วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Synthogy Ivory 1.5




สุดยอด vsti เสียงเปียโนจากค่าย Synthogy

ตัวที่ผมใ้ช้อยู่ เป็น version 1.5 (ล่าสุดเป็น version 1.7) มีเสียงเปียโนมาให้ 3 หลัง นั่นคือ Bösendorfer 290 Imperial Grand, Steinway D Concert Grand และ Yamaha c7 Grand โดยแต่ละหลังได้ sampling กันมาอย่างอลังการถึง 10 Layer แบบ stereo!!! ซึ่งหากลงทั้ง 3 หลัง จะกินเนื้อที่ถึง 40GB กันเลยทีเดียว

มี function พร้อมสรรพ ตั้งแต่ Key-off sampling, string resonance, release pedal, soft pedal support และสิ่งที่ผมชอบมากๆคือ มีเสียง synth pad มาให้ใช้ด้วย ซึ่งให้การตอบสนองที่ดีมากๆๆ เล่นเพลง pop สบายเลย

ivory มัีนไม่เพียงแค่เสียงดีอย่างเี่ดียว แต่มันเป็น vsti ที่เล่นได้สนุกด้วย ตอนนี้ผมใช้ ivory ในการบันทึกเสียง และซ้อมเปียโนที่บ้านตลอด ใจจริงอยากเอามันไปเล่นสดเหมือนกัน แต่ว่า notebook ของผม spec ค่อนข้างต่ำ ไม่สามารถจะเล่น ivory ได้ราบรื่นเท่าไหร่ (มีกระตุกพอสมควร)

ลองมาสรุปข้อดี-ข้อเสียดูดีกว่า

ข้อดี
- เสียงดีมากถึงมากที่สุด ทำให้เสียง sampling เปียโนอื่นๆไม่น่าฟังไปเลย
- เล่นได้สนุกมากๆ มีการตอบสนองที่ดี
- มี synth pad ที่ใช้งานได้ดีมากๆ เหมาะกับการเล่นเพลง pop

ข้อเสีย
- ขนาดใหญ่มากๆ (40GB หากเลือกลงทั้งหมด)
- กินทรัพยากรค่อนข้างสูง โดยเฉพาะ HDD ต้องมีความเร็ว 7200 rpm ขึ้นไป แต่ในหลายๆครั้งก็ยังเกิดอาการ slow disk ได้ แก้ไขโดยการนำ HDD 2 ตัว มาต่อ raid 0
- ไม่มี stand alone มาให้ จำเป็นจะใช้คู่กับ vst host เท่านั้น

หากสนใจลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.synthogy.com/products/ivorygrand.html

*
http://bankmodify.multiply.com/reviews/item/3

//////////////////////////////////////////////////

http://dl.btjunkie.org/torrent/Synthogy-Ivory-1-5-with-keygen/37821251ddb7051c9b336e6e90cf34e4dc765eef82a6/download.torrent

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แคมปัสวงดนตรีสากล กับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย


Pic_134660
หลังจากที่ "สวัสดี...แคมปัส" นำเสนอวัยศึกษาแบบเดี่ยวไปหลายมุมมองแล้ว วันนี้ขอเปิดโลกทัศน์ใหม่ ด้วยการนำเสนอวัยทีนที่เป็นแบบกลุ่ม หรือ จะเรียกว่าเป็นวงก็ว่าได้ กับ "ชมรมวงดนตรีสากล" ของมหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดังย่านดินแดง "มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย...
ทีม ข่าวไทยรัฐออนไลน์มีโอกาสสัมภาษณ์นักศึกษาที่เป็นสมาชิกของวงตรีดังกล่าว หลังไปยืนจับจ้องดูท่าทีลีลาของน้องๆ อยู่ครู่ใหญ่ โดยจากที่มองด้วยจากสายตา ไม่ได้เห็นแต่ความสามารถทางด้านดนตรีเท่านั้น แต่เรายังเห็นมุมมองของเด็กกลุ่มนี้ จากการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ผ่านบทเพลง ว่าแล้วก็ไม่รอช้า ขอเวลาสักนิดหน่อย เพื่อเปิดโอกาสให้วัยแคมปัส แสดงความคิดเห็นผ่านไปยังเยาวชนรุ่นน้อง ก่อนนำไปเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป 

ชมรม ดนตรีสากลของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งเป็นนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไปก่อนหน้านี้ และยังมีสมาชิกที่เป็นนักศึกษาที่ยังอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยรวมอยู่ด้วย โดยทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การดูแลของกองกิจการนักศึกษา ซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนอาจารย์ประจำภาควิชาการ ที่คอยจัดสรรจัดแจงดูแลลูกศิษย์ให้อยู่ในกรอบภายใต้อาจารย์ที่ปรึกษา โดยมีสโมสรนักศึกษาเป็นผูู้ดูแลงานดนตรี พร้อมทำหน้าที่ประสานงานวงดนตรีและงานประกวดต่างๆ ระหว่างสถาบัน และจัดการเรื่องโครงการประกวดต่างๆ ที่ทาง "ชมวมวงดนตรีสากล" เป็นผู้เสนอ ก่อนนำไปประกวดเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับทางมหาวิทยาลัย
ส่วน นักศึกษาที่มาเป็นสมาชิกของชมรมวงดนตรีสากลนั้นมีที่มาที่ไปอยู่ว่า ในช่วงเดือนแรกของปีการศึกษา ทางมหาวิทยาลัยจะจัดเปิดโครงการโลกกิจกรรม เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษา ได้เลือกทำกิจกรรมในแบบที่ตัวเองชอบและถนัด จากนั้นเมื่อเข้ามาอยู่ในชมรมดนตรีสากล มหาวิทยาลัยจะให้เลือกตั้งคณะกรรมการ และประธานชมรม โดยมีการกำหนดเกรดเฉลี่ยขั้นต่ำที่ 2.5 ทั้งนี้หากเกรดเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จะไม่มีสิทธิ์ได้รับตำแหน่งใดๆ ในชมรม และมีสโลแกนที่โดดเด่นว่า ถ้าจะร่วมกิจกรรม ต้องเรียนไปด้วย โดยที่การเรียนจะต้องไม่เสีย เกรดต้องไม่ตก ดังนั้นสมาชิกชมรมที่นำเสนอต่อไปนี้ จึงถือวัยทีนที่มีคุณภาพอยู่ไม่ใช่น้อย

เริ่ม กันที่ประธานชมรม "ฉัตรชัย ทองแสง" หรือแบงค์ นักร้องนำปี 4 ผู้มากประสบการณ์กว่่าใครในกลุ่ม ที่เลือกเรียนวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ว่า เราทำกิจกรรมและเรียนไปด้วย โดยหลังจากเลิกเรียน เราจะมาทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งอาจจะไม่ใช่การเล่นดนตรีทุกวัน บางวันอาจมีซ้อมดนตรี บางวันอาจมานั่งคุยกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยเฉพาะเรื่องเรียน และตนในฐานะรุ่นพี่ จะต้องทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำกับรุ่นน้อง พร้อมเปิดใจว่า ถึงแม้ว่าการเรียนจะเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล แต่หากต้องเล่นดนตรีไปพร้อมๆ กับเรียน จำเป็นต้องมีคำแนะนำให้ เพราะถ้าเราได้ทำอะไรที่เรารัก เช่นเรียนไปด้วย เล่นดนตรีไปด้วย มันก็มีความสุข บางคนอาจมีความสุขกับการเล่นเกม ก็ไม่ต่างอะไรกับการเล่นดนตรี แต่ดนตรีมันมีประโยชน์ต่อตัวเราและอนาคตด้วย
ดังนั้นจึงมองว่า การทำกิจกรรมในช่วงเวลาเรียน มันเป็นอะไรที่วิเศษ บางคนเรียนจบไปแล้วไม่ทำกิจกรรม ผมว่าเขาเสียโอกาส เพราะเห็นได้ว่า ปัจจุบันบริษัทที่รับสมัครพนักงาน มักจะพิจารณาที่การทำกิจกรรมในเวลาเรียนด้วย โดยไม่ได้เน้นว่าต้องเรียนเก่งอย่างเดียว ดังนั้นการที่เราร่วมกิจกรรมกันคนจำนวนมาก มันมีความหมาย โดยทำให้เราสามารถอยู่กับคนในสังคมใหญ่ๆ ได้ ซึ่งมองว่ากิจกรรมด้านดนตรีจะช่วยเรื่องนี้ได้อย่างดี
เช่นเดียวกับ หนุ่มหน้าตี๋ "วิภัท ลักษมีเลิศ" หรือยู มือกีตาร์ ที่ควบตำแหน่งรองประธานของชมรม และเรียนในสาขาวิชาเดียวกันกับ "แบงค์" กล่าวว่า "รู้สึกมีความสุขกับสิ่งทำอยู่ และทางมหาวิทยาลัยก็สนับสนุนพวกเราอย่างเต็มที่ หากมีข่าวสารเกี่ยวกับการประกวดดนตรี ทางมหาวิทยาลัยจะมาแจ้งเสมอ ผมเรียนอยู่คณะบริหารธุรกิจ เกรดเฉลี่ย 3.16 เรื่องกิจกรรมกับการเรียน อยากให้ทุกคนแบ่งเวลาให้เป็น เช่น บางคนอาจเล่นเกม เล่นดนตรี และเรียนหนังสือไปด้วย มันอาจจะทำให้ขาดความรับผิดชอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งไป" 

นอกจากนี้ "ยู" ยังกล่าวเตือนน้องในวงคนหนึ่งที่ชอบเล่นเกมด้วยความปรารถนาดี ว่า เราควรแบ่งเวลาให้ถูก อะไรที่ไม่สำคัญกับชีวิตก็ต้องตัดออกไป ส่วนเรียนก็คือเรียน กิจกรรมก็คือกิจกรรม แต่เราก็ไม่ใช่ทำแต่กิจกรรม จนเสียการเรียน

ขณะที่ดาราของวง "หมิว" หรือ นายชำนาญ พุทธทองศรี มือกีตาร์และนักร้องนำ ที่ร่ำเรียนอยู่ในคณะนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 เปิดเผยทัศนความเห็น เพื่อให้เป็นตัวอย่างของเด็กรุ่นน้องที่ชื่นชอบงานดนตรีว่า "หากเข้ามาเรียนอย่างเดียว ก็เรียนแล้วจบไป แต่ถ้าเราเรียนและทำกิจกรรมด้วย มันจะได้ประสบการณ์ใหม่ๆ นอกเหนือจากการเรียน ที่ผมเรียกมันว่าความรู้นอกห้องเรียน ที่อาจารย์ไม่สามารถสอนเราได้ และบางครั้งเห็นว่า มันเป็นโอกาส เช่นเมื่อเราเรียนนิเทศศาสตร์และเล่นดนตรีไปด้วย วันหนึ่งผลงานเข้าตาจนได้ออกเทป นั่นแหล่ะที่ผมมองว่าเป็นโอกาส ทั้งที่สวนทางความเห็นของหลายคนที่ว่า 

เมื่อถามว่า เล่นดนตรีแล้วจะรุ่งเหรอ น้องหมิวตอบตามสไตล์ดาราว่า ผมเชิื่อถ้ามุ่งมั่นและพยายามที่จะทำอะไรสักอย่าง ไม่มีสิ่งไหนที่มนุษย์ทำไม่ได้ (ท่ามกลางเสียงโห่ร้องของสมาชิกในวง แต่นั่นคือหนทางสู่ความฝันของนักศึกษาหนุ่ม)
มาถึงสาวสวยแห่งวง น้องมายด์ หรือ "วรรัตน์ หลีล้วน" เลขานุการมือเบส เด็กปี 3 คณะวิทยาศาสตร์ เล่าถึงความเป็นห่วงของที่บ้านว่า พ่อแม่กำชับเสมอ หากเล่นดนตรี ก็อย่าให้การเรียนตก อย่างน้อยก็ต้องรักษาเกรดเฉลี่ยให้เท่าเดิม ส่วนตนจึงกำหนดไว้ว่า หากช่วงเวลาใดที่มีการสอบ จะหยุดเรื่องดนตรีไปก่อน เพราะที่ผ่านมาจะมีรุ่นพี่ที่เล่นดนตรีและจบออกไปภายใน 4 ปี ด้วยเกรดเฉลี่ย 3 กว่าๆ เป็นแบบอย่างให้เห็นแล้ว ส่วนอนาคตในฐานะที่เป็นผู้หญิง คงจะต้องมีงานประจำทำ และให้ดนตรีเป็นงานอดิเรก เพราะดนตรีอาจจะไม่เหมาะสมนัก แต่เมื่อใจรัก ก็ยังจะเล่นต่อไป

ด้าน นายภวัต วิทยเดชาเมธ หรือ "หนึ่ง" มือกลอง ควบตำแหน่งกรรมการของวง ซึ่งเรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ ดูจากรูปร่างหน้าตาเหมือนเด็กช่างไม่ปาน แถมยังไม่น่าเรียนการเงินด้วยซ้ำ แต่เขาก็มีดีไม่น้อยทีเดียว หนึ่งเล่าว่า ผมก็พยายามเรียนหนังสือ ที่ผ่านมาผลการเรียนก็ยังโอเคอยู่ พ่อและแม่คอยเตือนเสมอว่า จะทำอะไรก็ได้ แต่ขออย่าเสียการเรียน ซึ่งผมก็ยึดการเรียนเป็นหลักมาตลอด ที่บ้านจึงไม่ว่าอะไร และผมยังเป็นคนเล่นเกม แต่โชคดีมีพี่ๆ คอยเตือนเสมอ ซึ่งผมก็นำไปปฏิบัติตาม
ส่วน "บูม" มือกลอง หรือนายชยรพ สินประจักษ์ผล อยู่ปีเดียวกับ "หนึ่ง" แต่เรียนคณะวิทยาศาสตร์ ที่เป็นคณะที่ต้องทุ่มเทให้กับการเรียน แต่บูมยังสามารถเล่นดนตรีควบคู่ไปกับการเรียน กล่าวว่า เมื่ออยู่สาขาวิทยาศาสตร์ จะเรียนค่อนข้างหนัก จึงต้องแบ่งเวลาให้ถูกต้อง กิจกรรมก็กิจกรรม เรียนก็ต้องเรียนจริงๆ เพราะการเรียนคอมพิวเตอร์สาขาแอนนิเมชันนั้น ต้องส่งโปรเจกต์อยู่ตลอดเวลา และเรื่องการจัดลำดับก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยจะต้องรู้ว่าอะไรควรทำก่อนและหลัง

สุดท้าย พอได้ฟังทุกคนพูด ไทยรัฐออนไลน์สัมผัสได้อย่างหนึ่ง คือประโยคที่ว่า "พวกเราทำในสิ่งชอบ แต่ไม่ทิ้งในสิ่งที่พ่อแม่หวังไว้ คือการเรียนให้จบปริญญาตรี เราจึงต้องเรียนให้จบ เพื่อให้พ่อแม่ได้สมความปรารถนา ถึงแม้ลึกๆ ทุกคนต่างหวัง พวกเราอยากจะเล่นดนตรีแบบนี้ตลอดไป ทั้งตอนที่เรียนอยู่และเมื่อเรียนจบ" แหล่ะนี่คือวาทะเด็ดทิ้งท้าย ของนักศึกษาผู้มีความฝันและผู้หลงใหลในงานดนตรี.