่ แม่ค้าคนนี้เก็บเงินเป็นเดือนๆเพื่อจะมาซื้อบัตรดูตาแก่คนนี้เล่น ในวิดีโอเราจะเห็นทั้งเด็กเล็กๆ คนสูงอายุ  คนมีฐานะ คนจน เห็นผู้คนหลากหลายมากที่เข้าไปซึมซับสุนทรียภาพของดนตรี แล้วบางคนนี่น้ำตาไหลพรากเลย นี่เป็นคุณภาพของคนที่น่าอิจฉามาก ถ้าดนตรีมีอิทธิพลที่ทำให้คนรู้สึกได้ขนาดนี้ แสดงว่าดนตรีมีพลังอะไรบางอย่างซึ่งส่งผ่านมาให้คนรับรู้ได้"


"คุณลองดูภาพนี้สิครับ...


ภาพ "WHEATSTACKS END OF SUMMER"  โดยศิลปิน CLAUDE MONET (ค.ศ. 1890)


"ในภาพๆนี้ ศิลปินพยายามจะเขียนแสงสุดท้ายของวัน แสงที่มันปรากฏอยู่บนผิวดิน บนกองฟาง บนท้องฟ้า เราไม่ต้องไปใช้ความคิดอะไรเลย เราใช้แค่ความรู้สึก ศิลปินจับความรู้สึกเหล่านี้ได้  เขาเขียนสิ่งที่มัน beyond words (เกินกว่าที่จะบรรยายเป็นถ้อยคำ) มันเป็นสภาวะอะไรบางอย่างที่เขาพยายามจะสื่อออกมาให้เรารู้ เพราะมันเป็นสิ่งที่เขาเองก็ไม่อาจอธิบายด้วยคำพูดได้"

"ผมว่าทุกคนก็เคยมีสภาวะอย่างนี้ ทั้งนั้น อย่างเวลาเราขึ้นไปบนภูกระดึงเพื่อจะดูพระอาทิตย์ขึ้น พอเราไปถึงหน้าผา เห็นแสงเปลี่ยน เราจะรู้สึกว่ามันสวยมาก เรามีความสุขมาก และเราอยากจะอธิบายอะไรบางอย่าง เราโทรบอกเพื่อนเพื่อบอกว่ามันสวยมากเลย เพื่อนก็ไม่เข้าใจแล้วถามว่ามันสวยยังไงหรอ คือมันสวยเกินกว่าที่เราจะใช้คำพูดอธิบายได้ สภาวะแบบนี้ คนที่เป็นจิตรกรก็จะหยิบผ้าใบขึ้นมาแล้วเขียนอารมณ์นั้นลงไป คนที่เป็นกวีก็เหมือนกัน เขาจะใช้คำแค่ไม่กี่คำถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ลงไป"


พรหมมินท์ สุนทระศานติก สถาปนิกอิสระและอดีตบรรณาธิการนิตยสาร Jazz Seen เจ้าของคอมลัมน์ Jazz for Art′s Sake กำลังพูดถึงความรักในดนตรี ศิลปะ และสถาปัตยกรรมของเขาให้แก่คนที่มาฟังงานเสวนา "สนทนา ภาษา ดนตรี" เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา  เขาเล่าถึง "ความอัศจรรย์ของดนตรี แม้ไม่รู้จักตัวโน้ต", แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ของดนตรีและภาพวาด และมิวายเชื่อมโยงศาสตร์แห่งเสียงเพลงเข้ากับสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาเคี่ยวกรำกับมันมากว่า 20 ปี

"ในทางสถาปัตย์ฯ เรามีการแบ่งแยกระหว่าง สิ่งก่อสร้าง (building) กับสถาปัตยกรรม (architecture)  เมื่อเราพูดถึงการใช้งาน พูดถึงเรื่องของโซนนิ่ง มันคือสิ่งก่อสร้าง ไม่ใช่สถาปัตยกรรม แต่ถ้าเราเข้าไปใช้มันแล้วเห็นว่า โอ้โห แสงที่ผ่านเข้ามามันสวยมาก เวลาเราเดินผ่านไปทำให้เราได้กลิ่นไม้ ได้กลิ่นดิน เราเห็นแสงที่กระทบกับผิวน้ำ นี่คือคุณสมบัติของสถาปัตยกรรม ซึ่งมันอยู่นอกเหนือไปจากฟังก์ชั่นการใช้งาน  ในทางภาพยนตร์หรือวรรณกรรมก็จะมีทั้งประเภทที่มันรับใช้แต่ฟังก์ชั่นอย่าง เดียว กับหนังหรือวรรณกรรมที่เป็นศิลปะจริงๆ"


นครินทร์ ธีระภินันท์ (กอล์ฟ ทีโบน), พรหมมินท์ สุนทระศานติก

พรหมมินท์บอกว่า ศิลปะทุกแขนงสามารถสื่อสารกับคนได้ เกณฑ์ในการประเมินคุณค่าทางศิลปะล้วนแต่เหมือนกัน  ทั้งดนตรี สถาปัตยกรรม วรรณกรรม หรือภาพยนตร์ ทั้งหมดนี้ล้วนมีรูปแบบ (form) และมีองค์ประกอบ (composition) ด้วยกันทั้งนั้น

"เวลาเราดูบอลบราซิล แล้วไปดูบอลอังกฤษ เราจะรู้ว่ามันคนละเรื่องกันเลย บอลอังกฤษมีแบบแผน มีฟอร์ม พอไปดูบอลเยอรมันก็จะเห็นว่าแข็งกระโด๊กเลย ฟอร์มของฟุตบอลต่างกันแม้ว่าจะเกิดจากการที่คนวิ่งไปวิ่งมาเหมือนกัน เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรม เวลาที่เรามองสถาปัตยกรรมของบราซิล มันมีสีสันจัดจ้านมาก ในขณะที่สถาปัตยกรรมแบบอังกฤษนั้นมีแบบแผนตายตัว ส่วนสถาปัตยกรรมเยอรมันก็จะแข็งมากๆ เพราะฉะนั้นสถาปัตยกรรม ดนตรี ฟุตบอล เหล่านี้มันสะท้อนถึงกันหมด ศิลปะทุกแขนงมันเหมือนกันหมด เพราะมันถูกสร้างมาจากคนในชาตินั้นๆ"

วกกลับมาที่เรื่องดนตรี

นอกจากจะพูดคุยถึงความงาม ของดนตรี ทั้งการทิ้งสเปซของเสียง ทั้งเรื่องของ "บุคลิกภาพในโทนเสียง" แล้ว พรหมมินท์ยังย้ำนักย้ำหนาว่า ดนตรีมิได้เป็นแค่ความบันเทิงเท่านั้น แต่ในดนตรียังมี "เนื้อหา" ด้วย


"เราเปิดวิทยุทั้งวัน แต่เราจะไม่ได้ยินดนตรีที่มันมี "ประเด็น" เลย  เนื้อหาของดนตรีเปลี่ยนไป ตอนนี้ดนตรีเป็นแค่ความบันเทิง เราเคยฟังเพลงแบบ บ๊อบ ดีแลนที่สามารถจะปลุกคนเป็นล้านๆคนออกมาบนท้องถนนได้ มันมีพลังมากขนาดนั้น แต่ปัจจุบันมันไม่มีแล้ว มันเป็นดนตรีที่แฝงไปด้วยโฆษณาชวนเชื่อ  ซึ่งมันทำให้เราลืมไปว่า มันมีดนตรีที่เป็นศิลปะจริงๆ"

"นักดนตรีก็เหมือนกับพ่อครัวที่ปรุงอาหาร พ่อครัวไม่มีสูตร แต่ใช้ความรู้สึกในการปรุงอาหาร นักดนตรีก็จะมีเซนส์อย่างนี้เหมือนกัน นักดนตรีที่กางโน้ตเล่นก็ไม่ต่างกับพ่อครัวที่กางตำราปรุงอาหาร มันจะไม่ได้รสชาติเลยหากนักดนตรีไม่ข้ามจากเรื่องของเทคนิคไปสู่ สุนทรียศาสตร์ เราในฐานะคนฟังไม่จำเป็นต้องไปเข้าใจเรื่องเทคนิค เราเข้าใจสุนทรียภาพของมันก็พอ มีคนมากมายที่ไม่รู้เรื่องดนตรี แต่พวกเขารับรู้ได้"



นอกจากความรื่นรมย์ของเสียงเพลง "Down Here Below" (โดย Abbey Lincoln) ,"Flaminco sketches" ของ Miles Davis และ "In a Landscape" (โดย John Cage) [คลิกเพื่อฟังเพลง] ฯลฯ แล้ว ในเย็นวันนั้น พรหมมินท์ยังได้ทิ้งท้ายกับผู้มาร่วมเสวนาของเขาว่า

"ถ้าเราไม่สามารถที่จะมีจิตใจที่ละเอียดอ่อนได้ เราก็จะไม่อาจรับรู้เรื่องพวกนี้ การฟังดนตรีต้องอาศัยความรู้สึก ไม่ใช่ความคิด"

เหมือนกับที่เขาเองก็เคยพูดเอาไว้ก่อนหน้านี้...

"ผมเล่นดนตรีไม่เป็น แต่ผมเข้าใจ"

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Vocal coach


Roles

A vocal coach is sometimes responsible for writing and producing vocal arrangements for four-part harmony for backup vocalists or helping to develop counter melodies for a secondary vocalist. Some vocal coaches may also advise singers or bands on lyric-writing for a music production. Some critics allege that in some cases where popular music recordings credit a singer for work as a vocal coach during a recording, this may be a subtle way of acknowledging a ghostwriting role in which the coach pens lyrics for a singer-songwriter or rapper.

In the 2000s, the increasing use of recording software which contains vocal processing algorithms, and digital pitch correction devices is replacing some of the roles of the vocal coach. In the 1970s, if a producer wanted to record a single with a sports star with few vocal skills, the celebrity would need weeks of vocal coaching to learn their song and improve their tone and diction. In the 2000s, the vocals are often processed through time and pitch correction software instead in order to make their singing sound closer to the that of a trained vocalist.

Training and experience

The training and education of vocal coaches varies widely. Some vocal coaches have extensive formal training, such as a Bachelor of Music, a Master of Music, a Conservatory diploma, or degrees in related areas such as foreign languages or diplomas in human kinetics, posture techniques, or breathing methods. On the other hand, some vocal coaches may have little formal training, and so they rely on their extensive experience as a performer. While vocal coaches without formal training are mainly found in the popular music styles, they also exist in the Classical milieu. For example, a native German language speaker who moves to the US may begin providing German diction coaching to amateur vocal students, and over several decades, this vocal coach may develop a broad range of on-the-job experience in coaching German-language singing styles such as lieder and Wagnerian opera.

Vocal coaches may also come to their profession through other routes, such as related musical professions or from other fields. Some vocal coaches, for example, are rehearsal pianists with decades of experience accompanying singers, or former or current choral, music theater, or symphony conductors. More rarely, vocal coaches may come to the profession from a non-musical route. For example, a specialist in Alexander Technique, yoga, or medical aspects of the throat and vocal cords may begin to specialize in coaching and training singers.

The vocal coaching field is competitive, especially at the highest professional levels. Salaries vary greatly, as do the conditions of work. While a small number of top vocal coaches can command very high hourly or daily rates, most vocal coaches, like most other music and arts professionals, tend to have salaries which are below the average for other professions which require a similar amount of education and experience, such as economists or bank managers. The work conditions vary widely, from part-time or occasional freelance work for individual singers, opera companies, or record companies, to full-time contracts or multi-year jobs for universities (coaching vocal performance students and students in opera courses) or music theater companies.

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์ จับมือ แอนโทนี่ การ์เซีย ทัวร์คอนเสิร์ตกีตาร์ 15 ส.ค. - 3 ก.ย




เอ เอ็ม ไอ อีเวนส์ ร่วมกับสถานทูตออสเตรเลีย กรุงเทพฯ ภูมิใจเสนอทัวร์คอนเสิร์ต “HUCKY Eichelmann and ANTHONY Garcia Thailand Tour 2011” ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม ถึง 3 กันยายน 2554 ในกรุงเทพฯและจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ

ฮัคกี้ ไอเคิลมานน์และแอนโทนี่ การ์เซีย สองนักกีตาร์คลาสสิคชื่อดังจะแสดงคอนเสิร์ตและเวิร์คชอพร่วมกัน ทั้งคู่ต่างเป็นศิลปินระดับโลกและครูสอนกีตาร์ผู้มากด้วยฝีมือด้านการแสดง ดนตรีและประสบการณ์ในวงการดนตรีศึกษา การจัดทัวร์ครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้รับอรรถรสการแสดงสดของนักดนตรีที่ เต็มเปี่ยมด้วยความสามารถ

คอนเสิร์ตจะผสมผสานการเล่นกีตาร์ทั้งแบบ โซโล่เดี่ยวและแบบคู่ดูโอ โดยบทเพลงที่คัดเลือกมาแสดงมีทั้งเพลงคลาสสิค เพลงพื้นบ้าน เพลงเวิลด์ มิวสิค บทเพลงจากประเทศไทย ออสเตรเลีย และอีกหลากหลายประเทศ นอกจากนี้ยังมีการ อัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อเป็นการเฉลิม พระเกียรติ 84 พรรษา

การบรรยายในเวิร์คชอพ ครอบคลุมหัวข้อที่เป็นประโยชน์อย่างมาก อาทิ การเล่นกีตาร์และเทคนิคการแต่งเพลงสำหรับกีตาร์ นักศึกษาจะมีโอกาสได้ฝึกและแสดงฝีมือของตนเองด้วยเช่นกัน

การจัดแสดง ทัวร์คอนเสิร์ตในครั้งนี้เป็นการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมผ่านกิจกรรม ทางดนตรี สร้างโอกาสให้ ผู้ชมในประเทศไทยค้นพบแนวทางใหม่ๆ ในการเข้าถึงและเข้าใจดนตรีมากยิ่งขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก สถาบันออสเตรเลีย-ไทย, บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน), บริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด และได้รับความร่วมมือจาก บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เครือเซ็นทรัล และสายการบินแควนตัสแอร์เวย์ และ
โรงแรมอมารี เอเทรียม

รายละเอียดเพิ่มเติม www.amithailand.com
ติดต่อ AMI Events โทรศัพท์ 02 662 1836

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ETC เทคนิควอร์มเสียง



rhythm and lyric by ukulele



สิงโต นำโชค- ดีดอูคูเลเล่ ร้องเพลง-ปลาการ์ตูน 



วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

"จาร์วิส ค็อคเกอร์" เตรียมออกหนังสือรวม "คำร้องคัดสรรค์"


"คำร้อง" ของบทเพลงที่ถูกเขียนขึ้นโดย "จาร์วิส ค็อคเกอร์" นักร้องนำและหัวเรือหลักของวง "พัลพ์" หนึ่งในตำนาน "บริท ป๊อป" แห่งเกาะอังกฤษ กำลังจะถูกตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊ค

หนังสือของเขาซึ่งมีชื่อว่า "มาเธอร์, บราเธอร์, เลิฟเวอร์: ซีเล็คเท็ด ไลริคส์" (มารดา, ภราดา, คนรัก : รวมคำร้องคัดสรรค์) จะถูกตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เฟเบอร์ และออกวางจำหน่ายในเดือนตุลาคมนี้

ค็อคเกอร์เริ่มเขียนเพลงมาตั้งแต่อายุ 15 ปี โดยเขาระบุว่า ตนเองต้องใช้ความพยายามอย่างหนักหนาสาหัสมากกับการเขียนคำร้องให้แก่บทเพลง ชิ้นแรกๆ ในชีวิต

"ผมสามารถก้าวข้ามอุปสรรคอันยากลำบาก ดังกล่าวได้เมื่อผมหยุดคิด ผมเคยพยายามจะเขียนเพลงที่มีเนื้อหาลึกซึ้ง แต่หลังจากนั้น ผมก็เริ่มหันไปเขียนเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งปกติทั่วไปซึ่งดำรงอยู่ใน ชีวิตประจำวันของเรา" นักร้องนำวงพัลพ์อธิบายพร้อมกล่าวสำทับอีกครั้งว่า คำร้องส่วนใหญ่ที่เขาแต่งขึ้นมักจะมีเนื้อหาว่าด้วย "เรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ ตามสัญชาตญาณ" ที่เกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิตประจำวันของผู้คน